กัณฑ์ | (n) chapter, See also: sermon, portion, Example: พระเทศน์ได้ถึงกัณฑ์ที่ 5 แล้ว, Count Unit: ตอน, Thai Definition: ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่งๆ ที่จบลงคราวหนึ่งๆ |
กัณฑ์ | (clas) section, See also: piece, part, Example: ฉันโดนแม่เทศน์เสียหลายกัณฑ์เลย, Notes: บาลี |
ทานกัณฑ์ | (n) third chapter of the Maha chat, Thai Definition: ชื่อกัณฑ์ที่ 3 ในมหาชาติ, Notes: (บาลี) |
กัณฑ์เทศน์ | (n) gifts of the Buddhist priests, Syn. เครื่องกัณฑ์, Example: ฉันทำบุญติดกัณฑ์เทศน์, Count Unit: กัณฑ์, Thai Definition: เครื่องไทยธรรมถวายพระเทศน์, สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์ |
เครื่องกัณฑ์ | (n) offerings for a monk, Syn. เครื่องกันเทศน์, Example: โยมถวายเครื่องกัณฑ์แด่ภิกษุสงฆ์, Thai Definition: เครื่องไทยธรรมถวายพระเทศน์, สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์ |
ติดกัณฑ์เทศน์ | (v) offer money to a Buddhist monk who give a sermon, See also: make an offering to a preaching monk, present the preaching Buddhist monk with offering, Syn. ถวายเครื่องกัณฑ์เทศน์, Example: คุณยายติดกัณฑ์เทศน์เป็นเงินหนึ่งร้อยบาท, Thai Definition: เอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์, เอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ |
บูชากัณฑ์เทศน์ | (v) offer money or things to the monk who gives the sermon, See also: worship with the gifts for the thirteen chapters of the Maha Chat, Syn. ติดกัณฑ์เทศน์, ถวายภัณฑ์เทศน์, Example: พุทธศาสนิกชนบูชากัณฑ์เทศน์ตามแต่กำลังศรัทธาของแต่ละบุคคล, Thai Definition: ติดกัณฑ์เทศน์ด้วยจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น |
เครื่องกัณฑ์เทศน์ | (n) offerings for a monks, Syn. เครื่องกัณฑ์, Example: เครื่องกัณฑ์เทศน์อย่างน้อยควรมีไตร ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เป็นต้น, Thai Definition: เครื่องไทยธรรมถวายพระเทศน์, สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์ |
กัณฑ์ | (กัน) น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์ |
กัณฑ์ | เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง, เช่น วานรกัณฑ์. |
กัณฑ์เทศน์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า |
กัณฑ์เทศน์ | เรียกการเอาเงินติดต้นเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ ว่า ติดกัณฑ์เทศน์. |
เครื่องกัณฑ์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า. |
ติดกัณฑ์เทศน์ | ก. เอาเงินติดต้นเทียนบูชาภิกษุหรือสามเณรที่เทศน์, เอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์. |
ทานกัณฑ์ | (ทานนะ-) น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ. |
บูชากัณฑ์เทศน์ | ก. ติดกัณฑ์เทศน์ด้วยจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น. |
พุ่มกัณฑ์เทศน์ | น. ดอกไม้ที่จัดเป็นพุ่มบนพาน ตะลุ่ม หรือ โตก มีเทียนขี้ผึ้งซึ่งติดเงินเหรียญโดยรอบตั้งอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันมักใช้ก้านธูปคีบธนบัตรปักไว้ที่ต้นเทียน. |
กณิกนันต์ | (กะนิกนัน) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กณิการ์ | น. ไม้กรรณิการ์ เช่น งามดั่งดอกกณิการ์กาญจนสุหร่ายรดเบิกบานน่าชมเชย (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ก่น ๑ | ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กบูร | (กะบูน) ว. งาม เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร. |
กรรกง | (กัน-) น. ที่ล้อมวง เช่น จำเนียรกรรกงรอบนั้น (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร (สมุทรโฆษ). |
กรรบาสิกพัสตร์ | (-สิกะพัด) น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). |
กรรแสง ๒ | (กัน-) น. ผ้า, ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กระจาด | น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียกเครื่องสานที่ทำเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สำหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ. |
กระโจม ๓ | เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์). |
กระดาษเทศ | น. ตาดเทศ เช่น อันทำด้วยกระดาษเทศทอพราย (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กระเหน็จ | น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กราสิก | (กฺรา-) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กฤดยาเกียรณ | (กฺริดดะยาเกียน) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยา กยรณ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กฤษฎาญชลี | (กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์). |
กลม ๑ | (กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ. |
กลหาย | (กะละ-) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กล่าว | แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กว่า | (กฺว่า) สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กษัตรี | (กะสัดตฺรี) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กษัตรีศูร | (กะสัดตฺรีสูน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กษิดิ, กษีดิ | (กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กษีรธารา | น. สายนํ้านม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กันแสง ๒ | น. ผ้า, ผ้าสไบ, โบราณเขียนเป็น กนนแสง ก็มี เช่น อันว่ายกผ้าสรลอนยอกรสรไสว ไกวกนนแสงแคลงยยาบ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ก่าน | เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กามสมังคี | ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
กามามิศ | น. อามิสคือกาม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กำบน | ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กำรอ | ว. เข็ญใจ เช่น แก่ฝูงมนุษย์ผู้กำรอ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กำสรวล | (-สวน) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), (โบ เขียนเป็น กำสรวญ). |
กินริน, กินรี | (กินนะริน, กินนะรี) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
กิริเนศวร | (-เนสวน, -เนด) น. ช้างสำคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กุมาร | ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก. |
กุรระ, กุรุระ | (กุระระ, กุรุระ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เกาทุมพร | (-ทุมพอน) น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกกิล-, โกกิลา | (-ละ-) น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์ (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
โกเชาว์ | น. ผ้าทำด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกำราล กาฬโกเชาว์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกรมธาตุ | น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกษม | (กะโสม) น. ผ้าใยไม้ (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, เช่น อีกโกษมสวัสดิวรรณึก (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกษย | (โกไส) น. โกไสย เช่น ผ้าแพรทองโกษย (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
โกไสย | (-ไส) น. ผ้าทำด้วยไหม เช่น โกไสยวัตถาภรณ์ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |