Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
composition | (คอมพะซิซ'เชิน) n. การประกอบเป็นส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด, ผลิตผล, ส่วนประกอบ, องค์ประกอบ, ภาพประกอบ, ของผสม, การประพันธ์, การแต่งเพลง, การเกิดเป็นสารประกอบ, การตกลงกัน, การประนีประนอม, ข้อตกลง, การจัดเรียงตัวพิมพ์, คุณสมบัติ, อุปนิสัย |
compromise | (คอม'พระไมซ) n. การประนีประนอม, การยอมรับ, การตกลงกันได้, สิ่งที่เป็นครึ่ง ๆ กลาง ๆ vt. ประนีประนอม, ยอม, เป็นอันตราย, เป็นภัยต่อ, พัวพัน. vi. ประนีประนอม, อ่อนข้อให้อย่างเสียเกียรติ, See also: compromiser n. ดูcompromise, Syn. arra |
concordance | (คอนคอร์'เดินซฺ) n. การตกลงกัน, ความสอดคล้องกัน, ดรรชนีเรื่องตามอักษร |
conformity | (คันฟอร์'มิที) n. ความลงรอยกัน, การปรับตัวให้ลงรอยกัน, การตกลงกัน, Syn. agreement, compliance |
gentleman's agreement | n. การตกลงกันด้วยเกียรติยศ |