กุฎี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี |
กุฎี | คำที่ใช้เรียกศาสนสถานของศาสนาอื่น เช่น กุฎีเจ้าเซ็นและกุฎีขาวเป็นมัสยิดของชาวมุสลิม กุฎีจีนเป็นศาลเจ้าของชาวจีน, โบราณเรียกว่า กะดี, ปัจจุบันคือมัสยิดหรือสุเหร่า. |
ขนมฝรั่งกุฎีจีน | น. ขนมทำด้วยแป้งสาลี ไข่ น้ำตาลทราย ตีให้เข้ากัน ใส่พิมพ์รูปต่าง ๆ ผิงให้สุก แต่งหน้าด้วยลูกเกด ลูกพลับ ชิ้นฟักเชื่อม โรยด้วยน้ำตาลทราย. |
คันธกุฎี | น. ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระคันธกุฎี. |
บรรณกุฎี | น. กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้. |
วัจกุฎี | น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. |
เวจกุฎี | น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), วัจกุฎี ก็เรียก. |
กระ ๔ | ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ. |
กะดี | คำที่ใช้เรียกศาสนสถานของศาสนาอื่น เช่น กะดีเจ้าเซ็นและกะดีขาวเป็นมัสยิดของชาวมุสลิม กะดีจีนเป็นศาลเจ้าของชาวจีน, ปัจจุบันคือมัสยิดหรือสุเหร่า. (เลือนมาจาก กุฎี). |
กุดา | ใช้เป็นสร้อยคำของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์ (ม. คำหลวง มัทรี). |
เทง, เท้ง ๑ | ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์). |
นิทร | (นิด) ก. นิทรา, นอน, เช่น จักจรมาดลกุฎี กลับมอบศรีเสวตฉัตรไชยห้อมแห่งไคลครนิทร (ม. คำหลวง สักรบรรพ). |