ความถ่วง | น. แรงดึงดูดของโลกต่อเทหวัตถุ, แรงดึงดูดระหว่างกันของเทหวัตถุ. |
ความถ่วงจำเพาะ | น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ ํซ. เป็นสารมาตรฐาน. |
จุดศูนย์ถ่วง | น. จุดซึ่งแนวของนํ้าหนักของก้อนเทหวัตถุนั้นผ่านดิ่งลง ไม่ว่าก้อนเทหวัตถุนั้นจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม, จุดศูนย์กลางของความถ่วง ก็ว่า. |
หรดาลกลีบทอง | น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด เป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจำเพาะ ๓.๔๙ สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง ใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดำ เป็นต้น. |
หรดาลแดง | น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือเป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจำเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทำให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทำกระสุนปืนส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. |
ไฮโดรมิเตอร์ | (-โดฺร-) น. เครื่องมือสำหรับวัดความถ่วงจำเพาะของของเหลว. |
The American Petroleum Institute Gravity | หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา, หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา กำหนดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Petroleum Institute), Example: เป็นค่าที่แสดงความหนักเบาของน้ำมัน โดยปรกติน้ำมันดิบจะมีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 20-45 องศา และสามารถแบ่งน้ำมันดิบออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบชนิดเบา มีค่าความถ่วง API มากกว่า 34 องศา น้ำมันดิบชนิดกลาง มีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 34-20 องศา และน้ำมันดิบชนิดหนัก มีค่าความถ่วง API น้อยกว่า 20 องศา [ปิโตรเลี่ยม] |
specific gravity | ความถ่วงจำเพาะ, เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักของเหลวเมื่อเทียบน้ำหนักที่ปริมาตรเดียวกัน แต่ปริมาณของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนั้นการบอกค่าความถ่วงจำเพาะจึงต้องระบุอุณหภูมิ เช่นน้ำมัน ในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันนิยมใช้ค่าอนุพันธ์ความถ่วงจำเพาะในรูปของ API gravity [ปิโตรเลี่ยม] |
Specific gravity | ความถ่วงจำเพาะ สามารถคำนวนได้จากอัตราส่วนของความหนาแน่นของสารหรือวัสดุหารด้วยความหนา แน่นของน้ำ ปกติจะเท่ากับความหนาแน่นของสารนั้น แต่ไม่มีหน่วย (เนื่องจากสมมติฐานที่ว่าน้ำมีความหนาแน่นเท่ากับ 1.00 g/mL) [เทคโนโลยียาง] |
Filters, Gravity | เครื่องกรองแบบความถ่วง [การแพทย์] |
specific gravity | specific gravity, ความถ่วงจำเพาะ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
apparent specific gravity | apparent specific gravity, ความถ่วงจำเพาะปรากฏ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
metal | โลหะ, ธาตุที่มีสมบัติต่าง ๆ คือ ผิวเป็นมันวาว ตีแผ่หรือดึงเป็นเส้นลวดได้ มีความถ่วง จำเพาะสูง นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี เช่น ทองแดง โพแทสเซียม เหล็ก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heptane | เฮปเทน, สารไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี C7H16 เป็นของเหลวได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ไฮโซเมอร์ปกติมีจุดเดือด 98.4oC และความถ่วงจำเพาะ 0.68 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
specific gravity | ความถ่วงจำเพาะ, ความถ่วงจำเพาะของสารใด ๆ คืออัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสารนั้นต่อความหนาแน่นของน้ำ ณ อุณหภูมิหนึ่ง (ตามปกติเป็นอุณหภูมิ 20°C) ความถ่วงจำเพาะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความหนาแน่นสัมพัทธ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cassiterite | แคสสิเทอไรต์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของดีบุก (SnO2) มีสีน้ำตาลหรือดำมีความแข็ง 6-7 ความถ่วงจำเพาะ 6.8-7.1 โดยทั่วไปเรียกว่า แร่ดีบุก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
corundum | คอรันดัม, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของอะลูมิเนียม (Al2O3) มีความแข็ง 9 ความถ่วงจำเพาะ 4 มีหลายสี ส่วนใหญ่เป็นแร่รัตนชาติ เช่น บุษราคัมมีสีเหลือง ไพลินมีสีน้ำเงิน เขียวส่องมีสีเขียว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
diamond | เพชร, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของธาตุคาร์บอนรูปหนึ่ง มีความแข็งมากที่สุดคือ 10 เป็นแร่หายาก ความถ่วงจำเพาะประมาณ 3.51 ปกติไม่มีสี แต่อาจมีสี เช่น เหลือง น้ำเงินดำ เป็นรัตนชาติที่มีราคาสูง ใช้เป็นผงขัดในการเจียระไน เพชร พลอย และใช้ตัดกระจก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
feldspar | เฟลด์สปาร์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกสารประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะลูมิเนียมซิลิเกตของโพแทสเซียม หรือของโซเดียม หรือของแคลเซียม ความแข็งประมาณ 6ความถ่วงจำเพาะ 2.55-2.71 มีสีต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแร่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
galena | กาลีนา, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบพวกเลดซัลไฟต์ (PbS) มีสีเทาและมีความวาวแบบโลหะ ความถ่วงจำเพาะประมาณ 7.4-7.6 เมื่อถลุงจะได้ตะกั่ว โดยทั่วไปเรียกว่า แร่ตะกั่ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
garnet | การ์เนต, โกเมน, แร่ชนิดหนึ่งมักเกิดเป็นผลึกเดี่ยว ๆ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ความถ่วงจำเพาะมีค่าระหว่าง 3.5-4.3 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ส่วนใหญ่ใช้เป็นรัตนชาติมีสีต่าง ๆ ได้แก่ สีแดง น้ำตาล เหลือง เขียว ขาว และดำ ที่พบมากเป็นการ์เนตสีแดง เรียกว่า โกเมน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gypsum | ยิปซัม, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบพวกแคลเซียมซัลเฟตและน้ำ (CaSO42.2H2O) ส่วนมากจะใสไม่มีสี แต่อาจพบชนิดที่มีสี เช่น สีเทา สีแดงมีความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะมีค่าระหว่าง 2.2-2.4 ใช้ในอุตสาหกรรมทำปูนซีเมนต์ ทำเป็นแผ่นบุฝาผนังและเพดานห้อง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
haematite | ฮีมาไทต์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก (Fe2O3) มีสีแดงเข้มจนเกือบดำมีความแข็ง 6 ความถ่วงจำเพาะ 5 เมื่อถลุงจะได้เหล็ก โดยทั่วไปเรียกว่าแร่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mica | ไมกา, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบพวก KAl2(AlSi3)O10.(OH.F)2 มีความแข็ง 2 - 2.5 ความถ่วงจำเพาะ 2.76 - 3.1 เมื่อเป็นแผ่นบาง ๆ จะโปร่งใส ไม่มีสีแต่ถ้าซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นจะเกิดเป็นสีต่าง ๆ ได้ เช่น เหลือง เขียว แดงเป็นต้น ใช้ทำฉนวนไฟฟ้าและวัตถุทนไฟ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quartz | ควอรตซ์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของซิลิคอน (SiO2) ส่วนมากเป็นผลึกใส ไม่มีสี หรือสีขาวขุ่น อาจพบมีสีม่วง ชมพู เขียว เป็นต้น มีความแข็งประมาณ7 ความถ่วงจำเพาะ = 2.6 โดยทั่วไปเรียกว่า แร่เขี้ยวหนุมาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ruby | ทับทิม, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของคอรันดัม (Al2O3) มีสีแดง ความแข็ง 9 ความถ่วงจำเพาะ 4.0 - 4.1 ใช้ทำเครื่องประดับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
zircon | เพทาย, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของสารประกอบเซอร์โคเนียมซิลิเกต (ZrSiO4) มีความแข็ง7.5 ความถ่วงจำเพาะ 4.6 - 4.8 มีความวาวแบบเพชร ใส ไม่มีสี หรือมีสี เช่น น้ำตาล เขียว แดง เป็นต้น นิยมใช้เป็นแร่รัตนชาติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Gravity | ความถ่วง, [การแพทย์] |
Lipoproteins, Low-Density | ไลโปโปรตีนที่มีความถ่วงจำเพาะต่ำ [การแพทย์] |