จามจุรี ๑ | ดู จามรี. |
จามจุรี ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck (L.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้นก้ามปูหรือต้นจามจุรีแดง [ Samanea saman (Jacq.) Merr. ] ซึ่งเป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี. |
ก้ามปู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Samanea saman (Jacq.) Merr. ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึงให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีนํ้าตาลไหม้ ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูก, เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก ฉำฉา หรือ สำสา. |
ครั่ง ๑ | (คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า. |
จามรี | น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens Linn. ในวงศ์ Bovidae ขนตามลำตัวละเอียดอ่อนยาวมาก สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ โดยเฉพาะบริเวณสวาบคือบริเวณระหว่างชายโครงถึงสันกระดูกตะโพกมีขนสีดำห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก |
ซิก ๓ | ดู จามจุรี ๒. |
ซึก ๑ | ดู จามจุรี ๒. |
นอน | ก. เอนตัวหรือทอดตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ เพื่อพักผ่อนเป็นต้น, อาการที่ทำให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสานอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. |
พฤกษ์ ๒ | (พฺรึก) ดู จามจุรี ๒. |
ไม้กำมะลอ | น. ไม้เนื้ออ่อนที่ไม่ใช่ไม้แก่น เช่น ไม้ฉำฉา ไม้จามจุรี |
สาขา | น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก |
หนวดพราหมณ์ ๑ | (หฺนวดพฺราม) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม. |