กก ๓ | น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชื้นแฉะ ชนิดลำต้นกลมใช้ทอหรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลมหรือกกเสื่อ ( Cyperus corymbosus Rottb.) ที่ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา ( C. involucratus Rottb.) กกสามเหลี่ยม [ Actinoscirpus grossus (L. f.) Goetgh. et D.A. Simpson ] กกขนากหรือกกกระหนาก ( C. difformis L.). |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กะเม็งตัวผู้ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Wedelia chinensis (Osbeck) Merr. ในวงศ์ Compositae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ทอดลำต้นและออกรากตอนโคน ใบคาย ดอกสีเหลือง ใช้ทำยาได้. |
กะลุมพี | น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
การะเกด | น. ชื่อไม้พุ่มเพศผู้ชนิด Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi ในวงศ์ Pandanaceae มักขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมนํ้า ใบแคบและยาว ขอบใบมีหนามห่าง ๆ ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม, ลำเจียกหนู ก็เรียก. |
กุ้งเต้น ๒ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Talitridae และ Hyalidae ลักษณะคล้ายกุ้งลำตัวขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัว ใหญ่กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย เช่น ชนิด Orchestia floresianaWeber . |
ข่อยน้ำ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
ชีล้อม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oenanthe javanica (Blume) DC. ในวงศ์ Umbelliferae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบแบนรีขอบจัก ใช้เป็นผัก ดอกเป็นกระจุกสีขาว ผลกลมค่อนข้างยาว, อัน หรือ อันอ้อ ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก หนอกช้าง. |
บุ้งร้วม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Enydra fluctuansLour. ในวงศ์ Compositae ขึ้นในนํ้าและที่ชื้นแฉะ ดอกเล็กสีขาว ๆ ใบมีรสขม ใช้ทำยาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม. |
ปล้อง ๒ | (ปฺล้อง) น. ชื่อหญ้าชนิด Hymenachne amplexicaule (Rudge) Nees ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. |
พรมมิ | (พฺรม-) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Bacopa monnieria (L.) Wettst. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ใช้ทำยาได้. |
พรุ | (พฺรุ) น. ที่ลุ่มสนุ่น, บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีสนุ่น คือ ซากผุพังของพืชพรรณทับถมอยู่มาก. |
ว่านน้ำ | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในสกุล Acorus วงศ์ Araceae คือ A. calamus L., พายัพเรียก กะส้มชื่น และ A. gramineus Sol. ex Aition ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะ เหง้ามีกลิ่นฉุนแรง. |
สนุ่น ๑ | (สะหฺนุ่น) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix tetrasperma Roxb. ในวงศ์ Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้าหรือตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือกและรากใช้ทำยา, ตะไคร้บก ก็เรียก. |
สาหร่าย ๑ | น. ชื่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริง แต่มีคลอโรพลาสต์ บ้างเป็นเซลล์เดียว บ้างเป็นกลุ่มเซลล์ เป็นสาย หรือเป็นต้น ขึ้นทั่วไปในนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ เช่น สาหร่ายไส้ไก่ [ Enteromorpha intestinalis (L.) Link ] ในวงศ์ Ulvaceae |
หญ้าถอดปล้อง | น. ชื่อพืชไร้ดอกชนิด Equisetum debile Roxb. ex Vaucher ในวงศ์ Equisetaceae ลำต้นเป็นปล้อง ๆ ใบเป็นเกล็ดเล็กเรียงรอบข้อ มักขึ้นตามริมน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ใช้ทำยาได้. |
แห้ว ๑ | (แห้วฺ) น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ หัวกินได้ เช่น แห้วจีน [ Eleocharis dulcis (Burm. f. ) Hensch. var. tuberosa (Roxb.) T. Koyama ], แห้วกระดานหรือกกสามเหลี่ยม [ Actinoscirpus grossus (L. f.) Goetgh. et D. A. Simpson ], แห้วไทย (Cyperus esculentusL.). |
อ้อ ๑ | น. ชื่อหญ้าชนิด Arundo donaxL. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอในที่ชื้นแฉะ ลำต้นแข็งเป็นปล้อง ข้างในกลวง. |