มุมตกกระทบ | น. มุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ. |
ดรรชนีหักเห | น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่งต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. |
ดัชนีหักเห | น. ดัชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่งต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดรรชนีหักเห ก็ใช้. |
ตัง ๒ | ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ ตกกระทบพื้นแข็ง. |
ตึง ๒, ตึง ๆ | ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ ตกกระทบพื้นแข็ง. |
มุมสะท้อน | น. มุมระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ. |
มุมหักเห | น. มุมระหว่างรังสีหักเหกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ. |
Bragg’s law | กฎของแบรกก์, กฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ตกกระทบ มุมตกกระทบและระยะห่างของอะตอมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเกิดปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กฎนี้ ดับเบิลยู. แอล. แบรกก์ (W. L. Bragg) คิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2455 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับบิดา คือ ดับเบิลยู. เอช. แบรกก์ (W. H. Bragg) ในปี พ.ศ. 2458 [นิวเคลียร์] |
reflection | การสะท้อน, การเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นกลับมาสู่ตัวกลางเดิมเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปถึงแนวเขตระหว่างตัวกลาง 2 ตัวกลาง เช่น แสง เมื่อส่องตกกระทบผิวของกระจกแสงจะสะท้อนที่ผิวกระจกกลับสู่อากาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
total reflection | การสะท้อนกลับหมด, ปรากฏการณ์ที่แสงผ่านจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่า เมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต ลำแสงจะไม่ทะลุผ่านไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่าแต่จะสะท้อนกลับเข้ามาในตัวกลางเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
intensity of sound | ความเข้มเสียง, อัตราของพลังงานเสียงที่ตกกระทบพื้นที่ 1 ตารางหน่วย โดยระนาบของพื้นที่ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษย์สามารถได้ยินมีค่าประมาณ 1012 วัตต์ต่อตารางเมตรและความเข้มเสียงสูงสุดที่มนุษย์ทนฟังได้มีค่าประมาณ 1 วัตต์ต่อตารางเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
refractive index [ index of refraction ] | ดรรชนีหักเห, อัตราส่วนของ sine มุมตกกระทบกับ sine ของมุมหักเห หรืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลางที่คลื่นตกกระทบ กับอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลางที่คลื่นหักเห ดูรูป n คือ ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 เมื่อเทียบกับตัวกลางที่ 1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reflector | ตัวสะท้อน, อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สะท้อนคลื่นที่ตกกระทบ เช่น กระจกเงาสะท้อนคลื่นแสง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photoelectric effect | ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก, การหลุดของอิเล็กตรอนออกจากผิวโลหะเนื่องจากผิวโลหะมีแสงตกกระทบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
angle of incidence | มุมตกกระทบ, มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉาก ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ จากรูป q1 คือมุมตกกระทบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
critical angle | มุมวิกฤต, มุมตกกระทบของแสงซึ่งทำให้มุมหักเหเป็น 90 องศา เกิดขึ้นเมื่อแสงผ่านจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหสูงไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหต่ำกว่า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rainbow | รุ้ง, ปรากฏการณ์ทางแสงซึ่งปรากฏเป็นแถบสเปกตรัมรูปโค้งในอากาศเหนือพื้น รุ้งเกิดจากแสงอาทิตย์ที่มาทางด้านหลังผู้สังเกตตกกระทบละอองน้ำในอากาศแล้วเกิดการหักเหการสะท้อนภายในและกระจายออกมาเป็นแสงสีต่าง ๆ รุ้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นให้เห็นภายหลังฝนตก หรือ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photoelectric cell | หลอดโฟโตอิเล็กทริก, หลอดผลิตไฟฟ้าจากแสงสว่าง โดยให้แสงสว่างตกกระทบแคโทดซึ่งทำด้วยโลหะบางชนิด เช่น ทังสเตน เงิน พลังงานแสงที่ได้รับจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากแคโทดไปยังอาโนดทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
focus [ focal point ] | โฟกัส, จุดโฟกัส, จุดรวมของรังสีขนานของแสงที่เกิดการหักเหเมื่อผ่านเลนส์ หรือเกิดการสะท้อนของรังสีขนานของแสงเมื่อตกกระทบกระจกโค้ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Incident Intensities | รังสีตกกระทบ [การแพทย์] |