ตะเพียน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้าง มีทั้งลำตัวสั้นกว้าง และลำตัวเรียวยาว เกล็ดมีสีขาวเงินหรือเหลืองทอง ขอบเรียบ มักมีหนวดสั้น ๒-๔ เส้น ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร ชนิดที่มีลำตัวสั้นกว้าง เช่น ตะเพียนขาว [ Barbonymus gonionotus (Bleeker) ] ตะเพียนทอง [ B. altus (Günther) ] ตะเพียนหางแดงหรือกระแห [ B. schwanenfeldi (Bleeker) ] ส่วนชนิดที่มีลำตัวเรียวยาว เช่น ตะเพียนทราย [ Puntius leiacanthus (Bleeker) ]. |
ตะเพียนเงินตะเพียนทอง | น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะเป็นรูปปลาตะเพียนสีเงินตัวหนึ่ง สีทองตัวหนึ่ง เชื่อว่าเป็นสิริมงคลให้ทำมาค้าขึ้น. |
ตะเพียนทอง | น. ชื่อปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus altus (Günther) หรือ Puntius altus (Günther) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้าง สีเงินหรือเหลืองทอง ครีบอกและครีบท้องสีเหลืองส้มสลับแดง ครีบหางสีเหลือง ขอบครีบหางสีแดงส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ตะเพียนทอง | ดู ฉลามเสือ ใน ฉลาม. |
ตะเพียนน้ำเค็ม | ดู โคก ๒. |
ตะเพียนหางแดง | ดู กระแห, กระแหทอง. |
ปลาตะเพียน | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ ดาวคางหมู ก็เรียก |
ปลาตะเพียน | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวนาง ก็เรียก |
ปลาตะเพียน | เครื่องแขวนเหนือเปลให้เด็กดูทำด้วยใบตาลเป็นต้น. |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระแห, กระแหทอง | น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ. |
กระโห้ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
แก้มช้ำ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก. |
ขี้ยอก | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Mystacoleucusวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด Mystacoleucus marginatus (Valenciennes), M. atridorsalis Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า. |
คางหมู | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก. |
โคก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก. |
ฉลาม | (ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith). |
ฉลามเสือ | น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
ตุ่ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย. |
นักษัตร ๑, นักษัตร- | (นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. |
นาง ๑ | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง เห็นเป็นรูปผู้หญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
พราหมี | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวคางหมู หรือ ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก. |
เรวดี | น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๗ มี ๑๖ ดวง เห็นเป็นรูปหญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง ก็เรียก. |
โรหิณี | น. ดาวฤกษ์ที่ ๔ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปจมูกม้าหรือไม้คํ้าเกวียน, ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู ก็เรียก |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |