กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ Ardeola bacchus (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ A. speciosa (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ A. grayii (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระสือ ๒ | น. ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. |
กลองตะโพน | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ใช้ตะโพนไทย ๒ ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออกแล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีอย่างกลองทัด นิยมใช้ตีแทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หรือเพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวลเมื่อบรรเลงภายในห้องหรืออาคาร. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กะละปังหา | น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ชั้น Anthozoa ตัวมีขนาดเล็ก รูปร่างทรงกระบอก อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งเชื่อมต่อเนื่องกันไปลักษณะคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันตามแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็ง นิยมนำมาทำเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดำ, กัลปังหา ก็เรียก. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
โกศ ๑ | (โกด) น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับประกอบนอกพระลองหรือลองที่ใส่พระบรมศพ พระศพ หรือศพ รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐาน และมีฝาครอบเป็นเครื่องยอด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามอิสริยยศ, ที่ใส่พระบรมอัฐิ พระอัฐิ หรืออัฐิ มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโกศ |
ใกล้เคียง | ไม่แตกต่างกันมากนัก, พอ ๆ กัน เช่น รอ กับ คอย มีความหมายใกล้เคียงกัน หนังสือสองเล่มนี้มีขนาดใกล้เคียงกัน. |
ไก่บ้าน | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม เนื่องจากการคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ข้าวอบ | น. ข้าวสุกที่ปรุงรสและใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ แล้วอบให้ร้อน เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น ข้าวอบหนำเลี้ยบ ข้าวอบกุนเชียง. |
คนละเรื่องเดียวกัน | น. เรื่องเดียวกันแต่มองต่างกัน. |
คำพ้องความ | น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า. |
คำพ้องรูป | น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. |
คำพ้องเสียง | น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์. |
คู่ | ว. ลักษณะของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย |
เครื่องอังน้ำ | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้าทำด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อนเหลื่อมกัน ใช้สำหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยวิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อนส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. |
เงินตรา | น. เงินที่รัฐกำหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, (โบ) เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินพดด้วง ก็เรียก. |
เงินพดด้วง | น. เงินที่ทำเป็นก้อนลักษณะคล้ายตัวด้วงงอ มีตราจักรและตราประจำรัชกาล มีขนาด น้ำหนัก และราคาต่างกัน ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน, เงินตรา ก็เรียก. |
จาบปีกอ่อน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Emberizidae เป็นนกที่อพยพมาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม หางยาวปานกลาง ปลายหางเว้าตื้น ทั้งสองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย กินเมล็ดผลไม้และแมลง เช่น จาบปีกอ่อนสีตาล ( Emberiza rutilaPallas) จาบปีกอ่อนอกเหลือง ( E. aureola Pallas) จาบปีกอ่อนหงอน [ Melophus lathami (Gray) ]. |
ฉบับ | (ฉะ-) น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ |
ช่องว่าง | ความไม่เข้าใจกันของคนที่มีความคิด ฐานะ หรืออื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน ช่องว่างระหว่างวัย. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ดักแด้ ๑ | น. ชื่อตัวอ่อนระยะสุดท้ายของแมลงหลายชนิด มีรูปร่างเปลี่ยนไปจากตัวหนอน บางชนิดสร้างปลอกหุ้มตัวรูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปกระสวย ทำด้วยเส้นใย เศษใบไม้ หรือดิน เพื่อเจริญไปเป็นตัวเต็มวัย ระยะนี้อยู่กับที่ไม่กินอาหาร, แดกแด้ หรือ แด็กแด้ ก็เรียก. |
ดุลการค้า | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศกับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้าเสียเปรียบ. |
ดุลการชำระเงิน | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นำเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินขาดดุล. |
ดุลชำระหนี้ | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ. |
เดินดง | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Turdinae ในวงศ์ Turdidae ปากค่อนข้างยาว ตรงหรือโค้งเล็กน้อย สีสันลำตัวแตกต่างกัน ขาค่อนข้างยาว หากินบนพื้นดินตามป่าหรือบนไม้พุ่ม กินแมลง ตัวหนอน และผลไม้สุก เช่น เดินดงหัวสีส้ม [ Zoothera citrina (Latham) ] เดินดงสีคล้ำ ( Turdus obscurus Gmelin). |
ตรงกันข้าม, ตรงข้าม | ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น ขาวตรงกันข้ามกับดำ รักตรงข้ามกับเกลียด. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
ตั๊กแตน | (ตั๊กกะ-) น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Orthoptera ลำตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ส่วนอกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้น ขาอาจเหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี [ Aularches miliaris (Linn.) ] ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตำข้าว เช่น ชนิด Hierodula membranaceusBurmeister ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium Serville ในวงศ์ Phasmidae และตั๊กแตนกิ่งไม้ เช่น ชนิด Eurycnema versirubra (Serville) ในวงศ์ Phasmidae. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด Taenia solium Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
ต่าง ๒ | ว. ผิดแผก, ไม่เหมือน, เช่น สีต่างกัน รูปร่างต่างกัน |
ทราย ๒ | (ซาย) น. ชื่อหอยกาบคู่หลายชนิด มีรูปเปลือกแตกต่างกันไป ที่เป็นหอยน้ำจืด เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson) ในวงศ์ Corbiculidae ที่เป็นหอยทะเล เช่น ชนิด Asaphis violascens (Forsska&npsp;ํl) ในวงศ์ Psammobiidae. |
ทองแป | น. เหรียญทองมีลักษณะกลมแบนที่ออกมาใช้เป็นเงินตราในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำ มี ๓ ขนาด ราคาแตกต่างกัน คือ ทองทศ ทองทิศ ทองพัดดึงส์. |
ที่ราบ | น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร. |
นมสาว ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ สีและลายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีขนาดเล็กกว่าหอยนมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
นานาสังวาส | น. “การอยู่ร่วมต่างกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้. |
น้ำตาย | น. น้ำขึ้นและน้ำลงที่เกิดขึ้นในวันขึ้น ๘ ค่ำ หรือแรม ๘ ค่ำ ซึ่งช่วงระหว่างความสูงของน้ำขึ้นกับน้ำลงมีระยะต่างกันน้อยมาก. |
น้ำพริก | น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วยกะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รสแต่ค่อนข้างหวาน ทำด้วยถั่วทองคั่วแล้วโขลก เนื้อกุ้งโขลก ผสมกับกะทิ และเครื่องปรุงรส กินกับเหมือดคือผักบางอย่าง ใช้กินกับขนมจีน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม. |
น้ำดอกไม้ ๔ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าอมเทา เช่น ชนิด S. forsteri Cuvier หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata Cuvier & Valenciennes บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello Cuvier & Valenciennes บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda (Walbaum) ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก. |
เนื้ออ่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker), P. bleekeri (Günther), Kryptopterus cryptopterus (Bleeker), K. limpok (Bleeker), Ompok bimaculatus (Bloch), O. hypophthalmus (Bleeker), Ceratoglanis scleronemus (Bleeker), ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
บู่ | น. ชื่อปลาขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Eleotridae และ Gobiidae มีทั้งในทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน เช่น บู่จากหรือบู่ทราย [ Oxyeleotris marmorata (Bleeker) ] ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือบู่ลูกทราย [ Glossogobius spp.(Valenciennes) ] บู่รำไพ (Vaimosa rambaiaeH.M. Smith) และ บู่ทะเลหรือบู่ขาว [ Acentrogobius caninus (Cuvier & Valenciennes) ] ในวงศ์ Gobiidae. |
Tropical cyclone | พายุหมุนเขตร้อน พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว เรียกแตกต่างกันตามถิ่นที่เกิดพายุ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Differential interest rate | อัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน [เศรษฐศาสตร์] |
Differential pricing | การตั้งราคาให้ต่างกัน [เศรษฐศาสตร์] |
Price discrimination | การตั้งราคาแตกต่างกัน [เศรษฐศาสตร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Sievert | ซีเวิร์ต, หน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูล เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์ กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์อีบี) หน่วยซีเวิร์ตนี้ใช้แทนหน่วยเรม โดย 1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม (ดู rem ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Roentgen equivalent man | หน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล, เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ด กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์บีอี) สำหรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา ค่าปรับเทียบมีค่าใกล้เคียงกับ 1 (ในทางปฏิบัติใช้ค่า 1) นั่นคือ เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เรม ปัจจุบันหน่วยเรมนี้ใช้หน่วยซีเวิร์ตแทน โดย 1 ซีเวิร์ตเท่ากับ 100 เรม (ดู equivalent dose, H$_T$ และ sievert, Sv ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Positron Emission Tomography | เพ็ต, เทคนิคการถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอนที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นมากซึ่งผลิตจากไซโคลทรอนเข้าไปในกระแสเลือด เช่น การตรวจการทำงานของสมอง จะใช้กลูโคสซึ่งฝังตรึงด้วยสารกัมมันตรังสี ฟลูออร์-18 เพื่อแสดงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ เป็นภาพสามมิติที่มีสีสันแตกต่างกัน ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ สามารถแสดงผลได้รวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 นาที นอกจากนี้ยังสามารถใช้วินิจฉัยด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เนื้องอก และด้านลิ่มเลือดหรือโรคลมต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Mass spectrometer | สเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrograph | สเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์] |
Isotone | ไอโซโทน, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากันแต่จำนวนโปรตอนต่างกัน เช่น $ ^{ 39 } $ <sub>19</sub>K และ $ ^{ 40 } $ <sub>20</sub>Ca มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสเท่ากับ 20 เหมือนกัน, Example: [นิวเคลียร์] |
Isomer | ไอโซเมอร์, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีสถานะพลังงานต่างกัน เช่น Tc-99m เป็นไอโซเมอร์กับ Tc-99 [นิวเคลียร์] |
Isotope | ไอโซโทป, อะตอมของธาตุเดียวกัน ซึ่งในนิวเคลียสมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่ $ ^{ 1 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 2 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 3 }_{ 1 } H $ ไอโซโทปของธาตุเดียวกัน จะมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่สมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน [นิวเคลียร์] |
Isobar | ไอโซบาร์, นิวไคลด์ที่มีมวลเชิงอะตอมเท่ากันแต่เลขเชิงอะตอมต่างกัน เช่น $ ^{ 14 } $ <sub>6</sub>C $ ^{ 14 } $ <sub>7</sub>N และ $ ^{ 14 } $ <sub>8</sub>O <br>(ดู isotope ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
gateway | เกตเวย์ อุปกรณ์สำหรับเืชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน, Example: ประตูทางออกในการสื่อสารข้อมูลระหว่างที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย [คอมพิวเตอร์] |
Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] |
Price Discrimination | การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน, Example: ในการค้าระหว่างประเทศบางครั้งจะมีการตั้งราคา สินค้า ชนิดเดียวกันในระคาแตกต่างกันในระหว่างราคาที่ขาย ภายในประเทศกับราคาขายในตลาดต่างประเทศ การตั้งราคาขายเช่นนี้จะกระทำในการค้าระหว่างประเทศ ได้ง่ายกว่าการค้าภายในประเทศ ซึ่งมักมีระเบียบข้อบังคับต่างๆ ควบคุมไว้มาก อย่างไรก็ตามประเทศคู่ค้ามักใช้ภาษีป้องกันการทุ่มตลาดเรียกเก็บกักสินค้า จากต่างประเทศ ที่มีการตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น (ดู Dumping) [สิ่งแวดล้อม] |
Arrival Ceremony | พิธีการต้อนรับ ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน [การทูต] |
Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] |
Chargé d' Affaires | อุปทูต เดิมเรียกว่า อุปทูตประจำ ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า Chargé d' Affaires ad hoc บ้าง Chargé d' Affaires en pied หรือ Chargé d' Affaires avec lettres บ้าง ปัจจุบันเรียกเพียง อุปทูต (Chargé d' Affaires) เท่านั้น รัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับอาจจะตกลงกันให้มีหัวหน้าคณะผู้แทนเพียงระดับอุปทูตก็ ได้ (ต่างกันกับตำแหน่งอุปทูตชั่วคราว) [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Departure Ceremony | พิธีการส่ง ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันออกไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Ministry of Foreign Affairs | กระทรวงการต่างประเทศ ในแต่ละประเทศอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป อาทิ Department of State ของสหรัฐอเมริกา (Secretary of State รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ) Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) ของออสเตรเลีย Ministry of Foreign Affairs and Trade (MFAT) ของนิวซีแลนด์ เป็นต้น [การทูต] |
Political Offenses | ความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต] |
presentation of the letter of credence | การยื่นสาส์นตราตั้ง เป็นการกำหนดให้เอกอัครราชทูตยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขของประเทศที่เข้าไป พำนักอยู่ ซึ่งรูปแบบพิธีการก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ [การทูต] |
Sister Cities | บ้านพี่เมืองน้อง หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศ หรือเมืองในประเทศที่ต่างกัน ในการที่จะสถาปนาเมืองในประเทศของแต่ละฝ่ายให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็น พิเศษ เช่น นครเชียงใหม่เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครเซี่ยงไฮ้ หรือกรุงเทพฯ เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครลอสแอนเจลิส [การทูต] |
Stalemate | ภาวะจนมุม เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้ [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
linear electron accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์ [พลังงาน] |
dropping point | จุดหยด, จุดหยด อุณหภูมิที่ทำให้จาระบีเปลี่ยนแปลงจากสถานะกึ่งของแข็งเป็นของเหลว จาระบีที่มีส่วนผสมของ Thickeners ที่แตกต่างกัน จะมีอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงสถานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นจุดหยดของจาระบีสามารถใช้จำแนกประเภทของจาระบีได้ มีประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของจาระบี [ปิโตรเลี่ยม] |
Cell Line | เซลล์ไลน์, เซลล์ที่เลี้ยงให้เติบโตและเพิ่มจำนวนได้อย่างต่อเนื่องอย่างไม่จำกัดภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต เซลล์ทุกเซลล์ในเซลล์ไลน์เดียวกันมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ คือเป็นโคลน (Clone) ของกันและกัน เซลล์ไลน์ต่างชนิดกันจะมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการประยุกต์ใช้ในการศึกษาทางอณูชีววิทยา (Molecular Biology) [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Adhesion | ลักษณะการยึดติดของสองสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดจากแรงทางเคมีหรือทางกายภาพหรือทั้งสองอย่าง เช่น ยางคงรูปยึดติดกับโลหะ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Crepe rubber | ยางเครพเป็นยางที่ผลิตขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางซึ่งจับตัวเป็นก้อน เช่น ยางก้นถ้วย ยางติดเปลือกไม้ เป็นต้น นำไปรีดในเครื่องเครพ (creping machine) พร้อมทั้งใช้น้ำทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากยางระหว่างการรีด นำยางแผ่นที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง ยางเครพที่ผลิตจากน้ำยางเป็นยางเครพที่มีคุณภาพดี ได้แก่ ยางเครพขาว (white crepe) หรือยางเครพสีจาง (pale crepe) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางสี ได้แก่ ยางกระเป๋าน้ำร้อน ยางรัดของ เป็นต้น ส่วนยางเครพที่ผลิตจากก้อนยางจับตัว เป็นยางเครพที่มีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ยางเครพสีน้ำตาล (brown crepe) ยางเครฟแฟลตบาร์ก (flat bark crepe) และยางเครฟแบลงเค็ต (blanket crepe) เป็นต้น ซึ่งยางเครฟเหล่านี้มีสีค่อนข้างเข้มและมีความบริสุทธิ์แตกต่างกันมากขึ้น อยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เหมาะสำหรับทำผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่คำนึงถึงสี ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนักและราคาต้นทุนต่ำ ได้แก่ ยางปูพื้น ยางกันโคลน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Fluorocarbon rubber | ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Two-roll mill | เครื่องผสมยางแบบสองลูกกลิ้งเป็นเครื่องผสมยางระบบเปิดที่ประกอบด้วย ลูกกลิ้ง 2 ลูก หมุนเข้าหากันด้วยความเร็วต่างกัน ทำให้เกิดแรงเฉือนที่จำเป็นต่อการบดผสมยางกับสารเคมียาง ในการผสมยางกับสารเคมียางจะใส่ยางลงช่องระหว่างลูกกลิ้ง ยางจะถูกรีดออกมาเป็นแผ่นรอบลูกกลิ้งด้านหน้า จากนั้นจึงเติมสารเคมียาง โดยผู้ผสมต้องทำการกรีดยางแผ่นและพับไปมาในขณะที่เติมสารเคมีลงไปในยาง ซึ่งยางที่ถูกตัดพับจะถูกใส่กลับไปช่องระหว่างลูกกลิ้ง แรงเฉือนที่เกิดขึ้นจะช่วยให้สารเคมีต่างๆ กระจายตัวเข้ากับเนื้อยางได้ดี เครื่องผสมยางแบบสองลูกกลิ้งใช้ผสมยางในปริมาณไม่มาก เนื่องจากต้องใช้ความชำนาญและกำลังคนในการผสม [เทคโนโลยียาง] |
Anisocytosis | ขนาดไม่เท่ากัน, เม็ดเลือดแดงมีขนาดแตกต่างกัน [การแพทย์] |
Anisometropia | กำลังสายตาในตาทั้งสองต่างกันมาก [การแพทย์] |
Astigmatism, Irregular | การหักเหของแสงสว่างแตกต่างกันหลายแนว [การแพทย์] |
active | (adj) ซึ่งมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกัน (ทางดาราศาสตร์) |
alike | (adj) เหมือนกัน, See also: คล้ายคลึงกัน, ไม่แตกต่างกัน, ลักษณะเดียวกัน, อาการเดียวกัน, Syn. similar, like, same |
allotrope | (n) รูปแบบที่ต่างกันของธาตุหนึ่ง ๆ |
another | (pron) สิ่งอื่น, See also: อีกอันที่แตกต่างกัน, Syn. someone else, an additional one |
be cast in the different mould | (idm) มีบุคลิกภาพหรือลักษณะต่างกัน |
close | (adj) ที่คล้ายกัน, See also: ที่แตกต่างกันน้อยมาก, Syn. similar, resembling |
contradistinction | (n) ความแตกต่างกัน, Syn. difference |
contrast | (vi) แตกต่างกัน, Syn. contradict, conflict |
contrast | (n) สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง, See also: ข้อแตกต่าง, ข้อเปรียบเทียบ |
coexist with | (phrv) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ (โดยเฉพาะกับผู้มีความคิดแตกต่างกันทางการเมือง) |
differ about | (phrv) แตกต่างกันในเรื่อง, Syn. differ on |
differ in | (phrv) แตกต่างกันในเรื่องหรือด้าน |
differ on | (phrv) แตกต่างกันในเรื่อง, Syn. differ about |
disagree about | (phrv) คิดต่างออกไปในเรื่อง, See also: มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่อง, Syn. disagree on |
disagree on | (phrv) คิดต่างออกไปในเรื่อง, See also: มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่อง, Syn. disagree on |
disagree over | (phrv) คิดต่างออกไปในเรื่อง, See also: มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่อง, Syn. disagree on |
divide on | (phrv) มีความเห็นต่างกันในเรื่อง |
drift away | (phrv) เริ่ม (คิด, รู้สึก) ต่างกัน |
different | (adj) ต่างกัน, See also: ผิดแปลก, แตกต่างกัน, Syn. distinct, separate, dissimilar, Ant. alike, like, similar |
differential | (adj) ซึ่งมีความแตกต่างกัน, See also: ก่อให้เกิด |
discrepancy | (n) ความแตกต่างกันระหว่างสองสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน, Syn. difference, disparity, gap, Ant. accord |
discrepant | (adj) แตกต่างกัน (ระหว่างสองสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน), Syn. conflicting, improper, unsuitable |
disparate | (adj) ไม่เหมือนกันอย่างมาก, See also: แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง, Syn. different, dissimilar |
disparity | (n) ความไม่เหมือนกัน, See also: ความแตกต่างกัน, ความไม่สอดคล้องกัน, Syn. contradiction, deviation, Ant. accord, correspondence |
dissimilar | (adj) ซึ่งไม่เหมือนกัน, See also: ซึ่งแตกต่างกัน, Syn. different, diverse, unlike |
dissimilate | (vt) ทำให้ไม่เหมือนกัน, See also: ทำให้ต่างกัน |
diverge | (vi) แตกต่างกัน, See also: ไม่เหมือนกัน, แยกจากกัน, Syn. deviate, veer, redirect, Ant. agree |
divergent | (adj) ซึ่งแตกต่างกัน, See also: ซึ่งไม่สอดคล้องกัน, Syn. different |
ethnicity | (n) ลักษณะของเชื้อชาติหรือกลุ่มชนที่เหมือนกันหรือต่างกัน |
gap | (n) ความแตกต่าง, See also: ความไม่เข้าใจกัน, ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างกัน, Syn. contrast, disagreement, Ant. accord |
hairline | (adj) ที่แตกต่างกันน้อยมาก |
heterogenesis | (n) การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีความแตกต่างกันในวงชีวิตของพืชและสัตว์ในระยะเจริญเติบโตและระยะสืบพันธุ์, See also: การกลายพันธุ์ |
matter of opinion | (idm) เรื่องที่ถกเถียงกันได้, See also: สิ่งที่คิดต่างกันได้ |
middle-of-the-road | (idm) อยู่ระหว่างสองขั้วที่ต่างกัน (โดยเฉพาะทางการเมือง) |
much of a muchness | (idm) ไม่แตกต่างกันมาก, See also: เหมือนกันมาก |
six of one and half a dozen of the other | (idm) ไม่แตกต่างกัน, See also: เหมือนๆกัน |
split hairs | (idm) แยกความแตกต่างในสิ่งเล็กน้อยๆ, See also: แยกความต่างในสิ่งที่มันไม่ต่างกันมากมายจนเป็นสิ่งสำคัญนัก |
idiom | (n) รูปแบบที่แตกต่างกัน (ทางดนตรีหรือศิลปะ) |
inequality | (n) ความไม่เสมอภาค, See also: ความไม่สมดุล, ความแตกต่างกัน, Syn. inequality, injustice, Ant. justice |
intercultural | (adj) ซึ่งเกิดระหว่างคนหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน |
intergroup | (adj) เกี่ยวข้องกันระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน |
intermarriage | (n) การแต่งงานระหว่างผู้มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือสังคมต่างกัน |
intermarry | (vi) แต่งงานระหว่างผู้มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือสังคมต่างกัน |
interracial | (adj) ระหว่างเชื้อชาติ, See also: เกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติแตกต่างกัน |
isomer | (n) ธาตุที่มีสารประกอบเหมือนกันแต่คุณสมบัติต่างกัน |
margin | (n) ค่าแตกต่างระหว่างสองสิ่ง, See also: จำนวนที่แตกต่างกันอยู่, ปริมาณที่ต่างกัน, ผลต่าง |
MIRV | (abbr) คำย่อจาก multiple independently targeted, See also: จรวดติดระเบิดนิวเคลียร์หลายลูกเพื่อยิงไปยังที่หมายต่างกัน |
nuanced | (adj) ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยมาก |
onyx | (n) หินซึ่งมีชั้นสีต่างกันและใช้เป็นเครื่องประดับ |
opposite | (adj) ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง, Syn. different, Ant. same |
+ | เครื่องหมาย cross hairs เป็นรูปลักษณ์ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) แบบหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไปในบางโปรแกรม เช่น ในโปรแกรมการวาดภาพในระบบวินโดว์ส มักมีลักษณะเป็นเส้นตัดกัน (+) แทนที่จะเห็นเป็นลูกศรตามปกติ |
^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
adapter | (อะแดพ' เทอะ) n. บุคคลหรือสิ่งที่ปรับตัว, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมส่วนที่มีขนาด่หรือแบบแตกต่างกันให้เข้ากันได้, อุปกรณ์. ตัวปรับต่อตัวปรับแผงวงจร (card) ที่มีสายไฟเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าผิดขนาด ผิดรุ่นกัน จะต้องมี "ตัวปรับต่อ" เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ บางทีอาจเสียบไว้ในช่องเสียบ (expansion slot) เลยก็ได้ |
allomorph | (แอล' โลมอร์ฟ) n. สารประกอบเคมีชนิดเดียวกันที่มีรูปแบบต่างกัน. -allomorphic adj. |
allotrope | (แอล' โลโทรพ) n., chem. รูปแบบที่ต่างกันของธาตุหนึ่ง ๆ -allotropic (al) adj. -allotropicity n. |
anisogamous | (แอนนิซอก' กะมัส) adj. เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์เพศ (gametes) ที่ไม่เหมือนกันและมักมีขนาดต่างกัน -anisogamy n. |
anisometric | (แอนนิโซเมท' ทริค) adj. ไม่เป็น isomer กัน, สัดส่วนไม่เท่ากัน, มีแกนที่มีความยาวต่างกัน (of unequal measurement) |
anisotropic | (แอนนิโซโทร' ฟิค) adj. ซึ่งมีคุณสมบัติที่ต่างกันทางกายภาพ และตามแกนยาวที่ต่างกัน -anisotropy n. |
appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ |
attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น |
backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: |
bezier curve | รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
bytes per inch | ไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย |
caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
chasm | (แคซ'ซึม) n. เหว, หุบเหว, ชั้นที่ขาด, ส่วนแตก, ส่วนแยก, ความแตกต่างกันมาก, การขาดตอน, See also: chasmal, chasmic, chasmy adj., Syn. rift |
coding form | ใบลงรหัสคำสั่งแบบพิมพ์ลงรหัสเป็นแบบฟอร์มสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน หรือภาษาระดับสูง (high level language) อื่น ๆ แบบฟอร์มนี้จะมี 80 คอลัมน์อาจจะทำให้ดูเป็นสีต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นสีเดียวแต่กำหนดให้มีระดับสีต่างกัน อ่อนบ้าง เข้มบ้าง เพื่อให้ดูง่าย เมื่อเวลานำมาเจาะข้อมูลจะได้กำหนดคอลัมน์ได้สะดวกขึ้น |
color monitor | จอสีหมายถึง อุปกรณ์แสดงผลชนิดจอภาพที่แสดงภาพเป็นสีต่าง ๆ ได้หลายสี (จอภาพ ที่แสดงได้สีเดียว เรียกว่า monochrome) จอสีนั้นมีความแตก ต่างกันในเรื่องการแสดงจำนวนสี บางประ เภทแสดงได้ 16สี บางประเภทแสดงได้ถึง 256 สี หรือกว่านั้นก็มี ทั้งยังมีคุณภาพต่างกันในเรื่องของความคมชัด ดู CGA, VGA และ SVGA ประกอบ |
computer vendor group | กลุ่มผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัว กันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู computer user group เปรียบเทียบ |
cross hairs | n. เส้นไขว้กล้องสำหรับหมายวัตถุที่ส่องดู, เส้นกากบาทในกล้องปืนเล็งเป้า + <เครื่องหมาย>เป็นรูปลักษณ์ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) แบบหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไปในบางโปรแกรม เช่น ในโปรแกรมการวาดภาพในระบบวินโดว์ มักมีลักษณะเป็นเส้นตัดกัน (+) แทนที่จะเห็นเป็นลูกศรตามปกติ |
diacritical | adj. ซึ่งทำให้แตกต่างกัน, เป็นการแบ่งแยกชนิด, เป็นเครื่องหมายการออกเสียง |
dichogamy | (ไดคอก'กะมี) n. ภาวะที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสุกในเวลาต่างกัน, See also: dichotomous adj. |
difference | (ดิฟ'เฟอเรินซฺ) n. ความแตกต่าง, ข้อแตกต่าง, จำนวนแตกต่างกัน. vt. ทำให้แตกต่าง, แบ่งแยกข้อแตกต่าง, Syn. distinction |
different | (ดิฟ'เฟอเรินทฺ) adj. แตกต่างกัน, ผิดกัน, ไม่เหมือนกัน, หลากหลาย, ผิดปกติ', Syn. dissimilar |
differentia | n. ลักษณะที่แตกต่างกัน, ความแตกต่าง -pl. differentiae |
differentiable | (ดิฟฟะเรน'ชะเบิล) adj. ซึ่งแยกแยะออกจากกันได้, ซึ่งทำให้แตกต่างกันได้, ซึ่งแบ่งแยกประเภทหรือชนิดได้ |
differential | (ดิฟฟะเรน'เชิน) adj., n. เกี่ยวกับความแตกต่างกัน, เกี่ยวกับหรือประกอบด้วยอนุพันธ์ (derivative-วิชาคณิตศาสตร์) |
differentiate | (ดิฟฟะเรน'ชิเอท) v. ทำให้แตกต่างกัน, เปลี่ยน, แยกจำแนก, แยก, แบ่งแยก., See also: differentiation n. ดูdifferentiate differentiator n. ดูdifferentiate, Syn. distinguish |
disparity | (ดิสแพ'ริที) n. ความไม่เหมือนกัน, ความแตกต่างกัน, Syn. gap, difference |
dissemblance | (ดิเซม'เบลินซฺ) n. ความไม่เหมือนกัน, ความแตกต่างกัน, การอำพรางความกลบเกลื่อน, Syn. unlikeness |
dissimilar | (ดิซิม'มะลาร์) adj. ไม่เหมือนกัน, แตกต่างกัน, Syn. different, unlike, distinct |
dissimilate | (ดิซิม'มะเลท) vt. ทำให้ไม่เหมือนกัน, ทำให้แตกต่างกัน., See also: dissimilative adj. ดูdissimilate dissimilatory adj. ดูdissimilate |
diverge | (ไดเวิร์จ') vi. แยกออก, บานออก, แตกแยก, แผ่ออก, แตกต่างกัน, แยกทาง, Syn. deviate, differ, Ant. converge |
divergent | (ไดเวอ'เจินทฺ) adj. แตกต่างกัน, ผันแปร, ซึ่งเบนออก, ซึ่งห่างประเด็น, หลากหลาย |
diverse | (ไดเวิร์ซฺ') adj. หลายอย่าง, หลากหลาย, แตกต่างกัน. |
diversify | (ไดเวอ'ซิไฟ) vt. ทำให้เป็นหลายชนิด, ทำให้แตกต่างกัน. vi. ลงทุนในรูปต่าง ๆ , ผลิตออกมาในรูปต่าง ๆ, See also: diversifiable adj. ดูdiversify diversifiability n. ดูdiversify diversifier n. ดูdiversify |
dotard | (โด'ทิจ) n. ความชรา, ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา, ภาวะสติเลอะเลือน, ความหลงรักอย่างโง่ ๆ , การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว) |
ecotone | n. เขตระหว่างกลุ่มพืชที่ต่างกัน 2 ชนิด เช่นระหว่างป่ากับทุ่ง |
flatbed plotter | พล็อตเตอร์แบบระนาบหมายถึงเครื่องวาดที่สามารถวาดบนแผ่นกระดาษที่วางแบน ๆ เรียบ ๆ ได้ ประกอบด้วยก้านซึ่งเคลื่อนที่ไปมาได้ มีหัววาดซึ่งอาจเป็นปากกา ดินสอ หรืออุปกรณืพิเศษอื่น ๆ ติดอยู่ ขนาดของกระดาษที่ใช้มีต่างกันตั้งแต่ 28x43 ซม. จนถึง 2.44x3.66 เมตร อัตราความเร็วของการวาดมีตั้งแต่ 15 ถึง 100 ซม. ต่อวินาที นิยมนำมาใช้วาดแผนที่ กราฟ หรือการแสดงภูมิอากาศ |
heterogeneity | n. สภาพที่มีเซลล์สืบพันธุ์ (gametes) ต่างกัน, การได้มาจากแหล่งหรือจำพวกที่ต่างกัน |
heterologous | adj. ซึ่งมีแหล่งกำเนิดต่างกัน, ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ต่างกัน |
heteronym | n. คำที่สะกดเหมือนกันแต่มีเสียงและความหมายแตกต่างกัน |
homologue | (ฮอมมะลอก') n. ส่วนที่คล้ายคลึงกัน, สารประกอบที่มีแบบทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่ส่วนประกอบบางอย่าง, อวัยวะหรือส่วนที่คล้ายคลึงกัน |
intermarriage | (อินเทอแม'ริเอจฺ) n. การแต่งงานระหว่างหญิงชายที่มีชนชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ต่างกัน, การแต่งงานระหว่างหญิงชายจากครอบครัวหรือกลุ่มเดียวกัน |
isotope | (ไอ'โซโทพฺ) n. ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่น้ำหนักอะตอมและประจุไฟฟ้าisotopeหลายชนิดที่มีกัมมันตภาพรังสี |
miscegenation | (-ซิจะเน'เชิน) n.การสมรสระหว่างหญิงชายที่มีเชื้อชาติต่างกัน, การผสมพันธุ์ระหว่างเชื้อชาติ, See also: miscegenetic adj. |
multisync monitor | จอภาพหลายคลื่นแสงหมายถึง จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถกวาดคลื่นแสงในอัตราที่แตกต่างกัน |
other | (อัธ'เธอะ) adj. อื่น, อีก, อื่นอีก, อะไรอีก, มากกว่า, จำนวนพิเศษ, ต่างไปกว่า, ไม่เหมือนกัน, แตกต่างกัน, อันก่อน, ก่อน. -every other..วันเว้นวัน -Phr. (the other day (night) สองสามวันก่อน, เมื่อวานซืนนี้) n. สิ่งอื่น, คนอื่น, อันอื่น, วันอื่น pron. สิ่งอื่น, คนอื่น adv. มิฉะนั้น, ตรงกันข้าม |
output buffer | บัฟเฟอร์ส่งออกในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด อันที่จริง บัฟเฟอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
plotter | (พล็อท'เทอะ') เครื่องวาดเป็นอุปกรณ์แสดงผลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการวาด โดยปกติจะมีปากกามากกว่าหนึ่งด้ามเป็นสีต่าง ๆ การเลือกใช้ปากกาเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับคำสั่งที่ป้อนเข้าไปอีกต่อหนึ่ง โปรแกรมประเภท CAD (computer aided-design) จะต้องใช้กับเครื่องพิมพ์ชนิดเครื่องวาดนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เครื่องวาดก็มีหลายแบบ และหลายขนาด มีความคมชัดมากน้อยต่างกันเช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ |