ละครชาตรี | น. ละครต้นแบบของละครรำ เดิมเล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไปในภาคใต้ มีทำนองเพลงร้องเป็นการเฉพาะ ใช้ตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวนายโรงจะแต่งตัวยืนเครื่องเสมอ ตัวละครที่ไม่สำคัญไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้ประณีตนัก. |
กลองชาตรี | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มี ๒ หน้า รูปร่างลักษณะคล้ายกลองทัดแต่เล็กกว่ามาก ตีด้วยไม้ ๒ อัน เช่นเดียวกับกลองทัด แต่วิธีการตี ลักษณะของไม้ตี และเสียงจะแตกต่างจากกลองทัด ใช้ร่วมในวงปี่พาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า ปี่พาทย์ชาตรี ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดออกภาษาหรือสิบสองภาษา และใช้ประกอบการบรรเลงในเพลงทำนองตะลุง กลองชาตรีมักใช้บรรเลงคู่กับโทน เรียกว่า โทนชาตรี มีชื่อเรียกตามเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตุ๊ก. |
ชาตรี ๒ | (-ตฺรี) น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี |
ซัดชาตรี | น. การรำไหว้ครูก่อนที่จะแสดงละครชาตรี. |
นายโรง | ผู้แสดงตัวพระในละครชาตรี. |
โนรา ๒ | น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, มโนราห์ ก็ว่า. |
มโนราห์ | น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี. |
ละครแก้บน | น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน. |
ละครนอก | น. ละครรำแบบหนึ่ง วิวัฒนาการมาจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบแบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่กำหนดให้แสดงในละครใน. |
ละครรำ | น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ มีหลายแบบ เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์. |