กรรมวาจก | (กำมะ-) น. ระเบียบของกริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ, บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ถูกตี เป็นกริยา กรรมวาจก เด็กเป็นกรรมการก แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก. |
เกลี้ยงเกลา | ว. หมดจดหรือเรียบร้อย เช่น หน้าตาเกลี้ยงเกลา หนังสือเล่มนี้สำนวนเกลี้ยงเกลา. |
ช้ำ | ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือบ่อย ๆ เช่น มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอยฟกชํ้าดำเขียว, เรียกสิ่งที่ถูกใช้งานหรือถูกจับต้องบ่อย ๆ จนมีสภาพทรุดโทรม เช่น หนังสือเล่มนี้คนยืมไปใช้บ่อย ช้ำหมดแล้ว. |
ที่ไหนได้ | ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท. |
วิจาร, วิจารณ-, วิจารณ์ | (วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน) ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ. |
สมใจ | ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ. |
เสียเวลา | ก. ใช้เวลาหมดไป เช่น วันหนึ่ง ๆ เขาเสียเวลาคอยรถประจำทางเป็นชั่วโมง, โดยปริยายหมายความว่า หมดเวลาไปโดยไม่ได้ประโยชน์คุ้ม เช่น หนังสือเล่มนี้เสียเวลาอ่าน. |
หน้า | ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. |
หวงแหน | (-แหนฺ) ก. หวงมาก เช่น หนังสือเล่มนี้หายาก เจ้าของหวงแหนเหลือเกิน. |