หย่ง | (v) tiptoe, See also: walk on tip toe, Syn. โหย่ง, กระหย่ง, กระโหย่ง, Example: เธอลงมายืนแตะเท้ากับผ้าขี้ริ้วเก่าๆ พอให้เท้าแห้งแล้วก็หย่งเท้าขึ้นบันได, Thai Definition: ทำให้สูงขึ้น |
แหย่ง | (n) support, See also: rest, Example: เขาคู้ตัวหมอบบนหลังช้าง สองมือเกาะแหย่งไว้แน่น, Thai Definition: ที่สำหรับรับรองเช่นสัปคับช้าง |
โหย่ง | (v) stand on tiptoe, See also: hop on one foot, Syn. หย่ง, เขย่ง, กระหย่ง กระโหย่ง, Example: เขาโหย่งตัวขึ้นเพื่อจะมองได้ชัดยิ่งขึ้น, Thai Definition: อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง |
กระหย่ง | (adv) (walk) on the toes, See also: (go) on tip-toe, Syn. หย่ง, โหย่ง, กระโหย่ง, Example: หล่อนเดินกระหย่งเท้าไปที่เตียงนอน |
กระโหย่ง | (v) walk on the toes, See also: go on tip-toe, Syn. กระหย่ง, หย่ง, โหย่ง, Example: น้องกระโหย่งเท้าเดินเพราะพื้นสกปรก |
หยิบหย่ง | (adj) idle, See also: frivolous, Syn. หยิบโหย่ง, กรีดกราย, Example: หากไม่สอนให้ให้เด็กรู้จักค่าของเงิน เด็กอาจจะติดเป็นนิสัยกลายเป็นคนหยิบหย่ง สุรุ่ยสุร่าย จมไม่ลง, Thai Definition: ไม่เอาการเอางาน |
หยิบโหย่ง | (adj) finicky, See also: loaf around, Syn. กรีดกราย, หยิบหย่ง, Ant. ทะมัดทะแมง, เอาการเอางาน, คล่องแคล่ว, กระฉับกระเฉง, Example: หล่อนทำงานหยิบหย่ง, Thai Definition: ไม่ทะมัดทะแมง, ไม่เอาการเอางาน |
กระเย้อกระแหย่ง | (v) tiptoe, See also: stand on tiptoe, Syn. ขะเย้อแขย่ง, เขย่ง, Example: เด็กนักเรียนต่างก็กระเย้อกระแหย่งอยู่หน้าห้องพักอาจารย์ รอฟังผลการตัดสินโทษ |
กระเย้อกระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม. |
กระหย่ง ๑ | ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
กระหย่ง ๒ | ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า. |
กระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. (แผลงมาจาก แขย่ง). |
กระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
กระโหย่ง ๑ | (-โหฺย่ง) ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
กระโหย่ง ๒ | (-โหฺย่ง) ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้นเรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า. |
หย่ง ๑ | ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, กระหย่ง กระโหย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
หย่ง ๒, หย่ง ๆ | ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือ รอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า. |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ว. ทำท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ. |
หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง | ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้. |
แหย่ง | (แหฺย่ง) น. สัปคับ, ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง ก็เรียก. |
โหย่ง ๑ | (โหฺย่ง) ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, กระหย่ง กระโหย่ง หรือ หย่ง ก็ว่า. |
โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ | (โหฺย่ง) ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า. |
กรีดกราย | (-กฺราย) ว. อาการที่เดินทอดแขนและจีบนิ้ว, มีท่าทางหยิบหย่ง, เช่น มัวแต่เดินกรีดกรายอยู่นั่นแหละ เมื่อไหร่จะทำงานเสร็จเสียที. |
กรีดนิ้ว | ก. ใช้นิ้วมือหยิบอย่างมีท่าทางหยิบหย่ง. |
กรุยกราย | มีท่าทางหยิบหย่ง |
ขะเย้อแขย่ง | (-ขะแหฺย่ง) ก. กระเย้อกระแหย่ง, เขียนเป็น เขย้อแขย่ง ก็มี. |
เขย้อแขย่ง | (ขะเย่อขะแหฺย่ง) ก. กระเย้อกระแหย่ง, ออกเสียงว่า ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี. |
โขย่ง | (ขะโหฺย่ง) ก. กระโหย่ง, ทำให้สูงขึ้น. |
คางคก ๑ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) . |
ตะโพง | โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน (ปกีรณำพจนาดถ์), ลุกขึ้นมาทั้งโปง วิ่งตะโพงกอดบาท (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า. |
ประจิ้มประจ่อง | ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย. |
ป้อ | ว. อาการของไก่ที่คึกกรีดปีกไปมา, มีอาการกรีดกราย หยิบหย่ง |
โยง ๒ | ก. เอาไม้แซะข้าวให้สุกทั่วกัน, ทำให้โหย่ง, คุ้ย, เช่น โยงข้าว โยงข้าวเม่า. |
ร่องส่วย | ก. หย่ง. |
รัดประคน | น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน. |
สง | ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. |
สัปคับ | (สับปะคับ) น. ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง. |
สำรวย | ว. ทำกิริยากรีดกรายหยิบหย่ง, เอาแต่แต่งตัว, เช่น ท่าทางสำรวยอย่างนี้ คงจะทำงานหนักไม่ไหว. |
สำอาง | ว. ที่ทำให้งามสะอาดหมดจด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย. |
เหยง, เหยง ๆ | (เหฺยง) ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี. |
เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ | ว. หยิบหย่ง, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน. |