อิตถี | (อิดถี) น. หญิง. |
อิตถีลิงค์ | น. เพศของคำในภาษาบาลี ที่ไม่จัดเป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เช่น ธานี (เมือง), สันสกฤตใช้ว่า สตรีลิงค์ หรือสตรีลึงค์. |
นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ | (นะปุงสะกะ-) น. เพศของคำในภาษาบาลีสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ เช่น ปท (บท) กาจน (ทอง) นคร (เมือง). |
นิมิต ๒ | อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น อิตถีนิมิต ปุริสนิมิต. |
ปุงลิงค์, ปุงลึงค์ | น. เพศของคำในภาษาบาลีสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นอิตถีลิงค์และนปุงสกลิงค์ เช่น กิมิ (หนอน, แมลง) ตาป (ความเดือดร้อน, ความรำคาญ), ปุลลิงค์ หรือ ปุลลึงค์ ก็ว่า. |
รัตน-, รัตน์, รัตนะ | (รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-) น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว |
รัตน-, รัตน์, รัตนะ | คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่๑. จักรรัตนะ–จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ–มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว |
ลิงค์ | ประเภทคำในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคำนั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง |
สตรีลิงค์, สตรีลึงค์ | น. เพศของคำในภาษาสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เช่น ธานี (เมือง), บาลีใช้ว่า อิตถีลิงค์. |