Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Parts per hundred of rubber | หน่วยการผสมยางโดยคิดสัดส่วนปริมาณสารต่างๆ เมื่อเทียบกับยาง 100 ส่วน (โดยน้ำหนัก) เรียกเป็น phr หรือ pphr (part per hundred of rubber) ใช้ในการออกสูตรยาง เช่น เติมกำมะถัน 2.5 phr หมายความว่า ถ้ามียาง 100 ส่วน จะเติมกำมะถัน 2.5 ส่วน [เทคโนโลยียาง] |
Van der Waals forces | แรงแวนเดอร์วาลส์, แรงที่เกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลหรืออะตอม เป็นแรงที่ไม่แข็งแรงนักเมื่อเทียบกับแรงชนิดอื่น ๆ ตัวอย่างของแรงชนิดนี้ เช่น แรงระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้ว แรงระหว่างโมเลกุลมีขั้วกับไม่มีขั้ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
refractive index [ index of refraction ] | ดรรชนีหักเห, อัตราส่วนของ sine มุมตกกระทบกับ sine ของมุมหักเห หรืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลางที่คลื่นตกกระทบ กับอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลางที่คลื่นหักเห ดูรูป n คือ ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 เมื่อเทียบกับตัวกลางที่ 1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anode | แอโนด, 1. ขั้วไฟฟ้าที่มีปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าลบในเซลล์กัลวานิก หรือเป็นขั้วไฟฟ้าบวกในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ 2. ขั้วไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นภายในระบบ เช่น หลอดวิทยุชนิดไดโอดเป็นขั้วซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าบวกเมื่อเทียบกับแคโทด เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
porosity | ความพรุน, ปริมาตรของช่องว่างที่มีอยู่ในวัตถุ เมื่อเทียบกับปริมาตรรวมของวัตถุทั้งก้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |