เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
ง่าม ๒ | น. ชื่อมดชนิด Pheidologeton diversus (Jerdon) ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดำตลอดตัว มีกลิ่นเฉพาะตัว อยู่กันเป็นฝูง ในฝูงจะพบมดเฝ้ารังมีขากรรไกรเป็นง่ามใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ส่วนมดงานลำตัวยาวเพียงประมาณ ๓ มิลลิเมตร. |
จราส | (จะหฺราด) ว. ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์ (ลอ). |
ชายธง ๒ | น. ชื่องูทะเลมีพิษรุนแรงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Hydrophiidae ตลอดตัวมักมีลายคล้ายธงราวสีจาง ๆ หางแบนเป็นพายในแนวตั้ง มักพบตามชายฝั่งทะเล ออกลูกเป็นตัว กินปลา เช่น ชายธงนวลหรือทะเลจุดขาว [ Aipysurus eydouxii (Gray) ] ชายธงท้องบาง [ Praescutata viperina (Schmidt) ] ชายธงหลังดำ [ Pelamis Platurus (Linn.) ]. |
นกเขา ๑ | น. ชื่อเหยี่ยวขนาดกลาง ในสกุล Accipiter วงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักอยู่ตามลำพัง เกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน [ A. trivergatus (Temminck) ]เหยี่ยวนกเขาชิครา [ A. badius (Gmelin) ] เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น [ A. gularis (Temminck & Schlegel) ]. |
ปล้องทอง | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga dendrophila (Boie) ในวงศ์ Colubridae ตัวโต ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดำตลอดตัวมีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ อาศัยตามป่าโกงกางทางภาคใต้ของประเทศไทย หากินตามพื้นดินและบนต้นไม้ กินนก หนู ตุ๊กแก มีพิษอ่อน. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
ล่องแมว | น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเทอากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน. |
ลายสอ | น. ชื่องูขนาดกลางในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑ เมตร ลำตัวสีน้ำตาล น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้ม มีลายเป็นแถบสีดำข้างลำตัว และสีน้ำตาลเข้มบนหลังตลอดตัว เกล็ดบนหลังมีสัน อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน กินกบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน [ Xenochrophis piscator (Schneider) ] ลายสอหัวเหลือง [ Sinonatrix percarinata (Boulenger) ]. |
เสือไฟ | น. ชื่อเสือชนิด Felis temmincki Vigors & Horsfield ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าเสือปลา รูปร่างเพรียว ขนสีนํ้าตาลแกมแดงตลอดตัว หรือที่หายากมีสีดำ หางยาวไล่เลี่ยกับลำตัว เวลาเดินจะยกหางขนานกับพื้น อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระต่าย กิ้งก่า. |
เหนี่ยง | (เหฺนี่ยง) น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus Macleay ในวงศ์ Hydrophilidae ลำตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร สีดำตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่างของอกยื่นยาวไปถึงส่วนท้อง อาศัยหากินและเติบโตอยู่ตามแหล่งน้ำจืด, โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมาก ว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง. |