Metadata | เมทาดาทา [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Metadata | เมทาดาทา, Example: เมทาดาทา คือ การอธิบายให้ทราบรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งจะต้องคุณสมบัติ 2 ประการ คือ เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง และ ต้องอธิบายถึงทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ <p>ความจำเป็นที่ต้องมีเมทาดาทา เกิดขึ้น เนื่องจากสารสนเทศที่สร้างขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ <p>1. เนื้อหา (Content) ของงาน เกี่ยวกับชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แำหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และขอบเขต <p>2. บริบท (Context) ของสารสนเทศ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของงาน เช่น ผู้เขียน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน และสิทธิในงานนั้นๆ <p>3. โครงสร้าง (Structure) ของข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอผลงาน และตัวบุ่งชี้หรือตัวระบุถึงทรัพยากร <p>ประเภทและหน้าที่ของเมทาดาทา <p>การทำเมทาดาทา จะต้องเข้าใจถึงประเภทของเมทาดาทาซึ่งจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ประการ คือ <p>1. เมทาดาทาเชิงการบริหาร (Administrative metadata) เป็นการกำหนดเมทาดาทาเพื่อใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เช่น เป็นเมทาดาทาของข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดหาสารสนเทศนั้นๆ การสร้าง การปรับปรุงสารสนเทศ เป็นเมทาดาทาเกี่ยวกับการสงวนรักษาข้อมูล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการย้้ายสภาพ เป็นต้น <p>2. เมทาดาทาเชิงการพรรณนา (Descriptive metadata) เป็นเมทาดาทาที่อธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ เช่น การลงรายการ ชื่อเรื่อง ชื่่อผู้แต่ง หัวเรื่อง การจัดหมวดหมู่ <p>3. เมทาดาทาเชิงโครงสร้าง (Structure metadata) เป็นเมทาดาทาที่แสดงหรือนำสารสนเทศไปถึงผู้ใช้ เช่น เมทาดาทาของข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องที่ใช้ในการอ่านภาพ ข้อมูลการแปลงเป็นดิจิทัล เป็นต้น <p>ลักษณะของเมทาดาทา <p>การใส่เมทาดาทา เพื่ออธิบายสารสนเทศนั้น สามารถใส่เมทาดาทาไปกับตัววัตถุ (Embedded object) เช่น ใส่เมทาดาทาไปกับแฟ้มข้อมูลที่สร้างขึ้น หรือ ใส่เมทาดาทาแยกจากสารสนเทศ โดยผ่านตัวแบบฟอร์มการกรอกเมทาดาทาของระบบอีกต่อหนึ่ง <p>ความสำคัญของเมทาดาทา <p>1. เพื่อการค้นหาสารสนเทศ เมทาดาทาที่ถูกกำหนดไว้จะเป็นตัวช่วยในการเข้าสารสนเทศได้ <p>2. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เว็บพอร์ทัลที่เชื่อมโยงไปยังสารสนเทศต่างๆ จะได้ประโยชน์โดยเฉพาะถ้าเว็บเหล่านั้น ถูกสร้างเป็นแบบไดนามิกเว็บจากเมทาดาทาที่เก็บในฐานข้อมูล โดยการใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือในการดึงและการปรับรูปแบบใหม่ (Reformat) ได้ <p>3. การใช้งานได้หลากหลายระบบ (Interoperability) ด้วยความแตกต่างทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ โครงสร้างข้อมูลและส่วนต่อประสาน การกำหนดใช้เมทาดาทา โปรโตคอลที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูล และ Crosswalk ระหว่างเมทาดาทา สามารถช่วยให้การสืบค้นข้ามระบบหรือทำให้ความแตกต่างดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรค โดย 2 แนวทาง ได้แก่ <p>3.1 การสืบค้นข้ามระบบ (Cross-system search) โดยมีโปรโตคอล Z39.50 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสืบค้นข้ามระบบ <p>3.2 การเก็บเกี่ยวเมทาดาทา (Metadata harvesting) Open Archives Initiative (OAI) OAI เสนอกลไกสำหรับเจ้าของสารสนเทศให้เปิดเผยเมทาดาทาที่ใช้ เพื่อให้ระบบสามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นและเข้าถึงข้อมูลได้ OAI เป็นการหาข้อมูลทั้งหมด จากนั้นแปลเมทาดาทาของเดิม (Native metadata) ไปเป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้กันโดยทั่วไป และนำออกเพื่อการเก็บเกี่ยว (harvesting) ตัวให้บริการคำค้นจะรวบรวมเมทาดาทาเข้าไปเก็บไว้ในดรรชนีส่วนกลาง (คลังเก็บคำค้นส่วนกลาง) เพื่อให้มีการสืบค้นข้ามแหล่งเก็บนี้ได้ <p>4. การบ่งชี้ดิจิทัล เค้าร่างเมทาดาทาส่วนใหญ่ มีองค์ประกอบที่เป็นเลขมาตรฐาน เพื่อเป็นการบ่งชี้เฉพาะถึงผลงานหรือสารสนเทศที่เมทาดาทานั้นอ้างถึง ที่อยู่หรือตำแหน่งของสารสนเทศดิจิทัลอาจถูกกำหนดด้วยชื่อแฟ้มข้อมูล ยูอาร์แอลหรือตัวบ่งชี้ถาวร การมีองค์ประกอบที่มีข้อมูลตัวนี้จะเป็นตัวชี้ไปยังสารสนเทศ เมทาดาทาสามารถถูกรวมไปกับการอธิบายตัวข้อมูลด้วย <p>5. การเก็บถาวรและการสงวนรักษา เมทาดาทาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้แน่ใจว่า สารสนเทศจะถูกสามารถเข้าใช้หรือเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบของการจัดเก็บถาวรและสงวนรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดตามเส้นทางของสารสนเทศ (แหล่งที่มา และประวัติการเปลี่นแปลง) เพื่อดูรายละเอียดของลักษณะทางกายภาพ และเพื่อที่จะแข่งขันหรือพยายามเลียนแบบเทคโนโลยีในอนาคต [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Metadata | เมตะดาตา [TU Subject Heading] |
Metadata | ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล หรืออธิบายข้อมูลหลัก [การจัดการความรู้] |