Somatic effect | ผลต่อร่างกาย, ผลกระทบต่อร่างกายของบุคคลที่ได้รับรังสี รวมถึงผลกระทบต่อเด็กหลังคลอดที่ได้รับรังสีขณะอยู่ในครรภ์มารดา, Example: [นิวเคลียร์] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] |
Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] |
ฉลากเขียว | ฉลากที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน [พลังงาน] |
Non rubber content | ปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่ยาง หมายถึง ปริมาณของแข็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้อยางที่มีอยู่ในน้ำยาง เช่น แมกนีเซียม ทองแดง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นต้น สามารถหาได้จากการนำเอาค่า DRC ไปหักออกจากค่า TSC ก็จะได้ค่า NRC ถ้าน้ำยางข้นชุดใดมีค่า NRC สูง ก็บ่งชี้ว่า น้ำยางชุดนั้นมีสารที่ไม่ใช่เนื้อยางมาก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความเสถียรของน้ำยาง [เทคโนโลยียาง] |
Food Intake, Influencing | ผลกระทบต่อการบริโภคอาหาร [การแพทย์] |
multi-stage sampling | การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา, การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตาเหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่ไม่มีกรอบตัวอย่าง หรือมีกรอบตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์ โดยการกำหนดคุณสมบัติของตัวอย่างตามลักษณะของตัวอย่างที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจ เช่น คุณสมบัติขอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
technology selection | การเลือกใช้เทคโนโลยี, การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการที่มีอยู่รอบตัวมนุษย์โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกโดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
irradiation | (อิเรดิเอ'เชิน) n. การฉายรังสี, การส่องสว่าง, ปริมาณรังสีที่กระทบต่อหน่วยพื้นที่, Syn. irradiating, beam |
smite | (สไมทฺ) { smote, smitten, /smote, smiting, smites } vt., vi. ตี (ตบ, ต่อย, ฟาด, ฟัน) อย่างแรง, ทำลายยับเยิน, ทำให้พ่ายแพ้, มีผลร้าย, มีผลกระทบต่อจิตใจ, ทำให้หลงรัก, ปรากฎแก่, -Id. (smite hip and thight โจมตีอย่างไร้ปรานีเอาชนะ), See also: smiter n. |
fiscal cliff | หน้าผาทางการคลัง (ใช้เรียกสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายปี 2012 เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยเหตุการณ์ที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ได้แก่ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีหลายๆมาตรการ และการเริ่มต้นของมาตรการการปรับลดงบประมาณของภาครัฐฯ) |
flow-on effect | (phrase) ผลกระทบต่อเนื่อง |
Hepatobiliary scintigraphy (HIDA) | เทคนิคการวินิจฉัยที่ภาพสองมิติของเนื้อเยื่อภายในร่างกายมีการผลิตผ่านการตรวจสอบของรังสีที่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีที่ได้รับการจัดการในร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับ, ตั้งอยู่ในหรือใกล้, ผลิตใน, หรือส่งผลกระทบต่อตับและน้ำดี, ท่อน้ำดี, และถุงน้ำดี |
Hypersensitivities | ความไวผิดปกติกับสารที่ไม่มักจะมีผลกระทบต่อร่างกาย (เช่นยา) |
oligopolistic | ลักษณะทางการตลาดแบบหนึ่งที่มีผู้ขายหรือผู้ให้บริการจำนวนน้อย ซึ่งทำให้การกระทำการใดๆของบริษัทผู้ให้บริการเพียงบริษัทเดียวอาจมีผลกระทบต่อราคาของสินค้าหรือบริการนั้นๆในท้องตลาด และอาจรวมถึงส่งผลกระทบถึงคู่แข่งด้วย ตัวอย่าง เช่นธุรกิจสายการบิน ในยุคแรกๆ |
Polydrug | การใช้ยาสองตัวหรือมากกว่าในการรวมกันเพื่อให้ผลเฉพาะ. ในหลายกรณียาที่ใช้เป็นตัวแรกหรือยาหลัก, กับยาเพิ่มเติมในส่วนผสมส่าเหล้า หรือใช้แทนสำหรับผลข้างเคียงของยาหลักและทำให้มีผลมากขึ้นกับผลกระทบต่อยา, หรืออาหารเสริมสำหรับยาหลักเมื่ออยู่ในระดับต่ำ |
Prostaglandins | ที่มีศักยภาพฮอร์โมนเช่นสารที่พบในหลายเนื้อเยื่อร่างกาย (และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำอสุจิ); ผลิตในการตอบสนองต่อการบาดเจ็บและอาจส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตและการเผาผลาญและกิจกรรมกล้ามเนื้อเรียบ |
spectrum | (n) ความคิด วิธีการซึ่งมีหลากหลายและสัมพันธ์หรือมีผลกระทบต่อกัน (ที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่นวิธีแก้ปัญหาคนไร้ที่อยู่อาศัย) |