กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ช่างกระไร | คำกล่าวติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาจะหาไหน พี่น้องพร้อมพรั่งช่างกระไร แต่จะยกมือไหว้ก็ไม่มี (สังข์ทอง), คำกล่าวแสดงความตื่นเต้น เช่น น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร นางในกรุงศรีไม่มีเทียม (ขุนช้างขุนแผน). |
กระใด | ว. กระไร, อะไร, ทำไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู (สมุทรโฆษ). |
กลอักษร | (กน-, กนละ-) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). |
กินนรเก็บบัว | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวังสวาทปลิดสวาทบำราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว. |
จ้าน | ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม (สังข์ทอง). |
ติงทุเลา | ก. ถ่วงเวลา, แย้งขอให้ระงับไว้ก่อน, เช่น แลอั้นคำค้านเสียมิได้ถามพญาณ แลอั้นคำท้วงติงทุเลาเสีย (สามดวง พระธรรมนูน), ครั้นว่าพี่มีคำติงทุเลา ช่างกระไรไม่เอาสักอย่าง (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
มิ ๒ | ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้ (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร. ๕). |
หา ๒ | ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา. |