กระเทียม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. |
กระเทียมโทน | น. กระเทียมที่มีหัวเดียว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน. |
กะทัง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Litsea monopetala (Roxb.) Pers. ในวงศ์ Lauraceae มีมากทางปักษ์ใต้ ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนได้. |
กะแท้ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cydnidae ลำตัวยาว ๔-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างรูปไข่ ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลแก่อมดำหรือดำ มักบินเข้าหาแสงไฟ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus (Dallas). |
กะเพรา | (-เพฺรา) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทำยาได้. |
การบูร | (การะบูน) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum camphora (L.) J. Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อน ซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทำยา. |
กุยช่าย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. |
แกง ๓ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Pentatomidae ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อน ยาว ๒.๕-๓.๐ เซนติเมตร เมื่อถูกตัวจะปล่อยของเหลว มีกลิ่นฉุน ชนิดที่พบทั่วไป เช่น ชนิด T essaratoma javamicaThunberg, T. papillosa (Drury) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบลิ้นจี่หรือลำไย, แมลงแคง ก็เรียก. |
ข่า ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Willd. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลำต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้. |
ขึ้นฉ่าย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apium graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร. |
คนทีสอ | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทำยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย. |
คลอรีน | (คฺลอ-) น. ธาตุลำดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสำลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอกจาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสำคัญ. |
งูเห่า | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุนเหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. |
จำปาดะ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้ |
ชี ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum sativum L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก. |
ชีฝรั่ง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eryngium foetidum L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบยาวรีขอบจัก กลิ่นฉุน ใช้แต่งกลิ่นอาหารและใช้เป็นผัก. |
เบญจมาศ | (เบ็นจะมาด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Chrysanthemum morifoliumRamat. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับนํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย. |
โบรมีน | น. ธาตุลำดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ °ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการถ่ายรูป. |
ฟอร์มาลดีไฮด์ | น. แก๊สชนิดหนึ่ง มีสูตร HCHO มีกลิ่นฉุนระคายเยื่อจมูกและเยื่อตา ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์นำไปทำฟอร์มาลิน พลาสติก สี เป็นต้น. |
มวน ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Hemiptera เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ เนื้อปีกครึ่งหน้าแข็งครึ่งหลังอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด เมื่อพับปีกจะแบนราบแนบไปตามลำตัวด้านหลัง ปากแบบเจาะดูด หลายชนิดปล่อยกลิ่นฉุน และเป็นศัตรูพืช พวกที่อยู่ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว [ Rhynchocoris humeralis (Thunberg) ] ทำลายผลส้ม, แมลงแกง [ Tessaratoma javanica (Thunberg) ] ทำลายผลลิ้นจี่และลำไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น มวนแดงฝ้าย [ Dysdercus cingulatus (Fabricius) ] ทำลายทุกส่วนของฝ้าย. |
มเหาษธ ๒ | (มะเหาสด) น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. |
มะแข่น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก มีกลิ่นฉุนจัด ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตำผสมเป็นเครื่องแกง, กำจัด พริกหอม มะข่วง ลูกระมาศ หมากข่วง หรือ หมากมาศ ก็เรียก. |
ว่านน้ำ | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในสกุล Acorus วงศ์ Araceae คือ A. calamus L., พายัพเรียก กะส้มชื่น และ A. gramineus Sol. ex Aition ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะ เหง้ามีกลิ่นฉุนแรง. |
ส้ม ๑ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยวหรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantiumL.) ส้มโอ [ C. maxima (Burm.)Merr. ] ส้มแก้ว (C. nobilisLour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulataBlanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง [ C. sinensis (L.) Osbeck ], ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า มักตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. |
สะระแหน่ | (-แหฺน่) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Mentha cordifolia Opiz ex Fresen. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้. |
สาบแร้งสาบกา | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Compositae ใบมีขน กลิ่นฉุน คือ ชนิด Ageratum conyzoides L. ดอกสีฟ้าอ่อน และชนิด Blumea aurita (L. f.) DC. ดอกสีขาว ต้นสูงกว่าชนิดแรก. |
หนาด | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera (L.) DC. ในวงศ์ Compositae ใบใหญ่มีขน กลิ่นฉุน ใช้ทำยาได้ เชื่อกันว่าผีกลัว, หนาดใหญ่ ก็เรียก. |
หอม ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอม หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียก หอมแดง. |
หูเสือ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดPlectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae ใบกลม แข็ง กรอบ มีขน กลิ่นฉุน กินได้, เนียมหูเสือ ก็เรียก. |
แห้วหมู | น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Cyperus rotundus L. ในวงศ์ Cyperaceae หัวมีกลิ่นฉุน ใช้ทำยาได้, หญ้าแห้วหมู ก็เรียก. |
โหระพา | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum basilicum L. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้. |
แอมโมเนีย | น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊สไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทำปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทำความเย็น. |
แอลกอฮอล์ | น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด ๗๘.๕ ํซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภทแป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทำละลาย และเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. |
โอโซน | น. แก๊สชนิดหนึ่ง สีนํ้าเงิน กลิ่นฉุน เป็นอัญรูปของธาตุออกซิเจน มีสูตร O3 ใช้ประโยชน์ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าเพื่อใช้เป็นนํ้าดื่ม ใช้ฟอกจางสีของสารอินทรีย์บางอย่างเช่นเส้นใยที่ใช้ทอผ้า. |
fruity | (ฟรูท'ที) adj. คล้ายผลไม้, มีกลิ่นรุนแรง, มีกลิ่นฉุน, หลานม |
funk | (ฟังคฺ) n. ความกลัว, อารมณ์หดหู่, อารมณ์เศร้าสลด., กลิ่นฉุน vt. ทำให้กลัว, หดถอย vi. หลบหลีก, See also: funker n. |
gingery | (จิน'จะรี) adj. คล้ายขิง, กลิ่นฉุน, เผ็ดอย่างออกรส, สีขิง (เหลืองอมน้ำตาลแดง) |
tang | (แทง) n., vt. (ทำให้) รสเข้มข้น, รสจัด, กลิ่นแรง, กลิ่นฉุน, ลักษณะเฉพาะ, ความหมาย, Syn. piquancy, bite |