กระปรอกว่าว | ดู กระแตไต่ไม้ ๒. |
กว้าว | (กฺว้าว) ดู ขว้าว. |
ชักว่าว | ก. ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปด้วยการดึงสายป่านให้ว่าวกินลมเป็นต้น. |
ตุ้มกว้าว | ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒. |
สักว่าว | ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น. |
กระแตไต่ไม้ ๒ | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู | ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. |
ขว้าว | (ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก. |
คว้า | กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลงแล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าคว้ากัน. |
ซุง ๓ | น. เชือกที่ยาวประมาณ ๓ เท่าของอกว่าว ผูกปลายทั้ง ๒ กับอกว่าวให้ห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวทรงตัวตรงเมื่อต้านลม. |
ตี | ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. |
ป่าน | เชือกที่ทำด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าว เรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็ก เรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยังไม่ได้ฟั่นเชือก เรียกว่า ป่านกลีบ |
ป่านคม | น. เส้นด้ายชักว่าวที่เอาผงแก้วผสมกาวหรือแป้งเปียกเป็นต้นทาเพื่อให้คม. |
วิ่งรอก | ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอกทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทำให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก |
วิ่งว่าว | ก. ชักว่าวขึ้นแล้วพาสายว่าววิ่งไปเพื่อให้ว่าวติดลมสูงขึ้น (ใช้แก่ว่าวตัวเล็ก ๆ ). |
สัก ๒ | ก. ทำให้ตึง, ทำให้แน่น, เช่น สักว่าว สักที่นอน. |
หง่าว | น. เรียกว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้น ว่า ว่าวหง่าว. |
หนาตา | ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ. |
อก ๑ | เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าว ว่า อกว่าว |