กระหนาบ | ก. ประกบเข้าให้แน่น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ, ติดชิดกันที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน (พากย์) |
คตินิยม | น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง. |
คู ๑ | น. ร่องนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อชักน้ำหรือเก็บนํ้าไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง. |
ด้วง ๑ | น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลำตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่บางใสพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ชัดเจน เช่น ด้วงแรด ในวงศ์ Scarabaeidae ด้วงดิน ในวงศ์ Carabidae ด้วงงวง ในวงศ์ Curculionidae ด้วงบางชนิดมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่น กว่าง ค่อม ตด ทับ แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงในอันดับอื่น ๆ, แมลงปีกแข็ง ก็เรียก. |
ตัว ๑ | ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. |
เถา | ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่างปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจำพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลำดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือสิ่งของในจำพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลำดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา |
เปล้า ๒ | (เปฺล้า) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียว แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันที่หน้าอกและช่วงไหล่ ซึ่งอาจมีสีม่วง นํ้าตาล เขียว ชมพู หรือเหลือง ทำรังเป็นรูปถ้วยง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ตามกิ่งก้านของต้นไม้ หากินเป็นฝูง กินผลไม้ เช่น เปล้าขาเหลือง [ Treron phoenicoptera (Latham) ] เปล้าคอสีม่วง [ T. vernans (Linn.) ], เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า. |
พวง ๑ | น. กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่อยู่ร่วมขั้วเดียวกันหรือผูกมัดไว้รวมกัน เช่น พวงองุ่น พวงดอกไม้ พวงลูกโป่ง |
พีระมิด | น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็นที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโกใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า รูปพีระมิด |
ฟัก ๑ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลใหญ่รูปกลมหรือรี เมื่อแก่ผิวแข็งมีคราบขาว กินได้ เมล็ดใช้ทำยา มีหลายพันธุ์ ต่างกันที่ลักษณะของผล, พันธุ์ผลเล็ก ผิวบางมีขน เรียก แฟง, พันธุ์ที่ผลมีรสขม ใช้ทำยาได้ เรียก ฟักขม. |
แมลงภู่ ๓ | ชื่อแมลงหลายชนิด รูปร่างคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุมลำตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาวออกมาคล้ายหนวด ขาหลัง (ขาคู่ที่ ๓) บริเวณส้นมีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษได้หลายครั้งทำให้เจ็บปวด มักอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ หรือรวม ๒-๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้ง ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes Drury และ ชนิด X. caeruleus Fabricius. |
ไร ๑ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Acarina มีขา ๘ ขา ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวเรียงกันไม่เลยโคนขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ ชนิด Dermanyssus gallinae (De Geer) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดที่อยู่ตามผิวหน้าคน ได้แก่ชนิด Demodex folliculorum (Simen) และชนิดที่ทำให้เกิดขี้เรื้อนเปียกในสุนัข คือ ชนิด D. canisLeydis ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Dermodicidae ชนิดที่ทำลายพืช เช่น ไรสนิม ชนิด Phyllocoptruta oleivora (Ashmead) ในวงศ์ Eriophyidae ทำลายผลส้ม ชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน เช่น ไรฝุ่น ชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (Trouessart) ในวงศ์ Pyroglyphidae. |
ละไม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Baccaurea motleyana (Müll. Arg.) Müll. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลและรสคล้ายมะไฟ ต่างกันที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงครอบ. |
ลูกขุน ณ ศาลา, ลูกขุนศาลา | น. คณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่บังคับบัญชาราชการแผ่นดิน มีตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เสนาบดี มาประชุมร่วมกันที่ศาลาลูกขุน. |
สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น | ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ. |
Sterile Insect Technique | เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน, เอสไอที, การควบคุมประชากรแมลงโดยปล่อยแมลงชนิดเดียวกันที่ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีไปในธรรมชาติ จำนวนมากต่อเนื่องกันหลายรุ่น เมื่อแมลงตัวเมียผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมันจะไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งทำให้ประชากรแมลงค่อยๆ ลดลง วิธีการนี้ ไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ และไม่มีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม [นิวเคลียร์] |
Equivalent | เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน / มีค่าเท่ากัน , เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน /มีค่าเท่ากัน ในระบบฐานข้อมูล Derwent ซึ่งสัมพันธ์กันแบบเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกันที่มีการยื่นจดที่สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
ASEAN-Japan Forum | การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน " [การทูต] |
Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
sterile insect technique | การควบคุมจำนวนแมลงด้วยแมลงที่เป็นหมัน, คือ วิธีการควบคุมประชากรแมลง โดยใช้แมลงชนิดเดียวกันที่เป็นหมันด้วยรังสี โดยมีหลักการคือ นำแมลงม ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีชนิดก่อไอออน แล้วปล่อยไปในธรรมชาติ แมลงตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมัน จะไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ การควบคุมแมลงวิธีนี้ จะต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันจำนวนมากหลายรุ่นต่อเนื่องกัน จนกว่าประชากรแมลงลดลงหรือหมดไป ข้อดีของวิธีการนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ยาฆ่าแมลง คือ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตร และไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ ประเทศไทยมีการใช้วิธีการนี้ควบคุมแมลงวันผลไม้ (Oriental fruit fly) ที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา [พลังงาน] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Antibodies, Cell-Mediated | ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์ [การแพทย์] |
Antibodies, Humoral | แอนติบอดีย์ไหลเวียน, ภูมิคุ้มกันที่มีในกระแสเลือด [การแพทย์] |
Craniopagus | แฝดติดกันที่ส่วนล่างหรือส่วนบนของลำตัว [การแพทย์] |
serum | ซีรัม, เซรุ่ม, ส่วนของน้ำเลือดที่แยกเอาสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวออกไปแล้ว เซรุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ต้องการใช้ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายโดยตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
active immunization | ภูมิคุ้มกันก่อเอง, ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ วัคซีนจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคชนิดที่ฉีดเข้าไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
passive immunization | ภูมิคุ้มกันรับมา, ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายไดัรับมาจากการฉีดเซรุ่ม ซึ่งมีแอนติบอดีอยู่ด้วย ด้วยวิธีนี้จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parallel lines | เส้นขนาน, เส้นตรงใด ๆ ในระนาบเดียวกันที่มีความชันเท่ากัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isotope | ไอโซโทป, ธาตุหนึ่งในกลุ่มของธาตุเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวลต่างกัน เช่น ดิวเทอเรียมเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
refraction | การหักเห, การที่คลื่นเปลี่ยนทิศหรือเปลี่ยนความเร็วการเคลื่อนที่เมื่อผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น เมื่อลำแสงผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกันที่อยู่ติดกันโดยไม่ตั้งฉากกับแนวรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง ลำแสงที่ผ่านตัวกลางทั้งสองชนิดจะไม่เป็นเส้นตรงเดียวกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
colony | กลุ่ม, กลุ่มของโพรทิสต์ชนิดเดียวกันที่อยู่รวมกัน เช่น กลุ่มแบคทีเรีย กลุ่มเชื้อรา เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Digital Versatile Disc( DVD) | แผ่นดีวีดี, มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายกับซีดี แตกต่างกันที่ขนาดความจุของดีวีดีมีความจุมากกว่าซีดีหลายเท่าและลักษณะของโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
worm | หนอนคอมพิวเตอร์, โปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเอง แล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือหยุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Immunity, Acquired | ภูมิคุ้มกันหลังเกิดโรค, ภูมิคุ้มกันโรคเกิดภายหลัง, ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน, ภูมิคุ้มกันที่ได้รับภายหลัง, ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง, ภูมิคุ้มกันโรคที่มีขึ้นในภายหลัง [การแพทย์] |
Immunity, Cell-Mediated | ภูมิคุ้มกันชนิดอาศัยเซลล์, ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์, ระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์, ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์เป็นสื่อ, ภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์, กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์, ภูมิต้านทานพึ่งเซลล์ [การแพทย์] |
Immunity, Cellular | ภูมิคุ้มกัน, เซลล์; ภูมิต้านทานทางด้านเซลล์; ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์เป็นสื่อ; ภูมิคุ้มกันจากเซลล์; ภูมิต้านทานชนิดผ่านเซลล์; ระบบความต้านทานที่นำโดยเซลล์ [การแพทย์] |
Immunity, Congenital | ภูมิคุ้มกันที่ได้รับโดยการถ่ายทอดจากแม่, ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด [การแพทย์] |
Immunity, Inherited | ภูมิคุ้มกันที่ได้มาแต่กำเนิด [การแพทย์] |
Immunity, Local | ภูมิคุ้มกันเฉพาะที่, ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ [การแพทย์] |
Immunity, Natural | ภูมิต้านทานโดยธรรมชาติ, ภูมิคุ้มกันโรคที่มีมาแต่กำเนิด, ภูมิต้านทานตามธรรมชาติ, ภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ, ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ, ภูมิคุ้มกันโรคเกิดโดยธรรมชาติ, ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ [การแพทย์] |
Immunopathology | อิมมูนโนพยาธิวิทยา, ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ, พยาธิวิทยาของภูมิคุ้มกัน, โรคที่เกิดจากผลของการตอบสนองของร่างกาย [การแพทย์] |
Ischiopagus | แฝดติดกันที่ส่วนล่างหรือส่วนบนของลำตัว [การแพทย์] |
absolute zero | (เคมีฟิสิคส์) อุณหภูมิต่ำสุดของสสาร, อุณหภูมิที่อนุภรคหยุดอยู่กันที่หรือจุดที่อยู่ใต้องศา Celsius 273 องศา lowest possible) |
afro-american | (แอฟโรอะเม' ริกัน) adj. เกี่ยวกับขาวอเมริกันที่มีบรรพบุรุษจากอาฟริกา, เกี่ยวกับชาวอเมริกันผิวดำ. -n. ชาวอเมริกันที่เป็นนิโกร., Syn. Aframerican |
allomorph | (แอล' โลมอร์ฟ) n. สารประกอบเคมีชนิดเดียวกันที่มีรูปแบบต่างกัน. -allomorphic adj. |
arris | (แอร์'ริส) n. สันคม, สันหรือแนวที่เกิดจากสองผิวหน้าพบกันที่มุมนอก, Syn. piend |
bitmapped font | แบบอักษรบิตแมปหมายถึง แบบอักษรที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ รวมตัวกันที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) เมื่อขยายขนาดให้ใหญ่ จะเห็นรอยหยัก ๆ ไม่เรียบสวย กับทั้งยังเปลืองที่เก็บมาก ดู bitmapped image ประกอบ |
concurrent | (คันเคอ'เรินทฺ) adj. ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือร่วมกัน, พร้อมเพรียง, ซึ่งเห็นด้วย, ซึ่งมีอำนาจเท่ากัน, ซึ่งมีจุดร่วม, ซึ่งตัดกันที่จุดเดียวกัน. n. ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, สิ่งสนับสนุน, คู่แข่ง, Syn. coexistent, compatible |
convergence | (คันเวอ'เจินซฺ, -ซี) n. การบรรจบกันที่จุดหนึ่งหรือเส้นหนึ่ง, ภาวะหรือลักษณะที่บรรจบกัน, Syn. confluence |
convergency | (คันเวอ'เจินซฺ, -ซี) n. การบรรจบกันที่จุดหนึ่งหรือเส้นหนึ่ง, ภาวะหรือลักษณะที่บรรจบกัน, Syn. confluence |
convergent | (คันเวอ'เจินทฺ) adj. ซึ่งบรรจบกันที่จุดหนึ่งหรือเส้นหนึ่ง, ซึ่งเบนเข้าหากัน |
conversable | (คันเวอ'ซะเบิล) adj. น่าพูดจาได้, ซึ่งรวมกันที่จุดหรือเส้นเดียวกันได้, เกี่ยวกับการสนทนาที่เหมาะสม., See also: conversableness n. ดูconversable |
deuce | (ดูซฺ) n. ไพ่ 2 แต้ม, เต๋า2แต้ม, คะแนนเสมอกันที่ชนะได้ด้วยการทำคะแนนนำติดต่อกัน2เกม, ปีศาจ, ผี, ผีสาง adj., Syn. devil, dickens |
dossier | (ดอส'เซียร์) n. เอกสารเรื่องราวเดียวกันที่เก็บรวมกัน, เรื่องเดิม, แผงเอกสาร -pl. dossiers |
focus | (โฟ'คัส) { focused, focusing, focuses } n.โฟกัส, จุดรวมแสง, จุดความสนใจ, จุดศูนย์รวม, จุดแรกเริ่มของโรค. vt. ทำให้รวมกันที่จุดหนึ่ง, ทำให้รวมแสง, เพ่งความคิด. vi. รวมกันที่จุดหนึ่ง, รวมแสง, Syn. hub, center, eye, heart -pl. focuses, foci |
homologue | (ฮอมมะลอก') n. ส่วนที่คล้ายคลึงกัน, สารประกอบที่มีแบบทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่ส่วนประกอบบางอย่าง, อวัยวะหรือส่วนที่คล้ายคลึงกัน |
isotope | (ไอ'โซโทพฺ) n. ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่น้ำหนักอะตอมและประจุไฟฟ้าisotopeหลายชนิดที่มีกัมมันตภาพรังสี |
murmurous | (เมอ'เมอเริส) adj. ซึ่งบ่นอุบอิบ, เต็มไปด้วยเสียงต่ำต่อเนื่องกันที่ไม่ชัด |
palmette | n. รูปกลุ่มใบจากจุดเดียวกันที่คล้ายฝ่ามือ |
passive immunity | n. ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดแอนตี้บอดี้ จากสิ่งมีชีวิตอื่นหรือ (ในทารก) จากแอนตี้บอดี้ของมารดาผ่านรก |
punster | (พัน'สเทอะ) n. คนที่ใช้คำคล้ายกันที่มีความหมายต่างกัน, คนที่ใช้คำสองนัย |
recognizance | (ริคอก'นิเซินซฺ, -คอน'นิเซินซฺ) n. การค้ำประกัน, หนังสือค้ำประกัน, เงินประกันที่มอบให้แก่ศาล, เงินประกัน, เงินค้ำประกัน, หลักฐาน, เครื่องแสดง, เหรียญหรือเข็มประดับ |
sector | (เซค'เทอะ) n. รูปตัด, รูปตัดที่อยู่ระหว่างเส้นรัศมี2เส้นกับส่วนของเส้นรอบวง, อุปกรณ์คณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยไม้บรรทัด2อันที่ติดกันที่ปลายหนึ่งและมีขีดแบ่งมาตราส่วน vt. แบ่งออกเป็นส่วน ๆ เซ็กเตอร์วิธีการจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูลลงบนจานบันทึกนั้น จะต้องมีการกำหนดให้เป็นวง เรียกว่า แทร็ก (track) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับลู่วิ่งวนเป็นวงกลม แล้วแบ่งแต่ละแทร็กนี้ออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า "ส่วนวง" หรือที่ยังนิยมเรียกทับศัพท์กันว่า "เซ็กเตอร์" ก็มีมาก แต่ละส่วนวงนี้จะเก็บข้อมูลได้ 1 ระเบียน (record) ไม่ว่าส่วนวงจะกว้างหรือแคบ (ด้านในที่ติดกับจุดศูนย์กลางจะแคบกว่าด้านนอก), See also: sectoral adj., Syn. class, ca |
type-ahead | พิมพ์ล่วงหน้าหมายถึง บัฟเฟอร์ (buffer) ส่วนหนึ่งในหน่วยความจำ ที่ทำให้สามารถสั่งให้แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ล่วงหน้า (พิมพ์ลงบนกระดาษก่อนที่จะแสดงผลนั้นบนจอภาพ) อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นกับหน่วยความจำด้วยว่า การกันที่เป็นบัฟเฟอร์ไว้ให้นั้น ได้มีการกำหนดไว้ให้มากน้อยเพียงใด โดยปกติ ระบบดอสจะกันไว้เพียง 15 ตัวอักษร ฉะนั้นพอพิมพ์ได้ 15 ตัวก็จะหยุด ดังนี้เป็นต้น |
walkie-talkie | (วอล์ค'คีทอ'คี) n. เครื่องส่งและเครื่องรับวิทยุในเครื่องเดียวกันที่แบกหรือถือได้โดยคนเพียงคนเดียว |