Chloroprene rubber | ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Incorporation | ขั้นตอนหนึ่งของกลไกการผสมสารตัวเติมเข้าไปในยางแห้ง โดยจะเกิดจากการที่สารตัวเติมถูกรวมเข้าไปในเนื้อยางซึ่งเกิดผ่านกลไก 2 แบบ ได้แก่ กลไกที่หนึ่ง แรงเฉือนจะทำให้ยางเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งทำให้ยางมีพื้นที่สัมผัสกับสารตัวเติมได้มากขึ้น เมื่อแรงเฉือนหมดไป ยางจะคลายตัวกลับคืนสู่สภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโอบล้อมเอาสาร ตัวเติมไว้ภายในยาง และกลไกที่สอง ยางชิ้นใหญ่ที่ได้รับแรงเฉือนสูงๆ จะเกิดการฉีกขาดจนได้ยางที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหล่านี้จะเข้าไปโอบล้อมสารตัวเติมไว้ภายในยางเช่นกัน [เทคโนโลยียาง] |
Isoprene rubber or Polyisoprene | ยางพอลิไอโซพรีนหรือยาง IR เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมาก และสามารถใช้แทนยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติแล้ว ยาง IR มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อแรงดึง และความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย เนื่องจากยาง IR มีสัดส่วนของโครงสร้างแบบ cis- ที่ต่ำกว่ายางธรรมชาติจึงมีแนวโน้มที่จะตกผลึกได้น้อยกว่า แต่มีข้อดีคือ ยางมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และมีสีขาวสวย [เทคโนโลยียาง] |
Natural rubber | ยางธรรมชาติมีโครงสร้างโมเลกุลเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene)ได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis เมื่อผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันแล้วให้สมบัติเชิงกลดีมาก แข็งแรง ทนต่อการขัดถูและการฉีกขาดดีเยี่ยม แต่ไม่ทนน้ำมันและการเกิดออกซิเดชัน [เทคโนโลยียาง] |
Polyurethane rubber | ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |
Apley Test and Sign | การทดสอบเพื่อแยกภาวะเอ็นในข้อเข่าขาดจากการฉีก [การแพทย์] |
Central Perforation | การฉีกขาดตรงกลางเยื่อแก้วหู [การแพทย์] |
Episiotomy | การตัดฝีเย็บ, การฉีกขาดของช่องทางคลอดเกิดที่รอยตัด [การแพทย์] |
Fracturing, Manual | การฉีกหรือหักตัวอย่าง [การแพทย์] |
plasticity | สภาพพลาสติก, สมบัติของวัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อแรงหยุดกระทำ วัสดุนั้นจะเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างถาวร โดยผิววัสดุไม่มีการฉีกขาดหรือแตกหัก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Injuries | การบาดเจ็บ, บาดแผล, การฉีกขาด, บาดเจ็บ, ภยันตราย [การแพทย์] |
Laceration | การฉีกขาด, ฉีกขาด [การแพทย์] |
Laceration, Trap-Door | การฉีกขาดเป็นปากฉลาม [การแพทย์] |
Lesions, Bankart | พยาธิสภาพของข้อไหล่ที่มีการฉีกขาดของขอบเบ้าไหล่ [การแพทย์] |
Ligaments, Torn | การฉีกขาด(ของเอ็น) [การแพทย์] |
Mallory-Weiss Syndrome | แมลลอรี่-ไวสส์, กลุ่มอาการ; กลุ่มอาการมัลลอรีย์-ไวสส์; กลุ่มอาการมัลลอรี-ไวส์; การฉีกขาดของหลอดอาหารส่วนกลางจากการอาเจียน [การแพทย์] |
Meniscus, Bucket-Handle Tear of | การฉีกขาดของแผ่นกระดูกอ่อนรูปเคียวในข้อเข่าคล้า [การแพทย์] |