The Most Admired Knowledge Enterprises | องค์กรที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ที่ดีเลิศทั่วโลก [การจัดการความรู้] |
Potential exposure | การรับรังสีไม่คาดหมาย, การรับรังสีเชิงศักย์, การรับรังสีที่ไม่ได้คาดไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุของต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือชำรุดเสียหาย หรือเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงาน การรับรังสีนี้ สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดแนวทางป้องกัน เพื่อลดโอกาสการรับรังสี [นิวเคลียร์] |
Normal exposure | การรับรังสีตามปกติ, การรับรังสีที่คาดไว้จากการดำเนินงานตามสภาวะปกติ ในโรงงานหรือกิจกรรมทางนิวเคลียร์ รวมถึงความผิดปกติเล็กน้อยที่สามารถควบคุมได้ระหว่างการดำเนินงาน [นิวเคลียร์] |
Cost of operation | ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน [TU Subject Heading] |
Sustainable development reporting | การรายงานการดำเนินงานการพัฒนาแบบยั่งยืน [TU Subject Heading] |
ASEAN Free Trade Area Council | คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง เพื่อหารือและติดตามการดำเนินงาน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปกติจะจัดขึ้นประมาณปีละครั้ง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Investment Area Council | คณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน " เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านการส่งเสริมการลงทุน เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับการดำเนินงานจัดตั้งเขตการลงทุน อาเซียน ปกติมีการประชุมปีละครั้ง " [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย " [การทูต] |
ASEAN Standing Committee | คณะกรรมการประจำอาเซียน " ประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของทุกประเทศสมาชิก มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล ติดตามการดำเนินงานของกลไกและกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ปกติจะประชุมปีละ 6 ครั้ง เป็นการประชุมในนามของ รัฐมนตรีต่างประเทศ ในช่วงกลางระหว่างการประชุมประจำปีของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน " [การทูต] |
Coordinating Committee on the Implementation of the CEPT Scheme for AFTA | คณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามพันธกรณีภายใต้ CEPT ของ AFTA เป็นกรอบการหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการคลัง เพื่อ ติดตามและประสานงานการดำเนินการตามพันธกรณีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากัน ของเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งปกติจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง [การทูต] |
ASEAN Coordinating Committee on Investment | คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุนของอาเซียน " จัดตั้งขึ้นจากความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) โดยเป็นการประชุมระหว่างรองหัวหน้าหน่วยงานด้านการส่งเสริมการลงทุน เพื่อดูแลและประสานการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วย เขตการลงทุนอาเซียน " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
The Netherlands Organization for International Cooperation in Higher Education | องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการอุดมศึกษา แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์กรผู้บริหารการจัดการแผนการดำเนินงานด้านทุน ของเนเธอร์แลนด์ (NFP) [การทูต] |
New Zealand's International Aid & Development Agencies | หน่วยงานความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของนิวซีแลนด์ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทน NZODA (New Zealand?s Official Development Assistance Program) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยเป็นหน่วยงานด้านนโนยายและปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้าน การพัฒนา ลักษณะการดำเนินงานเป็นอิสระ แต่ยังขึ้นตรงต่อกระทรวงการต่างประเทศและการค้า นิวซีแลนด์ มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาขั้นมูลฐาน และเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกเป็นลำดับแรก [การทูต] |
Subcommittee on Neighbouring Countries Economic Development Cooperation | คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Current operating performance | งบกำไรขาดทุน, วิธีแสดงผลการดำเนินงาน [การบัญชี] |
Operating cycle | วัฏจักรวงจรการดำเนินงาน [การบัญชี] |
Operating expense | ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน [การบัญชี] |
Operational audit | การตรวจสอบการดำเนินงาน [การบัญชี] |
Cost Analysis | งบประมาณการดำเนินงาน [การแพทย์] |
Costs, Running | ค่าใช้จ่ายขณะใช้งานเครื่อง, ราคาการดำเนินงานประจำ [การแพทย์] |
สุขภาพจิตกลุ่มพิเศษ | การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคนที่มีความเฉพาะตามสถานะหรือบทบาท, Example: ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เอดส์ มะเร็ง เบาหวาน หรือ ผู้พิการ ผู้ต้องขัง และผู้ประสบภัย เป็นต้น ซึ่งจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการดำเนินงาน อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านั้นในการปรับตัว ด้วย แน่นอนว่าจะต้องดำเนินงานกับกลุ่มผู้ที [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตตามพื้นที่พิเศษ | สุขภาพจิตตามพื้นที่พิเศษ, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในสถานที่ที่มีความเฉพาะ อาทิเช่น สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฯ เรือนจำ/ราชทัณฑ์ สถานสงเคราะห์ ศาลครอบครัว ศาลไกล่เกลี่ย รวมถึงพื้นที่เสียงภัย ประสบภัยพิบัติ หรือประสบเหตุจากการสู้รบ เป็นต้น ซึ่งสถานที่นั้นมีกลุ่มคนท [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตสถานบริการสาธารณสุข | สุขภาพจิตสถานบริการสาธารณสุข, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นสถานบริการสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลหรือศูนย์สาธารณสุขในหน่วยงานอื่นนอกจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินง [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตสถานที่ทำงาน | สุขภาพจิตสถานที่ทำงาน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สถานที่ทำงาน/สถานประกอบการ ทั้งการทำงานในโรงงาน การทำงานในออฟฟิช การทำงานในแคมป์ก่อสร้าง หรือสถานที่ดำเนินการรูปแบบอื่น เช่น ห้าง ร้านค้า ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินงานและแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคน [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตสถานศึกษา | สุขภาพจิตสถานศึกษา, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สถานศึกษาทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายที่จะดำเนินงานและแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคน นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เด็ก นักเรียน นักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นต้น [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตสังคม | สุขภาพจิตสังคม, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่สังคมภาพรวมหรือสังคมของกลุ่มคน (สังคมกลุ่มใหญ่) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายหรือแตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเรียน แรงงาน วัยเกษียณ กลุ่มพนักงาน สื่อมวลชน เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตชุมชน | สุขภาพจิตชุมชน, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ชุมชน (สังคมเล็ก ๆ) ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน กลุ [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตครอบครัว | สุขภาพจิตครอบครัว, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน โดยเน้นที่ครอบครัว ซึ่งมีกลุ่มคนหลากหลายวัยที่จะดำเนินงาน แตกต่างตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ ลูกหลาน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ปู่ยาตายาย เป็น [สุขภาพจิต] |
สุขภาพจิตระดับบุคคล | สุขภาพจิตระดับบุคคล, การดำเนินงานสุขภาพจิตทุก ๆ มิติงาน ในกลุ่มคน ทุกระดับ โดยส่วนใหญ่จะเน้นตามวัย ตามสถานะหรือบทบาทของกลุ่มคนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น วัยเด็ก เยาวชน วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ วัยชรา หรือ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ แรงงาน ผู้ต้องขัง เป็นต้น ซึ่งจะ [สุขภาพจิต] |
บริหารงานสุขภาพจิต | บริหารงานสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานในแง่การบริหารงานสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุข และเครือข่ายที่กระทำต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยอาจสอดแทรกในการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช และการฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิต เพื่อให้บรรลุวัถุประ [สุขภาพจิต] |
ฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิต | ฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเข้ามามีบทบาทใน การเยียวยาจิตใจหรือเสริมศักยภาพที่เสียไปให้มีเพิ่มเท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม ด้วยหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมตามวิชาชีพ เพื่อให้ผู้มีเคยเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก ได้เห [สุขภาพจิต] |
บำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช | บำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการให้ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเข้ามามีบทบาทในการ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชด้วยหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติที่ เหมาะสมตามวิชาชีพ เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก หรือผู้ป่วยจิตเวชมีอาการทุเลา หรือหายจากปัญหาหรือโรคที่ท [สุขภาพจิต] |
ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต | ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการเสริมทักษะและแนวทางปกป้องมิให้ผู้ที่มีความ เสี่ยงต่อสุขภาพจิตเสียได้ง่าย สามารถรับมือปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน ให้ผ่านพ้นไปได้ หรือให้แนวทางแก้ไขสิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตด้วย โดยการดำเนินงานนั้นต้อ [สุขภาพจิต] |
ส่งเสริมสุขภาพจิต | ส่งเสริมสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีหรือ กลุ่มคนทั่วไปให้มีอยู่อย่างสมำเสมอเพื่อเตรียมพร้อมรับมือปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการดำเนินงานนี้มิได้กระทำเพียงผู้ดำเนินงานสุขภาพจิตเท่านั้น หากแต่ยังมีเครือข่ายสุขภาพจิต [สุขภาพจิต] |
มิติงานสุขภาพจิต | มิติงานสุขภาพจิต, มุมมองการดำเนินงานสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุขที่กระทำต่อกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช และการฟื้นฟูสมรรถภาพสุขภาพจิต ซึ่งอาจแตกต่างจากม [สุขภาพจิต] |
flow line | ทิศทาง, ทิศทางขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งจะปฏิบัติต่อเนื่องกันตามทิศทางของลูกศร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
resource | ทรัพยากรทางเทคโนโลยี, ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการงานของระบบเทคโนโลยี ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการดำเนินงานก็ได้ ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ คน ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ พลังงาน ทุน และเวลา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |