กิโลบิต | (n) kilobit, See also: 1,024 bits, Example: ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยระบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ บนคู่สาย ISDN เพียง 1 คู่สาย ด้วยความเร็วตั้งแต่ 64 กิโลบิต/วินาที ถึง 128 กิโลบิต/วินาที, Thai Definition: จำนวน 1, 024 บิต, Notes: (อังกฤษ) |
กิโลมกะ | (n) fascia, Syn. พังผืด, Thai Definition: เยื่อเหนียวที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกัน, Notes: (บาลี) |
กิโลกรัม | (clas) kilogram, Syn. กก., กิโล, โล, Example: ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองให้ผลิตผลประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อไร่, Thai Definition: ชื่อมาตราชั่งน้ำหนัก เท่ากับ 1, 000 กรัม, Notes: (ฝรั่งเศส) |
กิโลลิตร | (n) kilolitre, See also: kiloliter, Syn. กล., Example: คลังเคมีประกอบด้วยถังเคมีรวมทั้งสิ้น 34 ใบ ความจุ 21, 300 กิโลลิตร, Thai Definition: ชื่อมาตราตวง เท่ากับ 1, 000 ลิตร หรือ 1 ลูกบาศก์เมตร, Notes: (ฝรั่งเศส) |
กิโลเมตร | (n) kilometre, See also: kilometer, Syn. กิโล, กม., Example: ขีปนาวุธแบบโทมาฮอว์กที่มีรัศมีปฏิบัติการระยะ 2, 400 กิโลเมตรแสดงความแม่นยำมาแล้วช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย, Thai Definition: ชื่อมาตราวัด เท่ากับ 1, 000 เมตร, Notes: (ฝรั่งเศส) |
กิโลไบต์ | (n) Kilobyte, See also: Kbyte, Syn. เคไบต์, ขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ |
กิโลไบต์ | (n) kilobyte, See also: 1,024 bytes, Example: ดอสที่ยืดได้นี้สามารถใช้หน่วยความจำได้มากกว่า 640 กิโลไบต์, Thai Definition: จำนวน 1, 024 ไบต์, Notes: (อังกฤษ) |
กิโลวัตต์ | (n) kilowatt, Example: หลอดสูญญากาศ 18, 000 หลอด กินกำลังไฟฟ้า 150 กิโลวัตต์, Thai Definition: มาตราวัดกำลังไฟฟ้า เท่ากับ 1, 000 วัตต์, Notes: (อังกฤษ) |
กิโลไซเกิล | (clas) kilocycle, Syn. กิโลเฮิรตซ์, Example: วงจรนี้ทำงานด้วยสัญญาณความถี่ขนาด 5 กิโลไซเกิล, Thai Definition: หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ หรือ คลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ 1, 000 ไซเกิลต่อวินาที, Notes: (อังกฤษ) |
กิโลเฮิรตซ์ | (n) kilohertz, Example: การขยายช่วงความถี่การใช้งานของระบบสื่อสารไร้สายเปลี่ยนไปเป็นย่านความถี่ 120 กิโลเฮิร์ตซ์, Thai Definition: หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz 1 กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ 1, 000 เฮิร์ตซ์ หรือเท่ากับ 1, 000 ไซเกิลต่อวินาที, Notes: (อังกฤษ) |
ตารางกิโลเมตร | (clas) square kilometre, See also: square kilometer, Example: ข้อสอบข้อหนึ่งถามว่า ประเทศไทยมีพื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร, Thai Definition: ลักษณนามของมาตราวัดที่มีพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับ 1, 000 เมตร |
กิโล, กิโล- | เป็นคำประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. |
กิโล, กิโล- | น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง |
กิโล, กิโล- | คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร. |
กิโลกรัม | น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนัก เท่ากับ ๑, ๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล หรือ โล. |
กิโลไซเกิล | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. |
กิโลเมตร | น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑, ๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล. |
กิโลลิตร | น. ชื่อมาตราตวง เท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลิตร หรือ ๑ ลูกบาศก์เมตร, อักษรย่อว่า กล. |
กิโลเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ เฮิรตซ์ หรือเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. |
กิโลมกะ | (-มะกะ) น. พังผืด. |
กรัม | (กฺรำ) น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, อักษรย่อว่า ก. |
เกวียนหลวง | น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตราเท่ากับ ๒, ๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
ขีด | เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัม ว่า ขีดหนึ่ง. |
คลื่นปานกลาง | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลาง ตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓, ๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์). |
คลื่นยาว | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่า ตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์. |
คลื่นแฮรตเซียน | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่างสิบกิโลไซเกิล ต่อวินาที และสามล้านเมกะไซเกิลต่อวินาที. |
ความถี่วิทยุ | น. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐, ๐๐๐ ถึง ๓๐๐, ๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์. |
เฆี่ยน | เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด. |
ชั่ง | ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น เช่น ชั่งเนื้อหมูให้สักครึ่งกิโลกรัม เมื่อเช้าชั่งน้ำหนัก ลดไป ๒ กิโลกรัม. |
ไซโคลน | (-โคฺลน) น. ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
ตัน ๒ | น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่งเท่ากับนํ้าหนัก ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒.ตันระวางเรือ ถ้าคำนวณระวางบรรทุกสินค้าและห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคำนวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคำนวณนํ้าหนักทั้งลำเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตันระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑, ๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
ไต้ฝุ่น | น. ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
ทอร์นาโด | น. ชื่อพายุประจำถิ่นชนิดหนึ่ง มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
นอต ๑ | น. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่าเท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต. |
นิวตรอน | น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิด ยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
เนปจูน | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔, ๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘, ๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗, ๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
ปีแสง | น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกำหนดว่าระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร. |
โปรตอน | (โปฺร-) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าบวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
พฤหัสบดี | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒, ๘๐๐ กิโลเมตร |
พลูโต | (พฺลู-) น. ชื่อดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕, ๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒, ๕๘๐ ถึง ๓, ๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงจรของดาวเนปจูน, ดาวยม ก็เรียก. |
พายุโซนร้อน | น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณทะเลหรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลมรอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. |
พายุไซโคลน | น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
พายุดีเปรสชัน | น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ทำให้ฝนตกปานกลางถึงตกหนัก เกิดขึ้นในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. |
พายุไต้ฝุ่น | น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
พายุทอร์นาโด | น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
พุธ | น. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔, ๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศและมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก |
มฤตยู | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวยูเรนัส ก็เรียก. |
ม่านลาย | น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก. |
เมตริกตัน | น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. |
ไมล์ | น. ชื่อมาตราวัดของอังกฤษ มีกำหนด ๑ ไมล์ เท่ากับ ๔๐ เส้น หรือ ๑.๖๐๙ กิโลเมตร. |
ยม ๒, ยม- | ชื่อดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕, ๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒, ๕๘๐ ถึง ๓, ๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. |
ยาว | ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน. |
ยูเรนัส | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวมฤตยู ก็เรียก. |
แยก | น. ทางที่แตกออกไปจากทางใหญ่ เช่น หลักกิโลเมตรที่ ๑๖ มีแยกไปอำเภอเมืองฯ, จุดที่ทางแตกออกไป เช่น สามแยก สี่แยก แยกหัวลำโพง. |
ลี้ ๒ | น. มาตราวัดระยะทางของจีน ๑ ลี้ ยาวประมาณครึ่งกิโลเมตร. |
โลก, โลก- | ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒, ๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒, ๗๑๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐, ๙๐๓, ๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. |
วิ่งทน | ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า. |
วิ่งมาราธอน | ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งทน ก็ว่า. |
Atomic Mass Unit | หน่วยมวลอะตอม, หน่วยของมวล โดยหนึ่งหน่วยมีค่าเท่ากับ 1/12 ของมวลหนึ่งอะตอมของคาร์บอน-12 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.66033 10–27 กิโลกรัม หน่วยนี้ใช้สำหรับอะตอมและโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
TNT equivalent | สมมูลทีเอ็นที, การวัดพลังงานที่ปลดปล่อยจากระเบิดนิวเคลียร์ โดยเทียบเป็นน้ำหนักของระเบิดทีเอ็นที (TNT, trinitrotoluene เป็นวัตถุระเบิดชนิดเคมี) ซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากัน มีหน่วยเป็นกิโลตันหรือเมกะตันของทีเอ็นที [นิวเคลียร์] |
Specific power | กำลังจำเพาะ, กำลังที่ผลิตได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต่อหน่วยมวลของเชื้อเพลิง เช่น กิโลวัตต์ของความร้อนต่อกิโลกรัมของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, Example: [นิวเคลียร์] |
Radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์เพื่อลดจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ เช่น แบคทีเรีย รา อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น เช่น ปลาสด สตรอว์เบอร์รี่ เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส (ดู food irradiation ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา อี.โคไล เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง เนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอไรซ์ <br>(ดู food irradiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Radiation disinfestation | การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Radappertization | การทำปลอดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือ จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เพื่อให้อาหารนั้นเก็บรักษาได้นานหลายเดือนหรือเป็นปีที่อุณหภูมิห้อง อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ (ดู food irradiation ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Neutron generator | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุ เช่น ดิวเทอรอน ให้มีพลังงานระหว่าง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วปล่อยให้ชนกับเป้าบางๆ ที่เหมาะสม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจะให้นิวตรอนที่มีพลังงานได้ถึง 17.59 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
ไต้ฝุ่น | ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต หรือ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ใต้ฝุ่น [คำที่มักเขียนผิด] |
tritium | ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้น, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีเลขมวลเท่ากับ 3 และครึ่งชีวิตเท่ากับ 12.32 ปี ทริเทียมสลายให้อนุภาคบีตาพลังงาน 18 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ใช้เป็นสารกัมมันตรังสีตามรอยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม (ดู hydrogen, H และ deuterium, $^2$H, D ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Relative Biological Effect | ผลทางชีววิทยาสัมพัทธ์, การเปรียบเทียบปริมาณรังสีของรังสีชนิดหนึ่งกับรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60 ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน $ RBE = \frac{ ปริมาณรังสีจากรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 }{ ปริมาณรังสีจากรังสีชนิดอื่น } $ [นิวเคลียร์] |
gray | หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน, หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 เกรย์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ต่อกิโลกรัมของมวลสาร [นิวเคลียร์] |
Joint Development Area | พื้นที่พัฒนาร่วม " หมายถึง พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแปรปัญหาเขตทับซ้อนในไหล่ทวีป ซึ่งมีพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม โดยการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมาใช้และแบ่งปันผล ประโยชน์ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในลักษณะ 50 : 50 ซึ่งนับว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลสำหรับประเทศ อื่น ๆ " [การทูต] |
neutron generato | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
radappertization | การทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน] |
radiation disinfestation | การควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตผลการเกษตร ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน เพื่อกำจัด หรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหารหรือผลิตผลการเกษตร และจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับเข้ามาทำลายของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหาร หรือผลิตผลการเกษตรที่ฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ [พลังงาน] |
radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน] |
radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลาอี.โคไล ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง และเนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอร์ไรซ์ [พลังงาน] |
radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อลดแบคทีเรีย หรือป้องกันการเจริญเติบโตของรา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อลดจุลินทรีย์ ได้แก่ ปลาสด เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส และสตรอเบอรี [พลังงาน] |
Block rubber | ยางแท่งเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพให้ได้ตรงตาม มาตรฐานที่กำหนด โดยในการผลิตจะนำยางมาทำให้เป็นก้อนเล็กๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการชำระล้างสิ่งสกปรกและง่ายต่อการทำให้แห้งด้วยการอบ และหลังจากอบยางให้แห้งด้วยอากาศร้อนแล้วก็จะนำยางแห้งที่เป็นก้อนเล็กๆ เหล่านี้ไปอัดให้เป็นแท่งมาตรฐาน 330x670x170 มิลลิเมตร มีน้ำหนักประมาณ 33.33 กิโลกรัม การจัดชั้นของยางแท่งจะพิจารณาจากปริมาณสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในยางเป็นสำคัญ นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปริมาณเถ้า ดัชนีความอ่อนตัว ฯลฯ ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานยางแท่ง เรียกว่า Standard Thai Rubber (STR) [เทคโนโลยียาง] |
Internal mixer | เครื่องผสมยางระบบปิดเป็นเครื่องผสมยางที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เครื่องผสมยางระบบปิดมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนได้แก่ ห้องผสม (chamber) ตัวบดผสม (rotor) แท่งกด (ram) และระบบหล่อเย็น (cooling system) เครื่องผสมระบบปิดให้ประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการผสมมากกว่าการใช้ Two-roll mill เพราะสารเคมีไม่ฟุ้งกระจายระหว่างการผสม ลดการสูญเสียสารเคมีขณะผสม และลดการผิดพลาดเนื่องจากการใช้แรงงานคนในการผสมสามารถผสมยางกับสารเคมีได้ ในปริมาณสูง เช่น 50-100 กิโลกรัม [เทคโนโลยียาง] |
kilowatt-hour | กิโลวัตต์-ชั่วโมง, หน่วยวัดความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เรียกโดยทั่วไปว่าหน่วย(unit) ใช้สัญลักษณ์ kW-hr 1 kW-hr คือกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ที่ใช้ในเวลา 1 ชั่วโมง เช่น เตารีดไฟฟ้า ขนาด 2 กิโลวัตต์ใช้เวลา 3 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 6 กิโลวัตต์-ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
specific heat capacity | ความจุความร้อนจำเพาะ, ความจุความร้อนจำเพาะของสารใด ๆ คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้สารนั้น 1 หน่วยมวล มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา มีหน่วยเป็นจูล/กิโลกรัม/เคลวิน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of vapourisation | ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวเป็นแก๊สหรือไอ เช่น ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน้ำมีค่าเท่ากับ 2, 256 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 100 ํC ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
latent heat of fusion | ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว, ความร้อนแฝงที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้าแข็งมีค่าเท่ากับ 333 กิโลจูลต่อกิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 0 ํC ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
universal gravitation constant | ค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล, ค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นค่าเดียวกันเสมอไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใดๆ ก็ตามในเอกภพซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.67 x 10-11 นิวตัน เมตร2 กิโลกรัม-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
newton | นิวตัน, หน่วยของแรง ใช้สัญลักษณ์ N แรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งมีประจุบวกซึ่งมีขนาดเท่ากับประจุของอิเล็กตรอน มีมวล 1.6726 x 10-27 กิโลกรัม ซึ่งเป็น 1836.12 เท่าของมวลของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นส่วนประกอบของนิวเคลียสของทุก ๆ ธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mass | มวล, ปริมาณซึ่งเป็นสมบัติของวัตถุที่ต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kilowatt-hour meter | มาตรไฟฟ้า, มาตรวัดพลังงานไฟฟ้าในหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
order of magnitude | ระดับขนาด, ค่าที่แสดงด้วยเลข 10 ยกกำลัง เป็นการบอกขนาดของปริมาณใด ๆ อย่างคร่าว ๆ เช่น ระยะทางระหว่างโลกถึงดวงจันทร์อยู่ในระดับขนาด 108 เมตร (ระยะจริง 382, 000 กิโลเมตรหรือ 3.82 x 108 เมตร) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radio [ wireless ] | วิทยุ, ระบบสื่อสารที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรับและส่งโดยไม่ต้องใช้สายต่อถึงกัน ความถี่ของคลื่นวิทยุอยู่ในช่วงระหว่าง 3 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 300, 000 เมกะเฮิรตซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
SI units | หน่วยเอสไอ, หน่วยระหว่างชาติซึ่งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Standard Organization หรือ ISO) ได้เสนอให้ทุกประเทศใช้เป็นหน่วยสำหรับวัดปริมาณต่าง ๆ เป็นระบบเดียวกัน เช่น หน่วยมาตรฐานสำหรับความยาว คือ เมตร หน่วยมาตรฐานสำหรับมวล คือ กิโลกรัม หน่วยม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
supersonic speed | อัตราเร็วกว่าเสียง, อัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วมากกว่าเสียง คือ เร็วกว่า 1, 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chromospher | โครโมสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ อยู่เหนือชั้นโฟโตสเฟียร์ หนาประมาณ 10, 000 กิโลเมตร อุณหภูมิประมาณ 4, 000 K ถึง 50, 000 K ประกอบด้วยลำแก๊สร้อนในลักษณะไอ พ่นขึ้นสู่ระดับสูงและเคลื่อนที่เป็นทางโค้ง แก๊สร้อนในระดับนี้ประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atmosphere | บรรยากาศ, 1.อากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วยออกซิเจน 1 ใน 5 ส่วน ไนโตรเจน 4 ใน 5 ส่วนนอกจากนั้นยังมีแก๊สอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนเล็กน้อย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์อาร์กอน ซีนอน เป็นต้น บรรยากาศมีอยู่สูงขึ้นไปประมาณ 1, 500 กิโลเมตร ซึ่งจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง ตามลำดับ และมีอุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
corona | คอโรนา, บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์อยู่ถัดจากชั้นโครโมสเฟียร์ออกไปมีลักษณะเป็นเส้นสายแผ่กระจายออกจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางประมาณ10 ล้านกิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 5 แสนถึง 2 ล้านเคลวิน ประกอบด้วยอิเล็กตรอนอุณหภูมิสูง อนุภาคฝุ่นผงและไอออนที่ร้อนจัด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
depression | พายุดีเปรสชัน, พายุไซโคลนที่มีกำลังอ่อน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
earth | โลก, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ระหว่างดาวศุกร์และดาวอังคาร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ12, 755 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
earth crust | เปลือกโลก, ชั้นนอกสุดของโลกมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร ประกอบด้วยหิน ดิน และแร่ธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hurricane | พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกอ่าวเม็กซิโก ถ้าเกิดบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนเรียกพายุไต้ฝุ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ionosphere | ไอโอโนสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศถัดขึ้นไปจากมีโซสเฟียร์จนถึงระยะประมาณ 800 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารระยะไกล ๆ เพราะบรรยากาศชั้นนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุทำให้สามารถส่งสัญญาณคลื่นวิทยุได้เป็นระยะพัน ๆ กิโลเมตร อุณหภูมิของอากาศชั้นนี้จะเริ่มสูงขึ้นและเปลี่ยนแ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Jupiter | ดาวพฤหัส, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากดาวอังคารออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 778 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 139, 500 กิโลเมตรเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด มีดาวบริวาร 17 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mars | ดาวอังคาร, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากโลกออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 228 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6, 648 กิโลเมตรมีดาวบริวาร 2 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mercury | ดาวพุธ, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 58 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4, 680 กิโลเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mesosphere | มีโซสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศถัดขึ้นไปจากสตราโตสเฟียร์จนถึงระยะสูงประมาณ 80 กิโลเมตรเป็นชั้นที่เกิดมีปรากฏการณ์เกี่ยวกับอุกกาบาต อุณหภูมิของชั้นอากาศนี้จะลดต่ำลงถึงประมาณ -100 องศาเซลเซียส ที่ระยะสูงสุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Neptune | ดาวเนปจูน, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ถัดจากดาวยูเรนัสออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 4, 498 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 44, 800 กิโลเมตรมีดาวบริวาร 2 ดวง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวเกตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photosphere | โฟโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์ มีความหนาประมาณ 400 กิโลเมตรอุณหภูมิส่วนที่ติดผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 10, 000 K ส่วนที่ติดกับชั้นโครโมสเฟียร์ประมาณ 4, 200 K แก๊สที่อยู่ในชั้นนี้จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศ ได้แก่ รังสีเอกซ์รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และคลื่นควา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bantamweight | (n) นักมวยรุ่นน้ำหนักตัว 51-53.5 กิโลกรัม |
featherweight | (n) น้ำหนักนักมวยรุ่นเบา (น้ำหนัก126 ปอนด์หรือ 57 กิโลกรัม), See also: พิกัดนักมวยรุ่นเบา |
Great Wall of China | (n) กำแพงเมืองจีน (มีความยาว 2, 414 กิโลเมตร), Syn. Great Wall |
gross ton | (n) หน่วยชั่งน้ำหนักมีค่าเท่ากับ 2, 000 ปอนด์ (907, 1847 กิโลกรัม) |
heavyweight | (n) นักมวยอาชีพที่มีน้ำหนักมากกว่า 79.5 กิโลกรัม หรือ 175 ปอนส์ |
ionosphere | (n) ชั้นบรรยากาศซึ่งห่างจากผิวโลกระหว่าง 80-1000 กิโลเมตร |
K | (abbr) คำย่อของหน่วยวัดซึ่งขึ้นต้นด้วยกิโล |
kg | (abbr) กิโลกรัม (คำย่อของ kilogram) |
kilo | (n) กิโลกรัม (คำย่อของ kilogram) |
kilo- | (prf) จำนวน 1 พันของหน่วยที่ตามมา, See also: กิโล เติมหน้าคำ เช่น กิโลเมตร, กิโลกรัม, กิโลวัตต์ |
kilobit | (n) กิโลบิต |
kilobyte | (n) กิโลไบต์ |
kilocycle | (n) จำนวนหนึ่งพันรอบ, See also: หน่วยที่เท่ากับ 1, 000 รอบต่อวินาที, กิโลเฮิรตซ์, Syn. kilohertz |
kilogram | (n) กิโลกรัม |
kilohertz | (n) กิโลเฮิรตซ์ |
kiloliter | (n) กิโลลิตร |
kilometer | (n) กิโลเมตร, See also: พันเมตร |
kilowatt | (n) กิโลวัตต์ |
km | (abbr) กิโลเมตร (คำย่อของ kilometre) |
light heavyweight | (n) นักมวยรุ่นไลท์เฮฟวี่เวท (มีน้ำหนักไม่เกิน 79.39 กิโลกรัม) |
low frequency | (n) ความถี่วิทยุ 30-300 กิโลเฮิรตซ์ |
Main | (n) แม่น้ำเมนในประเทศเยอรมัน (มีความยาว 523 กิโลเมตร) |
metric ton | (n) หน่วยชั่งน้ำหนักซึ่งมีค่า 1, 000 กิโลกรัม |
quintal | (n) หน่วยน้ำหนักเท่ากับ 100 กิโลกรัม |
Rocky Mountains | (n) เทือกเขาร็อกกี้มีความยาว 4, 828 กิโลเมตร) |
ton | (n) หน่วยน้ำหนักเท่ากับ 1, 000 กิโลกรัม (ในอังกฤษ), See also: ตัน, Syn. long ton |
tonne | (n) หน่วยชั่งน้ำหนักเป็นตัน (เท่ากับ 1, 000 กิโลกรัม), Syn. ton |
verst | (n) หน่วยวัดระยะทางของรัสเซียสมัยก่อน, See also: มีค่าเท่ากับ .663 ไมล์หรือ 1.067 กิโลเมตร |
very low frequency | (n) คลื่นวิทยุช่วงความถี่ 3-30 กิโลเฮิรตซ์ |
wattmeter | (n) เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า, See also: หน่วยวัดเป็นวัตต์ กิโลวัตต์ หรือเมกกะวัตต์ มีสัญลักษณ์คือ W |
welter | (n) การชกมวยของนักมวยที่มีน้ำหนักไม่เกิน 60 - 61.6 กิโลกรัม (คำไม่เป็นทางการ) |
welterweight | (n) นักมวยที่มีน้ำหนักไม่เกิน 60 - 61.6 กิโลกรัม |
welterweight | (n) นักกีฬาชนิดอื่น (เช่น นักมวยปล้ำ) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 60 - 61.6 กิโลกรัม |
burstone | n. หินซิลิกาที่ใช้ทำหลักไมล์หรือหลักกิโลเมตร, (ไมล์) ที่ทำด้วยหินนี้ -S.buhr, burr, buhrstone, burrstone |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
conventional memory | หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว) |
coulomb | (คู'ลอมบ์) n. หน่วยประจุไฟฟ้า (เมตร-กิโลกรัม-วินาที) |
henry | (เฮน'รี) n. หน่วยนำไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลกรัม-วินาที' |
joule | (จูล) n. หน่วยงานหรือพลังงาน (เมตร-กิโลกรัม-วินาที) |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11, เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kbs | (เคบีเอส) ย่อมาจาก kilobyte per second (กิโลไบต์ต่อวินาที) 1 KBS เท่ากับ 1024 ไบต์ต่อวินาที ใช้เป็นหน่วยวัดอัตราการส่งข้อมูล เช่น ในการสื่อสาร |
khz | (กิโลเฮิร์ทซ์) ย่อมาจาก Kilohertz มีค่าเท่ากับ 1, 000 เฮิร์ทซ์ เป็นหน่วยวัดจำนวนรอบต่อวินาที 1 กิโลเฮิร์ทซ์ จึงเท่ากับหนึ่งพันรอบต่อวินาที ใช้กับสัญญาณนาฬิกา ตัววัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ |
kilo | (คิล'โล, คี'โล) n. กิโลกรัม, กิโลเมตร, คำสื่อสารที่หมายถึง, อักษร K pl.kilos |
kilobit | (กิโลบิต) เท่ากับ 1000 บิต |
kilobyte | (กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65, 536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65, 536 ตัวอักขระ |
kilometer | (คิลอม'มิเทอะ) n. หนึ่งกิโลเมตร, 1000เมตร, See also: kilometric adj. kilometrical adj. |
kilometre | (คิลอม'มิเทอะ) n. หนึ่งกิโลเมตร, 1000เมตร, See also: kilometric adj. kilometrical adj. |
meg | (เมก) ใช้ตัวย่อว่า M เป็นคำเรียกสั้น ๆ ของเมกะไบต์ (megabyte) หมายถึง จำนวน 1 ล้านไบต์โดยประมาณ จริง ๆ แล้ว 1 เมกะไบต์จะเท่ากับ 1, 024 กิโลไบต์ หรือเท่ากับ 1, 048, 576 ไบต์ คิดคร่าว ๆ เท่ากับ 1ล้านไบต์ (กฎหมายของอเมริกามีกำหนดไว้ชัดเจนว่า 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1 ล้านไบต์เท่านั้น) |
metric ton | หน่วยน้ำหนักที่เท่ากับ1000กิโลกรัม |
mho | (โม) n. หน่วยการนำไฟฟ้าที่เป็นเมตร-กิโลกรัม-วินาที pl. mhos |
millier | (มีลเย') n. หนึ่งพันกิโลกรัม, หนึ่งเมตริกตัน |
notebook computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโล กรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notepad computer |
notepad computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดพกโน้ตแพดคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notebook computer |
picul | (พิค'เคิล) n. หาบ, หน่วยน้ำหนักที่เท่ากับ133-144 ปอนด์หรือ60-48 กิโลกรัม |
ram | (แรม) n. แกะตัวผู้, กลุ่มดาวแกะ, เครื่องกระทุ้ง, เครื่องกะแทก, เครื่องตอกเสาเข้ม, การยัดเยียดเรื่องราวลงในสมอง., แรมย่อมาจาก random access memory แปลว่า หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่ม หมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ดู ROM เปรียบเทียบ vt. กระทุ้ง, ตอก, กระแทก, ยัด, ยัดเยียด, ดันอย่างแรง., See also: rammer n., Syn. strike, batter, cram |
random access memory | หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มใช้ตัวย่อว่า RAM (อ่านว่า แรม) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่วางขายทั่วไปจะมีแรมประมาณ 1 - 8 เมกะไบต์ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จใหญ่ ๆ หลายโปรแกรม เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีแรมอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ดู read only memory เปรียบเทียบ |
random access storage | หน่วยเก็บเข้าถึงโดยสุ่มเป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) หน่วยเก็บในที่นี้หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด นอกจากนั้นยังหมายถึงจานบันทึก ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเท่ากันหมดเช่นกัน |
ton | (ทัน) n. หน่วยน้ำหนักที่เท่ากับ 2000 ปอนด์ (short ton) ในอเมริกาหรือ 2240 ปอนด์ (long ton) ในอังกฤษ, หน่วยปริมาตรที่หนักหนึ่งตัน, หน่วยน้ำหนักที่เท่ากับ 1000 กิโลกรัม (metric ton) , =displacement ton (ดู) , หน่วยปริมาตรที่เท่ากับ 40 ลูกบาศก์ฟุต (shipping ton, measurementton) |
tonne | (ทัน) n. 1000 กิโลกรัม, เมตริกตัน |
verst | (เวิร์สทฺ) n. หน่วยระยะทางของรัสเซียมีค่าเท่ากับ500ฟุตหรือ0.6629ไมล์หรือ1.067กิโลเมตร., Syn. verste |
watt | (วอท) หน่วยกำลังไฟฟ้าเป็นเมตร-กิโลกรัม-วินาท'มีค่าเท่ากับหนึ่ง joule ต่อวินาทีและเท่ากับกำลังไฟฟ้าของกระแสไฟฟ้าหนึ่งแอมแปร์ที่ไหลผ่านความต่างศักย์หนึ่งโวลท์ |