ขี่ช้างจับตั๊กแตน | ก. ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย. |
มากขี้ควายหลายขี้ช้าง | ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้. |
เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง | ก. หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงานที่ทำ. |
กำราก, กำหราก | น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กำรากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกำหรากเหลือลาม (ตำราขี่ช้าง). |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
เกไล | น. ลักษณะนุ่งผ้าแบบหนึ่งสำหรับขี่ช้างเช่นช้างนํ้ามัน. |
เกี้ยวเกไล | น. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสำหรับขี่ช้าง. |
จีบ ๑ | เรียกเหล็กแหลมคือลูกชนักสำหรับใช้ในการขี่ช้างตกมัน ว่า พระแสงจีบ |
ช่อย | ก. ช่วย เช่น คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ (จารึกหลัก ๑). |
ทรง | ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ถือศีล ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ |
วาง | อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง. |
หมอน้ำมัน | น. ผู้ชำนาญในการขี่ช้างตกมัน. |