apple desktop bus | ตัวนำข้อมูลเข้า <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ADB หมายถึง ตัวประสาน (interface) ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานของแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) ฯ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น ๆ ให้สามารถนำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ (เฉพาะแมคอินทอช) |
bios | (ไบออส) ย่อมาจาก Basic Input/Output System เป็นชื่อโปรแกรมชุดหนึ่งซึ่ง จะควบคมการทำงานของคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าไปเก็บและการแสดงผล (หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ จอภาพฯ) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บไบออสนี้ไว้ในชิปตัวหนึ่งที่สร้างมาให้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (built in) หรือที่เรียกว่า "รอม" (ROM) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะอ่านคำสั่งในไบออสก่อนเสมอ |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
computer network | ข่ายงานคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน โดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก เครื่องพิมพ์ โมเด็ม (modem) เป็นต้น การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้ดึงข้อมูลจากกันและกันมาใช้ หรือใช้ร่วมกันได้ |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
data entry | การบันทึกข้อมูลหมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าไปเก็บในสื่อ (medium) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) ฯลฯ โดยผ่านทางแผงแป้นอักขระ (keyboard) หรืออาจหมายถึงการส่งข้อมูลเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ |
data terminal ready | ปลายทางพร้อมใช้ตัวย่อว่า DTR (อ่านว่า ดีทีอาร์) หมายถึงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บอกให้รู้ว่า โมเด็ม (modem) พร้อม และสถานีปลายทางก็พร้อมที่จะรับข้อมูลเข้ามาได้แล้ว |
direct access storage dev | อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ |
dtr | (ดีทีอาร์) ย่อมาจากคำ data terminal ready (แปลว่า ปลายทางพร้อม) หมายถึงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บอกให้รู้ว่า โมเด็ม (modem) พร้อม และสถานีปลายทางก็พร้อมที่จะรับข้อมูลเข้ามาได้แล้ว |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
hollerith, dr. herman | เป็นชาวอเมริกัน เกิด ค.ศ.1860 ตาย ค.ศ.1929 เป็นผู้คิดเอาวิธีนำเอาระบบบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูลลงในบัตร โดยเลียนแบบจากบัตรของแจ็กการ์ด (Jacquard) ซึ่งเคยใช้วิธีการนี้ควบคุมการให้ลายและพิมพ์สีลงบนผ้า ฮอลเลอริทได้สร้างรหัสสำหรับบัตรเจาะรูขึ้น แล้วจึงนำข้อมูลถ่ายลงบนบัตรเพื่อนำไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่าน เครื่องมือประดิษฐ์ของฮอลเลอริทนี้ได้นำมาใช้ในงาประมวลผลและรายงานผลสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1890 ซึ่งทำให้ทราบผลลัพธ์เร็วขึ้นมาก โดยสามารถทำเสร็จภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น ในปัจจุบัน การเจาะบัตรเพื่อส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์นั้นเกือบจะไม่มีแล้ว เพราะล้าสมัย |
i/o | (ไอ/โอ) ย่อมาจากคำว่า input/output แปลว่า รับเข้า/ส่งออก หมายถึง 1. การนำข้อมูลเข้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และการแสดงผล2. อุปกรณ์ที่ใช้นำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลก็ได้ |
ibm card | บัตรไอบีเอ็มหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ฮอลเลอริท (Hollerith) เป็นผู้ออกแบบ นำมาใช้เจาะเป็นรู เพื่อสื่อสารนำข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเลิกใช้แล้วดุ card ประกอบ |
input device | อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ |
job control program | ชุดคำสั่งควบคุมงานหมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชุดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุมสายงานในการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บ กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์หรือชุดคำสั่งใดบ้าง (เช่น ตัวแปลภาษาใด) กำหนดการเริ่มกระทำการ (execute) และการส่งผลที่คำนวณแล้วไปยังเครื่องพิมพ์ ฯมีความหมายเหมือน job control language |
main memory | หน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage |
main storage | หน่วยเก็บหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main memory |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
network | (เนท'เวิร์ค) n. ตาข่าย, ร่างแห, แผนประสานซึ่งกันและกัน, เครือข่าย การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารข้อมูลหรือใช้โปรแกรมร่วมกัน, ระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่อง มาทำงานร่วมกันโดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น |
ocr | abbr. optical character recognition, optical character reader (แปลตรง ๆ ได้ว่า เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check |
optical character reecogn | การรับรู้อักขระด้วยแสงใช้ตัวย่อว่า OCR (อ่านว่า โอซีอาร์) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
overflow | การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออ, ล้นมากเกินเก็บหมายถึง ปรากฏการณ์ที่หน่วยความจำไม่สามารถรับข้อมูลเข้าไปได้อีก เพราะเกินขนาดความจุ เหมือนน้ำล้นฝายกั้น อาจจะมีผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงานไปเลยก็ได้ |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check |
perforated tape | แถบเจาะรู <คำแปล>เทปเจาะรูหมายถึง แถบกระดาษ (paper tape) ที่นำมาเจาะรูเพื่อใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (ถ้าเป็นบัตร ก็เรียกว่า perforated card) ดู paper tape ประกอบ |
primary storage | หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย |
privileged instruction | คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode) |
punched card | บัตรเจาะรูหมายถึง บัตรที่นำมาเจาะเป็นรู เพื่อเป็นข้อมูลที่จะส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเจาะบัตรให้เป็นรูนี้ต้องเจาะด้วยเครื่องเจาะบัตร (keypunch) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพิมพ์ดีด เช่น ถ้าเจาะตัวอักษร A ก็จะมีรูที่คอลัมน์ 1 และ 12 รูต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ (โดยใช้แปรงไฟฟ้าปัดผ่าน) แล้วนำไปเก็บในหน่วยความจำ วิธีส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แบบนี้ เกือบจะเป็นแบบแรกที่ใช้กัน เดี๋ยวนี้ถือว่าล้าสมัยไปเสียแล้วเพราะไม่สะดวกในการเก็บรักษา กับทั้งสิ้นเปลืองมาก จุข้อมูลน้อยถ้าเทียบกับจานบันทึก นอกจากนั้น ใช้แล้วนำมาใช้อีกไม่ได้ เจาะผิดก็แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไป แล้วทำใหม่ ทำให้สิ้นเปลืองดู card ประกอบ |
remote console | ส่วนเฝ้าคุมระยะไกลจอเฝ้าคุมระยะไกลหมายถึง จอภาพหรืออุปกรณ์อื่นที่ผู้ควบคุมการดำเนินการของเครื่อง ใช้สั่งงาน เช่น ส่งข้อมูลเข้าเครื่อง หรือสั่งให้เครื่องเริ่มกระทำการ (execute) แต่เนื่องจากอุปกรณ์นี้อยู่ห่างจากตัวเครื่อง การควบคุมจึงต้องมีสายการสื่อสารเชื่อมโยงติดต่อกัน |
retum key | แป้นขึ้นบรรทัดเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีสัญลักษณ์ (บนแป้น ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) การกดแป้นนี้ เป็นคำสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยที่ยังพิมพ์ข้อความไม่ถึงจุดสุดท้ายของบรรทัด ในบางโปรแกรม หมายถึง การสั่งให้นำข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำหรือเป็นคำสั่งให้หน่วยประมวลผลเริ่มทำงาน (มีความหมายเหมือนการกดแป้น Enter Key) ในระบบวินโดว์ ใช้กดแป้นนี้แทนกดเมาส์ที่ปุ่ม OK เมื่อตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เสร็จแล้วก็ได้ |
second generation compute | คอมพิวเตอร์ยุคที่สองหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 จนถึงต้น 1970 มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีขนาดเล็กว่ายุคที่หนึ่งมาก ใช้กำลังไฟน้อยลง และให้ความร้อนน้อยลงด้วย เพราะหน่วยความจำที่ใช้เป็น วงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนที่จะเป็นหลอดสุญญากาศเหมือนยุคที่หนึ่ง ส่วนหน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) นิยมใช้เทปหรือแถบบันทึก และจานบันทึก การนำข้อมูลเข้าและการแสดงผล สามารถทำได้ควบคู่ไปกับการคำนวณ เริ่มรู้จักใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ควบคุมดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ |
system disk | จานบันทึกระบบหมายถึง จานบันทึกที่บรรจุระบบปฏิบัติการ (ถ้าเป็นพีซี ก็หมายถึง MS DOS) สามารถนำมาใช้เริ่มเครื่องใหม่ได้ (boot) โดยใส่ในหน่วยบันทึก A : จานบันทึกระบบต้องมีโปรแกรม 3 โปรแกรม เป็นอย่างน้อย คือ lo.sys, Msdos.sys และ Command.com สองแฟ้มแรกจะถูกซ่อนอยู่ (hidden files) แม้ว่าจะใช้คำสั่ง Dir ก็จะไม่แสดงบนจอภาพโปรแกรม lo.Sys จะดูแลในเรื่องการนำข้อมูลเข้า และการแสดงผล ส่วน MSDOS.sys จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นจานบันทุกนั้น ส่วน Command.com ก็จะมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น dir, copy, delete จานบันทึกระบบนี้มีความสำคัญมาก (โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์) ถ้าไม่มีจานบันทึกนี้จะเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ อาจใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นจานบันทึกระบบเลยก็ได้ |
teleprocessing | การประมวลผลทางไกลหมายถึง การประมวลผลที่มีการส่งข้อมูลมาจากเครื่องปลายทาง (terminal) ที่อยู่ไกลออกไป เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง การส่งข้อมูลอาจใช้ผ่านสายโทรศัพท์ สายเคเบิล ใยแก้ว ดาวเทียม ฯ ก็ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นทั่วไป คือการเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม (ATM) แต่ละตู้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องปลายทางส่งข้อมูลเข้าไปยังศูนย์ที่สำนักงานใหญ่เพื่อทำการประมวลผล |
terminal user | ผู้ใช้เครื่องปลายทางหมายถึง ผู้ที่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านเครื่องปลายทาง ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้ป้อนข้อมูลเข้า และผู้รอรับผลลัพธ์จากการแสดงผลดู terminal ประกอบ |
touch pad | แผ่นสัมผัสหมายถึง อุปกรณ์การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าได้โดยเพียงสัมผัสที่จุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นสัมผัสนั้น ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นสัญญาณป้อน เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ |