Loans for use | การยืมใช้คงรูป [TU Subject Heading] |
Accelerator | สารเคมีที่เติมลงไปในยางปริมาณเล็กน้อยเพื่อเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยา ให้ยางคงรูปเร็วขึ้น ทำให้ลดเวลาที่ใช้ในการคงรูปยางลง [เทคโนโลยียาง] |
Acrylic rubber or Polyacrylate rubber (ACM) | ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Adhesion | ลักษณะการยึดติดของสองสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดจากแรงทางเคมีหรือทางกายภาพหรือทั้งสองอย่าง เช่น ยางคงรูปยึดติดกับโลหะ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIR | ยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Compound | ยางที่ผสมสารเคมีต่างๆ เช่น สารทำให้ยางคงรูป สารช่วยในกระบวนการผลิต เป็นต้น พร้อมที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ [เทคโนโลยียาง] |
Compression moulding | การขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอัดเป็นวิธีการขึ้นรูปที่ใช้กันมากที่สุด ในโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์แบบอื่น ๆ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ต้องลงทุนทางด้านเครื่องจักรสูง เพราะแม่พิมพ์และเครื่องอัดมีราคาไม่สูงมากนัก เครื่องอัดที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องอัดระบบไฮดรอลิค การผลิตเริ่มจากการนำยางคอมพาวด์มาวางในแม่พิมพ์ที่ร้อน ปิดแบบแม่พิมพ์ อัดด้วยความร้อนและความดันภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ยางจะเกิดการวัลคาไนซ์และคงรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นถอดออกจากแม่พิมพ์ จะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ [เทคโนโลยียาง] |
Devulcanisation or Devulcanization | ปฏิกิริยาดีวัลคาไนซ์ คือ ปฏิกิริยาการทำลายพันธะเคมีของโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ในยางคงรูป [เทคโนโลยียาง] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Factice | แฟกทิซ เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวได้จากปฏิกิริยาคงรูปของน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ โดยใช้กำมะถันหรือสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เมื่อเติมเข้าไปในยางจะช่วยประหยัดพลังงานในการผสม ช่วยเพิ่มความเสถียรทางรูปร่างให้แก่ยางที่ขึ้นรูปด้วยการอัดผ่านดาย (Extrudate) และมีผิวเรียบมากขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Green strength | ความแข็งแรงของยางดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้ยางคงรูป วิธีการทดสอบแสดงไว้ในมาตรฐาน ISO 9026 [เทคโนโลยียาง] |
Halobutyl rubber | ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubber | ยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Marching | ปรากฏการณ์ที่มอดุลัสของยางมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อยางเกิดสภาวะการคงรูปมากกว่าสภาวะที่เหมาะสม (เกิดโอเวอร์เคียว) เนื่องจากเกิดการเชื่อมระหว่างโมเลกุลหรือโครงร่างแหมากขึ้น มักเกิดในยางเอสบีอาร์ (SBR) หรือ ยางบิวทาไดอีน (Butadiene) [เทคโนโลยียาง] |
Mooney viscometer | เครื่องมือวัดความหนืดของยางคอมพาวด์หรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ คงรูป นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมสมบัติการไหลของยางคอมพาวด์ ค่าความหนืดที่วัดได้จะเรียกว่าความหนืดมูนนี่ Mooney viscosity) วิธีการวัดค่าความหนืดมูนนี่ได้แสดงไว้ในมาตรฐาน ISO 289-1, ASTM D 1646, BS 1673: Part 3 [เทคโนโลยียาง] |
Non-reinforcing or inert filler | สารตัวเติมไม่เสริมแรงหรือสารตัวเติมเฉื่อย คือ สารตัวเติมที่เติมลงไปในยางแล้วทำให้ความหนืดของยางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ทำให้สมบัติเชิงกลต่างๆ ของยางคงรูปด้อยลงหรือเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างสารตัวเติมไม่เสริมแรง ได้แก่ ทัลคัม แคลเซียมคาร์บอเนต และดินขาว [เทคโนโลยียาง] |
Oscillating disc rheometer | เครื่องมือที่ใช้ในการหาเวลาที่ยางเกิดการคงรูป (หรือหาอัตราเร็วของการเกิด ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน) โดยวัดค่าความแข็งที่เพิ่มขึ้นของยางคอมพาวด์เมื่อเกิดการวัลคาไนซ์จากการ สั่นของตัววัด (Disc) ภายในช่องวัด (Chamber) เครื่องมือชนิดนี้มีความสำคัญมากต่อโรงงานอุตสาหกรรมยาง เพราะนอกจากเครื่อง ODR จะช่วยบอกระยะเวลาที่ทำให้เกิดยางตายหรือที่เรียกในภาษาเทคนิคว่า “scorch time” แล้ว เครื่องมือนี้ยังบอกระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบยางให้คงรูป (optimum cure time)อีกด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Overcure | สภาวะของยางที่เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันมากกว่าสภาวะที่เหมาะสม (ยางสุก) อาจเกิดจาการใช้เวลาที่นานเกินไปและ/หรืออุณหภูมิสูงเกินไปในการวัลคาไนซ์ และ/หรือมีสารทำให้ยางคงรูปมากเกินไป ซึ่งยางที่ได้มักจะมีสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ดี [เทคโนโลยียาง] |
Peroxide | สารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง] |
Reclaimed rubber | ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ [เทคโนโลยียาง] |
Retarder | สารหน่วงปฏิกิริยา คือ สารเคมีซึ่งลดอัตราเร็วการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อนำมาใส่ในยางจะช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อนที่ยางจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาคงรูป ช่วยลดโอกาสของการเกิดยางตายทั้งในระหว่างการเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการ ขึ้นรูป [เทคโนโลยียาง] |
Reversion | ปรากฎการณ์ที่มอดุลัสของยางมีค่าลดลงเมื่อยางเกิดสภาวะการคงรูปมากกว่า สภาวะที่เหมาะสม (เกิดโอเวอร์เคียว) เนื่องจากโมเลกุลหรือโครงร่างแหที่เชื่อมระหว่างโมเลกุลเกิดการสลายตัว มักเกิดในยางธรรมชาติ (NR) [เทคโนโลยียาง] |
Scorch | ยางตายหรือยางที่เกิดการคงรูปก่อนเวลา คือ ยางที่มีลักษณะคงรูป ไม่สามารถแปรรูปร่างได้ [เทคโนโลยียาง] |
Scorch time | ระยะเวลาที่ยางเริ่มจะเกิดการคงรูป หรือบอกถึงระยะเวลาที่ยางสามารถไหลได้ในขณะผลิตก่อนเกิดการคงรูป สามารถหาได้โดยใช้เครื่อง Oscilating Disc Rheometer (ODR) หรือ Moving Die Rheometer (MDR) วัดที่จุดสูงกว่าค่าแรงบิด (torque) ต่ำสุดขึ้นมา 2 หน่วย (t2) หรือ 5 หน่วย (t5) [เทคโนโลยียาง] |
Storage hardening | ปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |
Sulphur or Sulfur | กำมะถัน (หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ายาสุก) เป็นสารเคมีที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมยาง เนื่องจากใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเกิดการคงรูป มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีเหลืองที่อุณหภูมิห้อง [เทคโนโลยียาง] |
Tensile tester | เป็นเครื่องมือวัดสมบัติความทนต่อแรงดึงของยางคงรูป ซึ่งสมบัติความทนต่อแรงดึงเป็นสมบัติเชิงกลพื้นฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมยาง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นตัวกำหนดคุณภาพหรือสเปคของผลิตภัณฑ์ วิธีการวัด คือ จะให้แรงดึงกับชิ้นงานตัวอย่างจนกระทั่งชิ้นงานขาด วัดความทนต่อแรงดึงสูงสุด ณ จุดขาด (tensile strength) และสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยยืดไปกี่ เปอร์เซ็นต์ (elongation at break) วิธีการวัดและชิ้นงานที่ใช้จะต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO 37 หรือ ASTM D412 [เทคโนโลยียาง] |
Thermoplastic elastomers | ยางเทอร์มอพลาสติก คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่รวมเอาสมบัติของทั้งยางและพลาสติกเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ยางเทอร์มอพลาสติกจะมีสมบัติและการใช้งานเหมือนยางคงรูป แต่จะมีกระบวนการขึ้นรูปแบบเดียวกับพลาสติกทั่วไป เช่น การฉีด การผ่านเครื่องเอ็กทรูดซ์ เป็นต้น ยางเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ได้ นำไปผลิตเป็นท่อ ปะเก็น ซีล ปลอกหุ้มสายเคเบิล หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสี เช่น พื้นรองเท้ากีฬา ด้ามจับแปรงสีฟัน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Undercure | สภาวะของยางที่เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันต่ำกว่าสภาวะที่เหมาะสม (ยางไม่สุก) อาจเกิดจาการใช้เวลาที่สั้นเกินไปและ/หรืออุณหภูมิที่ต่ำเกินไปในการวัลคาไน ซ์ และ/หรือสารทำให้ยางคงรูปมีไม่เพียงพอ ซึ่งยางที่ได้มักจะมีสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ดี [เทคโนโลยียาง] |
Vulcanisation or Vulcanization | วัลคาไนเซชัน คือ กระบวนการทางเคมีที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ทำให้ยางคงรูปและมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถผันกลับได้ (irreversible process) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ยางไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ [เทคโนโลยียาง] |
Carcinoma, Well Differentiated | มะเร็งที่คงรูปร่างเซลล์แบบเดิม, เวลดิฟเฟอเรนทิเอทคาร์ซิโนมา [การแพทย์] |
Cells, Uniformity of | ความคงรูปของเซลล์ [การแพทย์] |
Containers, Rigid | ภาชนะที่มีลักษณะแข็ง, ภาชนะแข็งภาชนะคงรูป [การแพทย์] |
Firming | คงรูป [การแพทย์] |
Formed Stool | คงรูปร่างอยู่ได้ [การแพทย์] |
orthomorphic projection | orthomorphic projection, เส้นโครงแผนที่คงรูป [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
microtubule | ไมโครทิวบูล, หลอดเล็ก ๆ ที่เรียงติดกันเป็นคู่ ๆ อยู่ภายในเซลล์ช่วยให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ มักพบเป็นแกนในแฟลเจลลัม และซิเลีย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |