ครองราชสมบัติ | ก. ดำรงอยู่ในราชสมบัติ. |
กาญจนาภิเษก | น. พระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินกระทำเมื่อครองราชสมบัติได้ ๕๐ ปี. |
ทรง | ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ถือศีล ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ |
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ | น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย. |
ทวีธาภิเษก | น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ว่า เหรียญทวีธาภิเษก. |
เปลี่ยนแผ่นดิน | ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, ผลัดแผ่นดิน ก็ว่า. |
ผลัดแผ่นดิน | ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, เปลี่ยนแผ่นดิน ก็ว่า. |
รัชกาล | น. ช่วงเวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ๆ, โดยอนุโลมใช้หมายถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลนั้น ๆ เช่น รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น. |
รัชมังคลาภิเษก | น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยมีมา. |
รัชดาภิเษก | น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี. |
ราชสมบัติ | ความเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น ขึ้นครองราชสมบัติ. |
ล้อมวง | อารักขาเขตพระราชฐานหรือบริเวณรอบสถานที่ที่ประทับนอกพระนคร ทั้งการเสด็จโดยสถลมารคและชลมารค, รักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร หรือพระรัชทายาทก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ โดยจัดเจ้าหน้าที่ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ. |
สืบราชสันตติวงศ์ | ก. ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗, สืบสันตติวงศ์ ก็ว่า. |
สืบสันตติวงศ์ | ก. ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน, สืบราชสันตติวงศ์ ก็ว่า. |