เจนใจ | ว. ขึ้นใจ, แม่นยำในใจ. |
ขึ้นใจ | ก. เจนใจ, จำได้แม่นยำ. |
ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย | ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง. |
ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง | (-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง) ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจรู้สึกหวาดหวิว |
จน ๑ | หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี. |
เบญจวรรณห้าสี | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี. |
วางใจ | ก. เชื่อใจ, ไว้ใจ, เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง. |
อ้ำอึ้ง | ก. นิ่งอั้นไม่ยอมพูด, พูดไม่ออกด้วยจนใจหรือจนปัญญา, ไม่รู้จะพูดอะไร. |
อุคห-, อุคหะ | (อุกคะหะ-) ว. เจนใจ. |
อุคหนิมิต | น. “อารมณ์ที่เจนใจ” คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชำนาญจนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็นเครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. |