จะเข้ ๑ | น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาวไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีดทำให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว. |
จะเข้ ๒ | น. จระเข้. |
จะเข็บ | ดู ตะเข็บ ๑. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า | ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย. |
แขกไม่ได้รับเชิญ | น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา. |
ความรู้สึกช้า | น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ. |
เครื่องสาย | น. เครื่องดนตรีชนิดที่มีสาย เช่น จะเข้ ซอ พิณ ไวโอลิน |
จังหวะ | น. ระยะที่สม่ำเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. |
เจ้ง | น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสำหรับดีด คล้ายจะเข้, กู่เจิง หรือ โกวเจ็ง ก็เรียก. |
ฉกรรจ์ลำเครื่อง | น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะเข้ารบได้ทันที เช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย (พงศ. เลขา). |
ซุ้ม ๔ | น. ส่วนประกอบของจะเข้ ทำหน้าที่เป็นหย่องใช้พาดสายไปสู่ลูกบิด. |
เซ่อ | ว. เขลาเพราะไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน, ไม่เห็นหรือไม่เข้าใจสิ่งที่น่าจะเห็นหรือน่าจะเข้าใจ เช่น ตาเซ่อ, งง เช่น ฟังเขาพูดจนเซ่อไปเลย. |
ดีด ๑ | เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยใช้ปลายนิ้วมือหรืออุปกรณ์สะกิดให้เกิดเสียง เช่น ดีดจะเข้ ดีดพิณ ดีดกีตาร์, เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป เช่น ดีดลูกคิด, เอาปลายนิ้วกดแล้วปล่อย เช่น ดีดพิมพ์ดีด ดีดเปียโน, (โบ) ทำห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า เช่น หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า. |
ดื้อ | ก. ตรงทื่อ เช่น ถ้ามันโกรธกูจะกรูเข้าคร่า ถ้ามันด่ากูจะดื้อเข้าเดียง ถ้ามันเถียงกูจะเข้าถอง (ม. ร่ายยาว ชูชก) |
ตกแสก | ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม) เช่น งามโศกตกแสกเมื่อยามเศร้า ปิ้มประหนึ่งจะเข้าประคองขวัญ (ขุนช้างขุนแผน). |
ตะเข็บ ๑ | น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับกิ้งกือ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวน้อยกว่า ๕-๖ เซนติเมตร ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๒ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Orthomorpha ในวงศ์ Paradoxsomatidae ไม่มีตา, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก. |
ทาง ๑ | วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทางระนาดเอก ทางจะเข้, วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางครู ก. ทางครู ข. ทางเดี่ยว ทางหมู่. |
แท็กซี่ | น. รถยนต์รับจ้างสาธารณะ โดยสารได้ไม่เกิน ๗ คน. ก. แล่นช้า ๆ ไปตามทางวิ่ง ก่อนนำเครื่องบินขึ้นหรือเมื่อเครื่องบินลงแล้วจะเข้าที่จอด. |
นม ๑ | ฐานที่รองรับสายจะเข้, ส่วนประกอบที่หนุนสายกระจับปี่ |
นึกไม่ถึง | ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้ามาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร. |
เบิกไพร | ก. ทำพิธีก่อนจะเข้าป่าเพื่อไปจับช้างป่า. |
ปรมัตถ์ | (ปะระมัด, ปอระมัด) ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. |
ประตูป่า | น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สำหรับพิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานำศพออกจากบ้าน. |
พอที่ | ว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอที่จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย. |
มือที่สาม | น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย. |
มือ ๒ | น. ใช้ประกอบหน้าชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้มือบรรเลง เพื่อหมายถึงผู้ที่มีความชำนาญหรือมีทักษะในการบรรเลงดนตรีนั้น ๆ เช่น มือระนาด มือจะเข้ มือกลอง มือปี่. |
รู้งาน | ก. ทำงานเป็น, เข้าใจลักษณะงาน, เช่น แม้ว่าเขาจะเข้าใหม่ แต่ก็รู้งานดี. |
รู้เนื้อรู้ตัว | ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัวเสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว. |
เร้นลับ | ว. เหลือรู้เหลือเห็น เหลือที่จะเข้าใจ เช่น ซ่อนสมบัติไว้ในที่เร้นลับ เชื่อกันว่าเมืองลับแลเป็นเมืองที่เร้นลับ. |
ละเอียดอ่อน | ลึกซึ้ง, สลับซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน |
ไล่ที่ทำวัง | ก. บังคับให้ย้ายไปให้พ้นเพื่อตนจะเข้าไปอยู่. |
วงเครื่องสาย | น. ชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนิดของเสียง เช่น ซอ จะเข้ คุมจังหวะด้วยโทน ฉิ่ง และรำมะนา. |
วันทาสีมา | ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค). |
วับ ๆ หวำ ๆ | ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด. |
สาธารณสถาน | น. สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้. |
หย่อง | ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายพาดผ่าน เพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่กล่องเครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้ เรียกว่า ซุ้ม. |
เหมาะ | ว. ดี เช่น ได้โอกาสเหมาะ, พอดี เช่น กำลังเหมาะ, สมควร เช่น โอกาสนี้ไม่เหมาะจะเข้าพบผู้ใหญ่, คู่ควร เช่น ๒ คนนี้เหมาะกัน. |
อนุมูล | น. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทำปฏิกิริยาด้วยกัน โดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูลไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3). |
อยู่อาสา | น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ). |
อัศวเมธ | น. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราชในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้าโจมตี เมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบ พระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ. |
Assistive Technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ [Assistive Technology] |
Chakhe music | ดนตรีบรรเลงจะเข้ [TU Subject Heading] |
Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] |
ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Constant viscosity rubber | ยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา [เทคโนโลยียาง] |
Incorporation | ขั้นตอนหนึ่งของกลไกการผสมสารตัวเติมเข้าไปในยางแห้ง โดยจะเกิดจากการที่สารตัวเติมถูกรวมเข้าไปในเนื้อยางซึ่งเกิดผ่านกลไก 2 แบบ ได้แก่ กลไกที่หนึ่ง แรงเฉือนจะทำให้ยางเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งทำให้ยางมีพื้นที่สัมผัสกับสารตัวเติมได้มากขึ้น เมื่อแรงเฉือนหมดไป ยางจะคลายตัวกลับคืนสู่สภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโอบล้อมเอาสาร ตัวเติมไว้ภายในยาง และกลไกที่สอง ยางชิ้นใหญ่ที่ได้รับแรงเฉือนสูงๆ จะเกิดการฉีกขาดจนได้ยางที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหล่านี้จะเข้าไปโอบล้อมสารตัวเติมไว้ภายในยางเช่นกัน [เทคโนโลยียาง] |
taxis | แทกซิส, พฤติกรรมการเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ มีทิศทางการเคลื่อนที่อย่างแน่นอนที่จะเข้าหา หรือหนีสิ่งเร้านั้น ๆ เช่น การเข้าหาแสงสว่างของพลานาเรีย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
iris | ม่านตา, เยื่อบาง ๆ ที่อยู่ด้านหน้าของเลนส์ตา เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา เช่น สีดำ สีน้ำตาล หรือสีฟ้า ม่านตามีช่องกลมอยู่ตรงกลางเรียกว่า พิวพิล ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของแสงที่จะเข้าสู่เลนส์ตาให้มีปริมาณพอเหมาะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rete testis | ริตีเทสทิส, ส่วนหนึ่งของหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อสั้น ๆ จำนวนมาก เป็นทางผ่านของตัวอสุจิที่จะเข้าไปพักอยู่ในหลอดเก็บตัวอสุจิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
worm | หนอนคอมพิวเตอร์, โปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเอง แล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือหยุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
abstruse | (adj) ยากที่จะเข้าใจ, Syn. deep, recondite |
above someone's head | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, See also: ฉลาดเกินกว่า บางคน จะเข้าถึง |
be above one's head | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. be over |
be beyond one's ken | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจหรือมีความรู้ในเรื่อง |
be out of one's depth | (idm) พบว่า (บางสิ่ง) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. get out of, go out of |
be over one's head | (idm) เข้าใจยาก, See also: ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. be above |
be past | (phrv) เข้าใจยาก, See also: ยากเกินกว่าจะเข้าใจ |
beyond one's ken | (idm) ยากจะรู้ได้, See also: เกินกว่าจะเข้าใจ |
catch up with | (phrv) พยายามที่จะเข้าใจ, See also: พยายามที่จะเรียนให้ทัน |
complicated | (adj) ยากที่จะเข้าใจ, See also: ยากที่จะแก้ไข, Syn. complex, involved |
fling one's hat into the ring | (idm) ประกาศว่าจะเข้าร่วม (การแข่งขันหรือการเลือกตั้ง), Syn. throw into, toss into |
fling open | (phrv) ประกาศให้เป็นสิ่งงานที่จะเข้าแข่งขัน |
elusive | (adj) ยากที่จะหา, See also: ยากที่จะเข้าใจ |
enigmatic | (adj) ยากที่จะเข้าใจ, See also: ยากที่จะอธิบาย, Syn. mysterious, obscure, unfathomable |
enigmatically | (adv) อย่างยากที่จะเข้าใจ, See also: อย่างยากที่จะอธิบาย, Syn. cryptically, mysteriously |
equivocal | (adj) ที่ยากจะเข้าใจได้, See also: ยากที่จะตีความ |
esoteric | (adj) ซึ่งยากที่จะเข้าใจ, Syn. abstruse |
get beyond | (phrv) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, See also: ยากเกินกว่าจะหาพบ, Syn. get past |
get past | (phrv) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. be beyond: be past |
go above | (phrv) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. go over |
go over someone's head | (idm) ยากเกินกว่าจะเข้าใจ, Syn. go above |
hang behind | (phrv) ตามไม่ทัน, See also: ชักช้าที่จะเข้าร่วม |
gibberish | (n) คำที่ไม่มีความหมาย, See also: คำที่ยากจะเข้าใจ, Syn. nonsense |
grey area | (idm) สิ่งที่ซับซ้อน, See also: สิ่งที่ยากจะเข้าใจ |
impalpable | (adj) ซึ่งยากที่จะเข้าใจ |
inapprehensible | (adj) ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้, See also: ยากที่จะเข้าใจ, Syn. incomprehensible, unitelligible, Ant. comprehensible, intelligible |
incomprehensible | (adj) ที่ไม่สามารถเข้าใจได้, See also: ซึ่งไม่เข้าใจ, ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้, Syn. unintelligible, Ant. comprehensible, intelligible |
inconceivable | (adj) ซึ่งเหลือเชื่อ, See also: ซึ่งยากเกินกว่าจะเข้าใจได้, Syn. unimaginable, Ant. conceivable, imaginable |
inscrutable | (adj) ไม่อาจหยั่งรู้ได้, See also: ยากที่จะเข้าใจได้, ลึกลับ, ลับลมคมใน, Syn. incomprehensible, mysterious |
opt in | (phrv) เลือกที่จะเข้าร่วม, Ant. opt out |
mind-boggling | (adj) ยากที่จะเข้าใจ, See also: ซึ่งสับสน |
muddling | (adj) ซึ่งทำให้ยากที่จะเข้าใจ, See also: ซึ่งทำให้สับสน |
unapproachable | (adj) ที่ไม่สามารถเข้าได้, See also: ยากที่จะเข้าไป, Syn. inaccessible, unreachable, Ant. accessible, reachable |
walk-in | (adj) ที่กว้างหรือใหญ่พอที่จะเข้าไปได้ |
a: | A: Drive A ไดรฟ์เอ หมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
abstruse | (แอ็บสทรูส') adj. ยากที่จะเข้าใจ, เร้นลับ, ซ่อนเร้น -abstrusity, abstruseness n., Syn. obscure, complicated |
ambiguous | (แอมบิก' กิวเอิส) adj. คลุมเครือ, กำกวม, มีหลายความหมาย, ยากที่จะเข้าใจ. |
antivirus | ป้องกันไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ช่วยป้องกัน ตรวจหา และกำจัดไวรัสก่อนที่ไวรัสนั้นจะเข้ามาทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถระบุชื่อไวรัสได้ด้วยดู virus ประกอบ |
binary file | แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ |
chyme | (ไคมฺ) n. อาหารย่อยแล้วในกระเพาะอาหารต่อมาจะเข้าสู่ลำไส้เล็ก, See also: chymous adj. |
drive a | A:ไดรฟ์เอหมายถึง ชื่อหน่วยบันทึกหน่วยแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม หรือเครื่องเลียนแบบ (compatibles) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะเข้าไปดูในหน่วยนี้ก่อน หากไม่พบสิ่งใด ๆ จึงจะย้ายไปดูหน่วยบันทึกอื่นต่อไป หน่วยที่สองจะนิยมเรียกกันว่า B: และหน่วยจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ มักจะถูกกำหนดให้เป็น C: (เวลาเขียน ต้องมีเครื่องหมาย : ตามหลังเสมอ จึงจะหมายถึงหน่วยบันทึก) |
elusory | (อิลู'ซะรี) adj. ยากที่จะเข้าใจ, ยากที่จะอธิบาย, ยากที่จะคลำถูก, Syn. elusive |
encode | เข้ารหัสหมายถึง การแปลงข้อมูลเป็นรหัส เช่น ตัวเลข 2 จะเข้ารหัสบีซีดี (BCD) เป็นเลขฐานสอง 0010 เป็นต้น |
hashing | (แฮชชิง) หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมให้จานบันทึกเก็บข้อมูลได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ การจะเข้าถึงข้อมูลได้ จะต้องรู้เลขประจำตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเพียงจะเป็น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำนี้เลยก็ได้ |
human oriented language | ภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ |
impalpable | (อิมแพล'พะเบิล) adj. ซึ่งไม่รู้สึกจากการสัมผัส, คลำไม่พบ, ไม่เข้าใจ, ยากที่จะเข้าใจได้., See also: impalpability n. impalpably adv., Syn. vague, intangible, shadowy |
inscrutable | (อินสครู'ทะเบิล) adj. ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้, ไม่สามารถหยั่งรู้ได้, ยากที่จะเข้าใจได้, ลึกลับ, ลับลมคมใน., See also: inscrutability, inscrutableness n. inscrutably adv, Syn. mysterious, hidden |
intricate | (อิน'ทระคิท) adj. พัวพัน, สับสน, ยุ่ง, ยากที่จะเข้าใจ., See also: intricately adv. intricateness n., Syn. tangled |
login | ลงบันทึกเข้าเป็นคำสั่งที่สั่งเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เข้ากับเครือข่าย เพื่อจะได้ดึงแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมมาใช้ได้ (อย่างไรก็ตาม บางทีอาจต้องใช้รหัสผ่าน จึงจะเข้าได้) |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |
misunderstanding | (มิสอันเดอสแทน'ดิง) n. ความเข้าใจผิด, ความไม่สามารถจะเข้าใจได้, ความไม่เห็นด้วย, Syn. mistake |
motherboard | แผงหลักหมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเข้าไปเชื่อมต่อด้วยอีกทีหนึ่ง เช่น ซีพียู (CPU) , รอม (ROM) , แรม (RAM) , ชิป (chip) และยังรวมถึงช่องที่เตรียมไว้เสียบแผ่นวงจรพิเศษที่อาจจะเพิ่มมาภายหลัง ที่เรียกว่า "แผงวงจรลูก" ดู daughterboard ประกอบ |
on line processing | การประมวลผลแบบเชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ |
protected storage | หน่วยเก็บมีการอารักขาหมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ เฉพาะเมื่อรู้คำหลัก (keyword) เราจะใช้หน่วยเก็บนี้เมื่อต้องการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ |
sam | แซม <คำอ่าน>ย่อมาจาก sequential access method แปลว่า วิธีเข้าถึงโดยลำดับ เป็นวิธีเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้วิธีหนึ่ง หมายถึง การเข้าถึงหน่วยเก็บข้อมูลหรือสื่อบางชนิด เช่น แถบแม่เหล็ก (tape) ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้โดยเรียงไปตามลำดับ วิธีที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลขึ้นอยู่กับระยะทางของตำแหน่งของข้อมูลที่บรรจุไว้ในสื่อนั้น หากข้อมูลถูกเก็บอยู่ตอนปลาย กว่าจะเข้าถึงข้อมูล ก็ย่อมจะเสียเวลานาน |
scratchpad memory | หน่วยความจำใช้งานชั่วคราวหมายถึง เรจิสเตอร์เอนกประสงค์ชุดหนึ่งหรือตำแหน่งซึ่งใช้เป็นที่เก็บคำสั่ง (instruction) หรือผลลัพธ์ที่เกิดในขณะนั้นจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์หรือตรรกะ ข้อมูลในหน่วยความจำชุดนี้จะเข้าถึง (access) ได้เร็วกว่าในหน่วยความจำหลักมากมีความหมายเหมือน cache memoryดู register ประกอบ |
sequential access method | วิธีเข้าถึงโดยลำดับใช้ตัวย่อว่า SAM (อ่านว่า แซม) หมายถึง การเข้าถึงหน่วยเก็บข้อมูลหรือสื่อบางชนิด เช่น แถบแม่เหล็ก (tape) ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ตามลำดับ วิธีที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลขึ้นอยู่กับระยะทางของตำแหน่งของข้อมูลที่บรรจุไว้ในสื่อนั้น หากข้อมูลถูกเก็บอยู่ตอนปลาย กว่าจะเข้าถึงข้อมูล ก็ย่อมจะเสียเวลานานดู random access เปรียบเทียบ |
sequential file | แฟ้มลำดับหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ไปตามลำดับ (sequential) สื่อตัวอย่างที่เห็นง่ายก็คือ แถบบันทึกเพลง (tape) กว่าจะเข้าไปถึงเพลงลำดับท้าย ๆ ก็ต้องหมุนผ่านเพลงแรก ๆ ไป ก่อน ต้องรอจนกว่าจะถึงเพลงที่ต้องการ (ตรงข้ามกับ จานเสียงหรือซีดี (CD) ที่เราสามารถเลือกฟังเพลงที่ต้องการได้ทันที) |