388 ผลลัพธ์ สำหรับ *จำเป็น*
หรือค้นหา: จำเป็น, -จำเป็น-

Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
bloatware(n) โปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลายแต่ก็สิ้นเปลืองทรัพยากรของเครื่องมากเกินความจำเป็น

Longdo Unapproved MED - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
leucinesกรดอะมิโนลิวซีน เป็นกรดอะนิโนชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
จำเป็น(aux) have to, See also: must, need to, Syn. ต้อง, จำต้อง, จำเป็นต้อง, จำเป็นจะต้อง, Example: คนหนุ่มคนสาวจากภาคอีสานจำเป็นต้องมาหางานทำในกรุงเทพเพราะนาแล้ง, Thai Definition: ต้องเป็นอย่างนั้น, ต้องทำ, ขาดไม่ได้
ของจำเป็น(n) necessity, Syn. ของสำคัญ, Example: กะทิเป็นของจำเป็นสำหรับการทำขนมไทย
กรณีจำเป็น(n) case of necessity, Syn. เรื่องจำเป็น, Example: การแจ้งเกิดต้องแจ้งภายใน 15 วัน กรณีจำเป็น แจ้งภายหลังได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเกิด, Count Unit: กรณี
ความจำเป็น(n) necessity, See also: need, essence, Syn. เหตุจำเป็น, Example: ถ้ามีความจำเป็นต้องลางาน ควรจะแจ้งให้หัวหน้าทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
จำเป็นต้อง(aux) must, See also: have to, need, Syn. ต้อง, จำต้อง, จำเป็นจะต้อง, Example: พ่อจำเป็นต้องขายที่นาเพื่อนำเงินมาส่งลูกๆ เรียน
สิ่งจำเป็น(n) necessities
ในกรณีจำเป็น(adv) in case of necessity, Example: ผมจะอนุโลมให้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น
เท่าที่จำเป็น(adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น
เท่าที่จำเป็น(adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น
เท่าที่จำเป็น(adv) as much as necessary, See also: as long as needed, Example: ในการแก้ไขข้อมูลเราจะแก้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น, Thai Definition: อย่างเหมาะสมเท่าที่ต้องเป็นอย่างนั้น
เกินความจำเป็น(adv) more than is necessary, See also: redundantly, unnecessarily, Syn. เกินจำเป็น, Example: กรมสามัญศึกษาตั้งงบประมาณไว้สูงเกินความจำเป็น จึงเห็นควรให้ปรับลดลง, Thai Definition: มากเกินความต้องการ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จำเป็นว. ต้องเป็นอย่างนั้น, ต้องทำ, ขาดไม่ได้.
กฎอัยการศึกน. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น.
กักตุนน. มีเครื่องอุปโภคบริโภคไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว และไม่นำออกจำหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ.
กัน ๓ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน.
กิ่งอำเภอน. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.
ขายผ้าเอาหน้ารอดก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้.
ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่นน. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้
ความรู้สึกด้อยน. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้
คับขันว. จำเป็นเฉพาะหน้าที่จะต้องทำหรือต้องสู้ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, เข้าที่ลำบากหรือจำเป็น, ขับขัน ก็ว่า.
แคปซูลส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จำเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออกจากส่วนอื่นได้
จวนตัวว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จำเป็น.
แช่ก. ใส่ลงในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น เอาเท้าแช่น้ำอุ่น แช่ข้าว กุ้งแช่น้ำปลา, ใส่ไว้ในน้ำแข็ง หรือตู้ทำความเย็นเป็นต้น เช่น เอาปลาแช่น้ำแข็ง เอาผักแช่ตู้เย็น, โดยปริยายใช้หมายถึง อาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จำเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
ตลาดหน้าคุกน. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติและผู้ซื้อจำเป็นต้องซื้อ, มักใช้เป็นคำเปรียบเทียบว่า ของแพงเหมือนกับของตลาดหน้าคุก.
ติดยาเสพติดให้โทษน. เสพเป็นประจำติดต่อกันและตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษนั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ.
ทู่ซี้ก. ทนไปจนกว่าจะตาย, ทนไปเพราะความจำเป็นหรือเพื่อให้สมประสงค์.
บริการสาธารณะน. กิจการอันจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร .
บ้าสมบัติที่ชอบสะสมสิ่งของต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจำเป็น.
บากหน้าก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจำใจจำเป็น.
บุริมสิทธิสามัญน. บุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน ค่าปลงศพ ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้.
แบกหน้าก. จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อน, ทนอายทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำ, เช่น แบกหน้าไปกู้เงินเขา.
โปรตีน(โปฺร-) น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็นสารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย.
พระราชกำหนดน. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้มีผลใช้บังคับไปพลางก่อนตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ.
พอว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ
พึงว. คำช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่า ควรไป, หมายความจำเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทำ ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทำ.
ฟุ่มเฟือยว. สุรุ่ยสุร่าย, ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลือง, เกินความจำเป็น เช่น ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย.
มือเติบก. ใช้หรือจ่ายมากเกินสมควรหรือเกินจำเป็น.
ยาวความว. ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ยาวความ.
ยุ่งก. เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับเขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
ยุทธศาสตร์น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
ยุทโธปกรณ์น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ในราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภคอันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทางทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ.
เร่ก. เที่ยวไปหลายแห่งไม่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจำที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปมาไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่นหมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย.
เร่ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลอง ว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
ลงแขกก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน
ไล่ ๑สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
วัดผลก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
วิตามินน. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจำนวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี.
สถาบัน(สะ-) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน.
สาธารณูปโภคน. บริการสาธารณะที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น การไฟฟ้า การประปา การเดินรถประจำทาง โทรศัพท์.
สามัญสำนึกน. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่น ทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร.
สินส่วนตัวน. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส หรือที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา หรือทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น.
สุรุ่ยสุร่ายว. ชอบจับจ่ายใช้สอยสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย เงินเดือนจึงไม่พอใช้.
เสือจนท่า ข้าจนทางจำเป็นต้องยอมเพื่อเอาตัวรอด.
โสตทัศนวัสดุ(โสตะทัดสะนะวัดสะดุ, โสดทัดสะนะวัดสะดุ) น. งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพ โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใดอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และหมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี.
อนัญคติความจำเป็น.
อัจเจกะจำเป็น.
อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีกก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีกไปรับงานอื่นมาอีก.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
physical necessityความจำเป็นที่ต้องกระทำเพราะถูกบังคับทางกาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable needsการอันจำเป็นตามสมควร (เพื่อเลี้ยงชีพ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
standard of needขนาดความจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligateจำต้อง, จำเป็น [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
overorganizationการจัดระเบียบองค์การเกินจำเป็น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
obligatory sceneฉากจำเป็น [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕]
agent of necessityตัวแทนจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
alternative dangerอันตรายที่จำเป็นต้องเสี่ยง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
matters of subsistence for manสิ่งจำเป็นแก่การครองชีพของคน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
case of necessityกรณีจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
condemnation, excessการเวนคืนทรัพย์เกินจำเป็น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
condemnation, excessการเรียกเกณฑ์ทรัพย์เกินจำเป็น, การเวนคืนทรัพย์เกินจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
duty of waterหน้าที่ใช้น้ำเพียงที่จำเป็น (ปพพ.) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
diligence, necessaryความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
defence of necessityข้อแก้ตัวโดยอ้างความจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
danger, alternativeอันตรายที่จำเป็นต้องเสี่ยง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
featherbeddingการจ้างแรงงานมากเกินจำเป็น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
excess condemnationการเวนคืนทรัพย์เกินจำเป็น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
excess condemnationการเรียกเกณฑ์ทรัพย์เกินจำเป็น, การเวนคืนทรัพย์เกินจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
essential๑. จำเป็น๒. ไม่ทราบสาเหตุ, -เกิดขึ้นเอง๓. -แก่น [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
essential elementธาตุจำเป็น [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
essential partiesคู่ความที่จำเป็น [ ดู indispensable parties และ necessary parties ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
exigence; exigencyความจำเป็นรีบด่วน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
exigence; exigencyภาวะจำเป็นรีบด่วน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
exigency; exigenceความจำเป็นรีบด่วน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
exigency; exigenceภาวะจำเป็นรีบด่วน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
indispensable partiesคู่ความที่จำเป็น [ ดู essential parties และ necessary parties ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
take necessary measuresจัดการตามที่จำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
teleorganicจำเป็นต่อชีวิต [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
necessariesสิ่งจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessary and sufficient conditionเงื่อนไขจำเป็นและเพียงพอ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
necessary conditionเงื่อนไขจำเป็น [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
necessary diligenceความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessary inferenceการอนุมานที่จำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessary partiesคู่ความที่จำเป็น [ ดู essential parties และ indispensable parties ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessitas non habet legem (L.)ความจำเป็นยกเว้นกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessityความจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessity, agent ofตัวแทนจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
necessity, defence ofข้อแก้ตัวโดยอ้างความจำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
work of necessityงานที่จำเป็น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
want of repairจำเป็นต้องซ่อมแซม, ขาดการซ่อมแซม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Essential fatty acidกรดไขมันจำเป็น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Supervised areaพื้นที่ตรวจตรา, บริเวณที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุม แต่จำเป็นต้องมีการสำรวจรังสีจากการทำงานโดยไม่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ [นิวเคลียร์]
Single Photon Emission Computed Tomographyสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์]
Single Photon ECTสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก [นิวเคลียร์]
Radiation workerผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์]
Lethal mutationการกลายถึงตาย, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของเซลล์สิ่งมีชีวิตส่วนที่ควบคุมกระบวนการทำงานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนา แล้วมีผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หรือเกิดการตายในรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์]
Assistive Technologyเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ [Assistive Technology]
Individualized Education planแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล, แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs)&nbsp;ของคนพิการแต่ละคน (ซึ่งไม่เหมือนกัน) ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา [Assistive Technology]
Necessity (Law)ความจำเป็น (กฎหมาย) [TU Subject Heading]
Way of necessityทางจำเป็น [TU Subject Heading]
ASEAN Committee in Tokyoคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น [การทูต]
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
ASEAN Ministerial Meeting on Hazeการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควัน " จัดขึ้นตามความจำเป็นและด้วยความเห็นชอบของทุกประเทศสมาชิก เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ อาเซียนด้านปัญหาหมอกควัน " [การทูต]
arms controlการควบคุมอาวุธ หมายถึง การจำกัดชนิดและจำนวนอาวุธไม่ให้มีมากเกินความจำเป็น [การทูต]
Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively InjuConvention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Injurious or to Have Indiscriminate Effects = อนุสัญญาห้ามอาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาด เจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการห้ามหรือหารจำกัดการใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้ เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านมนุษยธรรม โดยสาระสำคัญของการ คอบคุมอาวุธตามแบบแต่ละชนิดจะถูกกำหนดไว้ในพิธีสารแต่ละฉบับต่างหาก ซึ่งในชั้นนี้ มีพิธีสาร 5 ฉบับ และรัฐต่างๆ สามารถเลือกยอมรับพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาฯ ฉบับใดก็ได้อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับ [การทูต]
Certificate of Identity (C.I.)หนังสือสำคัญประจำตัว จะออกให้แก่คนไทยในต่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดย รีบด่วน หากแต่ไม่มีหนังสือเดินทาง เพราะสูญหายหรือปล่อยให้ขาดอายุนาน แต่ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต่ออายุหรือออกหนังสือเดินทางให้ใหม่ [การทูต]
Consulข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต]
Consular office Declared ?Non grata?เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Departure of Diplomatic Agentsการออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Exercise of Consular Functions in a Third Stateการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต]
Exequaturคำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต]
Genocideการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Humanitarian Interventionการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต]
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agentsความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต]
Indigent Nationalsคนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต]
Inter-Governmental Maritime Consultative Organizationองค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต]
International Atomic Energy Agencyสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต]
International Civil Aviation Organizationเรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต]
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralismคำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต]
Niccolo Machiavelli (1469-1527)คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต]
Normal Diplomacyการติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต]
Pacific Settlement of International Disputesหมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต]
Palestine Questionปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต]
Personal Diplomacyคือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต]
Plural Representationหมายถึง การที่รัฐหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตถาวรของตนมากกว่าหนึ่งคนไปประจำรัฐ อีกแห่งหนึ่งนอกประเทศ ในกรณีเช่นนั้น ผู้แทนทางการทูตคนหนึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต ส่วนผู้แทนทางการทูตที่เหลือจะเป็นตัวรองอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่น ในสหประชาชาติมีคณะทูตถาวรประจำสหประชาชาติหลายแห่ง นิยมตั้งเอกอัครราชทูตของตนเป็นจำนวนมากถึง 3 หรือ 4 คนไปประจำอยู่ในคณะ ตัวหัวหน้าคณะทูตถาวรเช่นนั้น จะมีตำแหน่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศของตนประจำสหประชาชาติ ส่วนเอกอัครราชทูตคนที่สองในคณะทูตถาวร มีตำแหน่งเรียกว่า รองผู้แทนถาวรการส่งเอกอัครราชทูตหลายคนไปประจำเป็นตัวแทนเช่นนี้ ไม่เป็นที่นิยมกระทำกันแพร่หลายเหมือนกับการส่งหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตคน เดียวไปประจำในหลายประเทศในเวลาเดียวกัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น [การทูต]
Regional Organizationsคือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต]
regionalismภูมิภาคนิยม " เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคบนพื้นฐานของการตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วม กันในการพัฒนาและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการระดมพลังในการปกป้องและเสริมสร้างความก้าวหน้าและสันติภาพความ มั่นคงของแต่ละประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม - open regionalism ภูมิภาคนิยมแบบเปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการกีดกันประเทศภายนอก - closed regionalism ภูมิภาคนิยมแบบปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยมีการกีดกันประเทศภายนอก " [การทูต]
Sanctionsการบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต]
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact)สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต]
Secretariat of the United Nationsคือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต]
Security Council of the United Nationsคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต]
Size of Staff of Diplomatic Missionขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้? [การทูต]
Team Thailandทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต]
Waiver of Immunityการสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต]
War Crimesอาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต]
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoplesงานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต]
Positron Emission Tomographyเป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
It's necessary. มันจำเป็น Joy (2008)
I do. จำเป็นสิ The Ties That Blind (2012)
Ah, but it would require the use of the mystic blue diamond. อาา แต่มันจำเป็นต้องใช้เพชรสีน้ำเงินอันลึกลับ Aladdin (1992)
But it's been in the family for years. It is necessary to find the princess a suitor. มันจำเป็นในการค้นหา คู่หมั้นองค์หญิงนะ พะยะค่ะ Aladdin (1992)
We gotta get-- I gotta start packing, your highness. Only essentials.We gotta travel at light! เอาเฉพาะที่จำเป็น เราต้องเดินทางเบาๆ เอาปืนไปด้วยมั้ย อาวุธล่ะ มีดล่ะ Aladdin (1992)
Yeah, well, you don't have to. You're in a car. ใช่ เธอไม่จำเป็นต้องขยับตัว เธออยู่ในรถ Basic Instinct (1992)
Not if I'm innocent. ไม่จำเป็น ถ้าฉันบริสุทธิ์ Basic Instinct (1992)
A compulsive need to prove to herself that she can take risks and survive dangers others can't. แรงจูงใจจำเป็นต้องพิสูจน์ตัวเธอเอง ว่าเธอสามารถเสี่ยงภัย... ...และเอาตัวรอดในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้ Basic Instinct (1992)
However, they will have to revoke your license. ยังไงก็ตาม พวกเขาจำเป็นต้องยึด ใบอนุญาตของคุณ Basic Instinct (1992)
I spent a lot of time learning not to react to things like other people do. ฉันจำเป็นต้องปฏิบัติตัวไม่เหมือนใคร The Bodyguard (1992)
- Is this necessary? จำเป็นด้วยหรือ The Bodyguard (1992)
Yes, it is. Let's go. จำเป็น ไปเถอะ The Bodyguard (1992)
You needn't have touched me. เธอไม่จำเป็นต้องแตะตัวฉัน Wuthering Heights (1992)
A source of literal, visible delight... but necessary. แหล่งของความสุข ที่จับต้องได้ แต่จำเป็นต้องมี Wuthering Heights (1992)
- This is something I have to do. ผมจำเป็นต้องทำ Jumanji (1995)
No, don't just read it to please me! ไม่ ไม่จำเป็นต้องอ่านเพราะฉันขอ The Cement Garden (1993)
- He doesn't have to be. - เขาไม่จำเป็นต้องใช่ Cool Runnings (1993)
He needs a strong hand. เขาจำเป็นต้องมือที่แข็งแกร่ง In the Name of the Father (1993)
You have a good son there. That's all you need to know. คุณมีบุตรที่ดีมี นั่นคือทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องรู้ In the Name of the Father (1993)
- That was all the excuseJoe needed. - - นั่นคือทั้งหมดที่จำเป็นแก้ตัวโจ In the Name of the Father (1993)
[ Woman ] Although I am not a rabbi, in these circumstances... มันจำเป็นถึงฉันจะไม่ใช่พระ Schindler's List (1993)
Because of what you've seen. ผมบอกคุณเรื่องนี้นะ Scully เพราะว่าคุณจำเป็นต้องรู้ Deep Throat (1993)
That's not necessary-- ไม่จำเป็นต้อง Junior (1994)
You are exposing yourself and Agent Scully to unnecessary risk. คุณนำตัวของคุณ และ Agent Scully ไปเผชิญกับอันตราย ที่ไม่จำเป็น Squeeze (1993)
It doesn't necessarily have to be you. ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณก็ได้นี่ Junior (1994)
Did you really have to do that? จำเป็นต้องทำด้วยหรือว่ะ Léon: The Professional (1994)
I don't even need a gun in a Federal bank. ฉันไม่จำเป็นต้องมีแม้แต่ปืนในธนาคารกลาง Pulp Fiction (1994)
You do remember your business partner, don't you? คุณไม่จำเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของคุณทำไม่ได้คุณ? Pulp Fiction (1994)
Why do we feel it's necessary to yak about bullshit in order to be comfortable? ทำไมเรารู้สึกว่ามันจำเป็นที่จะต้องแยกเกี่ยวกับการโกหกเพื่อให้ความสะดวกสบาย? Pulp Fiction (1994)
Well, I'm of the opinion that if Marsellus lived his whole life, he doesn't need to know nothing about this incident. ดีฉันมีความเห็นว่าถ้า Marsellus อาศัยอยู่ทั้งชีวิตของเขา เขาไม่จำเป็นต้องรู้อะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ Pulp Fiction (1994)
About the car, is there anything I need to know? เกี่ยวกับรถจะมีอะไรที่ฉันจำเป็นต้องรู้? Pulp Fiction (1994)
It don't need to be spick-and-span. You don't need to eat off it. มันไม่จำเป็นต้องเป็น Spick และช่วง คุณไม่จำเป็นต้องกินปิดมัน Pulp Fiction (1994)
We need to raid your linen closet. เราจำเป็นต้องบุกตู้เสื้อผ้าผ้าลินินของคุณ Pulp Fiction (1994)
I need blankets, I need comforters, quilts, bedspreads. ฉันจำเป็นต้องใช้ผ้าห่มฉันต้องเป็ด, ผ้าห่ม, ผ้าคลุมเตียง Pulp Fiction (1994)
Are you sure this is absolutely necessary? คุณแน่ใจว่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่? Pulp Fiction (1994)
Strippin' off those bloody rags is absolutely necessary. strippin 'ออกจากเศษผ้าเปื้อนเลือดเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง Pulp Fiction (1994)
I need to know how you like me. ฉันจำเป็นต้องรู้ เธอชอบฉันแบบไหน Wild Reeds (1994)
I didn't know what to do. I needed to escape. ฉันไม่รู้จะทำยังไง ฉันจำเป็นต้องหลบหนี Wild Reeds (1994)
I have to finish it fast. ฉันจำเป็นต้องรีบทานให้หมด Wild Reeds (1994)
Your pity, answered the reed, is kind, but unnecessary. "'ความเวทนาของเจ้า' ต้นอ้อเอ่ย 'ช่างโอบอ้อมอารีแต่หาจำเป็นไม่ Wild Reeds (1994)
No need to answer. ไม่จำเป็นต้องตอบ Wild Reeds (1994)
I need to know. ผมจำเป็นต้องรู้ Wild Reeds (1994)
Come on, you don't need one. น่า ไม่จำเป็นก็ได้ Wild Reeds (1994)
You don't have to swim. เธอไม่จำเป็นต้องว่ายน้ำ Wild Reeds (1994)
I had to see you. ฉันจำเป็นต้องพบเธอ Wild Reeds (1994)
Yeah, I don't need no banker to tell me where the bears shit in the buckwheat. ใช่ฉันไม่จำเป็นต้องไม่มีนายธนาคารที่จะบอกฉันที่หมีอึในบัควีท The Shawshank Redemption (1994)
I need this new highway contract. ฉันจำเป็นต้องทำสัญญาทางหลวงใหม่นี้ The Shawshank Redemption (1994)
Now he needed a new project. ตอนนี้เขาจำเป็นต้องมีโครงการใหม่ The Shawshank Redemption (1994)
You don't need to ask me every time you need to go take a piss. Just go. Understand? คุณไม่จำเป็นต้องที่จะถามฉันทุกครั้งที่คุณจำเป็นต้องไปใช้เวลาปัสสาวะ เพียงแค่ไป เข้าใจไหม The Shawshank Redemption (1994)
I need to know about Don Alfonso, about his father, Don Antonio,  ผมจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับดอนอัลฟองโซ เกี่ยวกับพ่อของเขา ดอนอันโตนิโย Don Juan DeMarco (1994)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
จำเป็น[jampen] (v) EN: be necessary ; have to ; must ; need to  FR: être nécessaire ; être obligatoire ; devoir
จำเป็น[jampen] (adj) EN: essential ; indispensable ; necessary  FR: indispensable ; essentiel ; nécessaire
จำเป็นต้อง[jampen tǿng] (v) EN: must ; have to ; need  FR: être nécessaire de ; devoir
จำเป็นต้องมี[jampen tǿng mī] (adj) EN: indispensable
กรณีจำเป็น[karanī jampen] (n, exp) EN: case of necessity
ของจำเป็น[khøng jampen] (n) EN: neccesities ; necessaries
ความจำเป็น[khwām jampen] (n) EN: necessity ; need ; essence  FR: nécessité [ f ]
ความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น[khwām ramatrawang thao thī jampen] (n, exp) EN: necessary diligence
กรดอะมิโนที่จำเป็น[krot aminō thī jampen] (n, exp) EN: essential amino acid  FR: aminoacide essentiel [ m ]
ในกรณีจำเป็น[nai karanī jampen] (xp) EN: in case of need  FR: en cas de nécessité ; au besoin
เงื่อนไขที่จำเป็นต้องมี[ngeūoenkhai thī jampen tǿng mī] (n, exp) EN: indispensable condition ; conditio sine qua non
สิ่งจำเป็น[sing jampen] (adj) EN: necessities  FR: choses indispensables [ m ] ; le strict nécessaire [ m ]
เท่าที่จำเป็น[thao thī jampen] (adv) EN: as much as necessary

Longdo Approved EN-TH
RSS(abbrev) ย่อมาจาก Really Simple Syndication หรือ Rich Site Summary หรือ RDF Site Summary เป็นรูปแบบในการสรุปย่อ รายละเอียดหรือหัวข้อที่น่าสนใจ บางส่วนหรือทั้งหมด ของเว็บไซต์หรือส่วนของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถทราบเนื้อหาที่น่าสนใจโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาในเว็บไซต์
nerd(n, jargon) nerd เป็นคำเรียกบุคคลที่มีระดับสติปัญญาสูงซึ่งมีความสนใจในการเรียนหรือ การศึกษาเรื่องบางเรื่องที่เขาสนใจ คนภายนอกจะมองว่าพวกนี้เป็นพวกที่ไม่เข้าสังคม แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าพวกนี้ไม่สนใจและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าต่างหาก (ความหมายโดยชาว Nerd)
essential(adj) จำเป็นที่สุด, ซึ่งขาดเสียมิได้, เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ, เป็นเนื้อแท้, เป็นปัจจัยพื้นฐาน, เกี่ยวกับตัวยาสำคัญ, เกี่ยวกับหัวน้ำหอม, เป็นธรรมชาติ, ซึ่งเกิดขึ้นเอง
vine(n) เดิมทีแปลว่าต้นองุ่น แต่ในปัจจุบัน(โดยเฉพาะภาษาอเมริกัน)ความหมายสามัญได้เปลี่ยนแปลงไปเป็น ไม้ที่มีเถา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นองุ่นเสมอไป, See also: grapevine

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
at a pinch(idm) ถ้าจำเป็นจริงๆ, See also: หากจำเป็น
basic(adj) จำเป็นที่สุด, See also: สำคัญที่สุด, Syn. fundamental
behoove(vt) เป็นสิ่งจำเป็นต่อ
behove(vt) เป็นสิ่งจำเป็นต่อ
be equipped for(phrv) จำเป็นต้องมีสำหรับ, See also: สำคัญต่อ
bring home the bacon(idm) ประสบความสำเร็จในการหาอาหารหรือสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว
call of nature(n) ความจำเป็นที่จะต้องขับถ่าย
compulsory(adj) ที่จำเป็นต้องทำ, Syn. obligatory, required
constitutional(adj) ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็น, Syn. component
cordless(adj) ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟ
critical(adj) จำเป็น, Syn. crucial, significant
carry coals to Newcastle(idm) ทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น, See also: ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
catch short(idm) ขาดแคลนสิ่งที่จำเป็น, Syn. take short
cut down on(phrv) ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก (เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย), Syn. cut back, cut down
cut off one's nose to spite one's face(idm) ลงโทษอย่างไม่จำเป็น
dice with(phrv) เสี่ยงโดยไม่จำเป็น
do with(phrv) จำเป็นต้องมี
drag in(phrv) แนะนำโดยไม่จำเป็น, See also: นำเข้ามาเกี่ยวข้องโดยไม่จำเป็น, Syn. drag up
drag into(phrv) พูดเรื่อง...โดยไม่จำเป็น
drag on(phrv) ยืดเวลาออกไปโดยไม่จำเป็น, Syn. drag out
drag out(phrv) ยืดเวลาออกไปโดยไม่จำเป็น, Syn. drag on
drag up(phrv) ยกขึ้นมาพูดโดยไม่จำเป็น, Syn. drag in
fall back on(phrv) จำเป็นต้องใช้, See also: สามารถช่วยได้ยามคับขัน
fit out(phrv) ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น, Syn. equip with, fit up
fit up(phrv) ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
de riqueur(adj) จำเป็นต้องใช้ในวงสังคม
deprived(adj) ปราศจากสิ่งจำเป็น (เช่น อาหาร เงิน และ อื่นๆ), See also: ขาดแคลน, Syn. dispossed, stripped
desideratum(n) สิ่งจำเป็น (คำนามพหูพจน์ของ desideratum), See also: สิ่งที่ต้องการ, Syn. desire, requirement
desideratum(n) สิ่งจำเป็น (คำทางการ), See also: สิ่งที่ต้องการ, Syn. desire, requirement
dispensable(adj) ที่ไม่จำเป็น, See also: ที่ไม่สำคัญ, Syn. unnecessary, unessential, unimportant
equip(vt) จัดหามาให้, See also: จัดหาสิ่งจำเป็นไว้ให้, Syn. provide, supply
equipage(n) เครื่องมือและเสบียงที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง (โดยเฉพาะในการเดินทัพหรือเดินทางไปทางเรือ), Syn. equipment
essential(adj) จำเป็น, See also: ซึ่งสำคัญ, ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด, ซึ่งเป็นส่วนจำเป็นที่สุด, Syn. crucial, necessary
essential(n) องค์ประกอบสำคัญ, See also: เนื้อแท้, ปัจจัยพื้นฐาน, สิ่งจำเป็น
essentially(adv) โดยพื้นฐาน, See also: อย่างสำคัญ, อย่างจำเป็นอย่างยิ่ง, Syn. intrinsically, substantially
eviscerate(vt) เอาส่วนสำคัญออก, See also: เอาส่วนที่จำเป็นออกมา
excess(adj) ซึ่งมากเกินไป, See also: ซึ่งมากเกินความจำเป็น, ซึ่งมากเกินความต้องการ
excessive(adj) ซึ่งมากเกินกว่าจะยอมรับได้, See also: ซึ่งมากเกินความจำเป็น, ซึ่งมากเกินพอ, Syn. immoderate, inordinate
excessively(adv) อย่างมากเกินกว่าจะยอมรับได้, See also: อย่างเกินไป, อย่างมากเกินความจำเป็น, Syn. immoderately, inordinately
exigence(n) ความจำเป็นเร่งด่วน (คำทางการ), See also: ความต้องการเร่งด่วน, Syn. need, requirement, urgency
exigency(n) ความจำเป็นเร่งด่วน (คำทางการ), See also: ความต้องการด่วน, Syn. need, requirement, urgency
exigent(adj) ฉุกเฉิน, See also: เร่งด่วน, จำเป็น, Syn. critical, pressing, urgent
extrinsic(adj) ไม่จำเป็น, See also: ไม่สำคัญ, Syn. inessential, nonessential, Ant. intrinsic
featherbedding(n) การจัดให้มีคนมากเกินความจำเป็น
fixings(n) ส่วนประกอบที่จำเป็น, See also: ส่วนผสมที่จำเป็น
frill(n) สิ่งตกแต่ง (ที่ไม่จำเป็น), See also: สิ่งที่ประดับทำให้หรูหรา, Syn. embellishment, luxury, ornament
issue to(phrv) มอบ (สิ่งจำเป็น) ให้กับ, See also: แจก สิ่งจำเป็น ให้กับ
issue with(phrv) ทำให้ได้รับ (สิ่งจำเป็น), See also: แจก สิ่งจำเป็น
gratuitously(adv) ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี
have to(aux) จำเป็น, See also: จำเป็นต้อง, Syn. must, need to, ought to

Hope Dictionary
analog computer(แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ
appletalk(แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ
authoring systemระบบการเขียนโปรแกรมหมายถึง ระบบการเขียนโปรแกรมโดยที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเลย ผู้เขียนเพียงแต่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในรูปแบบเชิงโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
bank switchingการสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้
bbs(บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
behoove(บิโฮฟว', บิฮูฟว) { behoved, behooved, behoving, behooving, behoves, behooves } vt., vi. เป็นความจำเป็น, เป็นความเหมาะสม, Syn. become
behove(บิโฮฟว', บิฮูฟว) { behoved, behooved, behoving, behooving, behoves, behooves } vt., vi. เป็นความจำเป็น, เป็นความเหมาะสม, Syn. become
binding(ไบน์'ดิง) n. การผูก, การมัด, สิ่งผูกมัด, การเข้าปกหนังสือ, การเย็บเล่มหนังสือ, การทำให้ท้องผูก, สายมัด, สายพัน, ยาเชื่อมติด adj. จำเป็น, ผูกพัน, Syn. compelling
black boxกล่องดำหมายถึง แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแยกออกมาต่างหาก โดยปกติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่า วงจรนั้นทำงานอย่างไร เป็นต้นว่า การถอดรหัสสัญญาณ
bulletin board systemระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย)
bundled softwareโปรแกรมโหลหมายถึง ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ มักจะให้มา เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะเป็นเป็นโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้ เช่น โปรแกรมระบบดอสและวินโดว์แล้ว
can(แคน) auxv. สามารถ, อนุญาต, ยินยอม, อยากจะ -Phr. (cannot but จำเป็นต้อง จักต้อง, ไม่มีทางที่จะไม่) n. กระป๋อง, ภาชนะโลหะที่ปิดมิดชิด, ถังใส่ขยะ, ภาชนะใส่ขี้เถ้า, ถัง, ถ้วยดื่ม, ห้องน้ำ, คุก, ตะโพก, ก้น -Id. (carry the can รับผิดแทน) vt. ใส่กระป๋องแล้วปิดมิดชิด, ไล่ออก,
cause(คอซ) { caused, causing, causes) n. สาเหตุ, จุดประสงค์, มูลฟ้อง, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต vt. ทำให้เกิดขึ้น, ก่อให้เกิด, ให้, ทำให้, Syn. motive
client applicationโปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ
compiler(คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ
da1. abbr. dopamine 2. (ดีเอ) ย่อมาจาก desk accessory (แปลว่า เครื่องใช้อำนวยความสะดวก) มีอยู่ในเครื่องแมคอินทอช หมายถึง โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข สมุดโน้ต นาฬิกา โปรแกรมเหล่านี้สามารถเรียกมาใช้ได้ แม้ในขณะที่ทำโปรแกรมอื่นอยู่ ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ก็มีกลุ่มโปรแกรมที่ชื่อ Accessories ซึ่งมีโปรแกรมอรรถประโยชน์ในลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น มีเครื่องคิดเลข นาฬิกา สมุดโน้ต ปฎิทิน มีโปรแกรมที่จำเป็น เช่น ประมวลผลคำ (word processing) และ โปรแกรมวาดภาพ ฯลฯ
data base management systระบบจัดการฐานข้อมูลใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่า ดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย
data forkส่วนข้อมูลแฟ้มข้อมูลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุก ๆ แฟ้มจะประกอบด้วยสองส่วน ส่วนที่หนึ่งนั้น เรียกว่า ส่วนข้อมูล (data fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ที่โปรแกรมนั้น ๆ จะต้องใช้ ส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนทรัพยากร (resource fork) หมายถึงส่วนที่เป็นข้อคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโปรแกรม ซึ่งจะเป็นตัวทำงานให้ หรือไม่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ เพื่อให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้ครบถ้วน เช่น การกำหนดแบบอักษร (font) สัญรูป (icon) รายการเลือก (menu) เป็นต้น
data redundancyความซ้ำซ้อนข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน หากตัดออก ก็จะไม่ทำให้ข้อมูลที่เหลืออยู่เสียหาย ถ้าใช้กับตัวเครื่อง (hardware) หมายถึง เครื่องที่มีระบบการทำงานซ้ำซ้อนกัน ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีหรือใช้ ถ้าต้องการให้มีความเชื่อถือได้สูง
database management systeใช้ตัวย่อว่า DBMS (อ่านว่าดีบีเอ็มเอส) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย
dbms(ดีบีเอ็มเอส) ย่อมาจาก data base management system (แปลว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้ หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย
derigueur(ดะรีเกอ') fr. จำเป็นอย่างยิ่ง
dispensable(ดิสเพน'ซะเบิล) adj. ไม่จำเป็น, ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้., See also: dispensability n. ดูdispensable, Syn. unnecessary
dispense(ดิสเพนซฺ') vt. แจกจ่าย, จัดการ, ปรุงยาและจ่ายยา vi. แจกจ่าย, ละเว้น, งด, ขจัด, ยกเว้น, ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้, Syn. scatter
doctorate(ดอค'เทอะเรท) n. ปริญญาเอก, ดุษฎีบัณฑิต, ปริญญาแพทยศาสตร์ (ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาเอก)
ebcdic(เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้
ems(อีเอ็มเอส) ย่อมาจาก expanded memory specification บางครั้งก็เรียกชื่อเต็มเลยว่า LIM-EMS ย่อมาจากคำว่า Lotus-Intel Microsoft Expanded Memory Specification อีเอ็มเอสนั้นเป็นโปรแกรมที่ขยายตัวประมวลผล 8088 ที่มีหน่วยความจำ 640 K ให้มีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อให้มีที่พอบรรจุโปรแกรมโลตัส 1-2-3 ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) ขนาดใหญ่ ลงไปในหน่วยความจำที่มีขนาดเพียง 640 K ได้ ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอีเอ็มเอสนี้แล้ว เพราะหน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น ใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก
essential(อะเซน'เชิล) adj. จำเป็นที่สุด, ซึ่งขาดเสียมิได้, เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ, เป็นปัจจัย, เกี่ยวกับตัวยาสำคัญ, เกี่ยวกับหัวน้ำมัน, เกี่ยวกับหัวน้ำหอม, เป็นธรรมชาติ, ซึ่งเกิดขึ้นเอง., See also: essentialness n. ดูessential, Syn. funda
excess(อิคเซส') adj., n. (ความ) มากเกินพอ, มากเกินความจำเป็น, Syn. surplus
excessive(อิคเซส'ซิฟว) adj. มากเกินปกติ, มากเกินความจำเป็น., See also: excessiveness n. ดูexcess excessively adv. ดูexcess, Syn. extreme
exclusive orหรือใช้ตัวย่อว่า XOR (อ่านว่า ซอร์) เป็นคำที่นักเขียนโปรแกรมใช้ เมื่อจะสั่งให้แสดงภาพออกมาเป็นตัวดำเนินการเชิงตรรกะตัวหนึ่ง ซึ่งใช้เลขฐานสอง สองตัวมาทำให้เกิดเป็นค่าใหม่ ถ้าในการคำนวณได้ผลลัพธ์เป็น 0 แสดงว่าคอมพิวเตอร์คำนวณได้ผลออกมาเหมือนกัน แต่ถ้าค่าออกมาไม่เท่ากัน ผลลัพธ์จะออกมาเป็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องตรรกะนี้ก็ได้
exigence(เอค'ซิเจินซฺ, -ซี) n. ภาวะฉุกเฉิน, ความต้องการ, ความจำเป็น, เรื่องด่วน, เหตุฉุกเฉิน., Syn. necessity
exigency(เอค'ซิเจินซฺ, -ซี) n. ภาวะฉุกเฉิน, ความต้องการ, ความจำเป็น, เรื่องด่วน, เหตุฉุกเฉิน., Syn. necessity
extended binary coded decextended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้
fcb(เอฟซีบี) เป็นตัวย่อของ file control block (แปลว่า กลุ่มแฟ้มข้อมูล) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลที่อยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งพวกนักเขียนโปรแกรมเท่านั้นที่จะต้องรู้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้
file control blockกลุ่มแฟ้มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า FCB เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล ที่อยู่เป็น กลุ่ม ซึ่งพวกนักเขียนโปรแกรมเท่านั้นที่จะต้องรู้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้
hard disk(ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
hashing(แฮชชิง) หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมให้จานบันทึกเก็บข้อมูลได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ การจะเข้าถึงข้อมูลได้ จะต้องรู้เลขประจำตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเพียงจะเป็น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำนี้เลยก็ได้
high level languageภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ
imperative(อิมเพอ' ระทิฟช) adj. ซึ่งเลี่ยงไม่ได้, จำเป็น, เชิงบังคับ -n. คำสั่ง, ความจำเป็น, ข้อบังคับ, กฎเกณฑ์, น้ำเสียงขอร้องหรือเป็นเชิงบังคับ, มาลาเชิงบังคับของไวยากรณ์
imperious(อิมเพอ' เรียส) adj. โอหัง, ยโส, เป็นเชิงบังคับ, ครอบงำ, เผด็จการ, จำเป็น, ด่วน., See also: imperiously adv. imperiousness n., Syn. domineering, commanding
inclusive or(อินคลูซีฟ ออร์) และ/หรือเป็นตัวดำเนินการ (operator) ตัวหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ใช้มากในคำสั่งที่เกี่ยวกับการเขียนภาพ ผลลัพธ์ของ inclusive OR จะเห็นได้จากตารางที่แสดง 1 คือจริง (true) และ 0 คือ เท็จ หรือ (false) ถ้าไม่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งนี้ก็ได้
indispensable(อินดิสเพน'ซะเบิล) adj. จำเป็นอย่างยิ่ง, ขาดเสียไม่ได้. n. บุคคลหรือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง., See also: indispensability n. indispensably adv., Syn. necessary, needed, key
inevitable(อินเอฟ'วิทะเบิล) adj. ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้, แน่นอน, จำเป็น. n. สิ่งที่จำเป็น, สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้., See also: inevitability, inevitableness n. inevitably adv.
integrated services digitโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอลใช้ตัวย่อว่า ISDN (อ่านว่า ไอเอสดีเอ็น) สายโทรศัพท์ ISDN ก็คือสายที่สามารถใช้ส่งข้อมูล ส่งคลื่นโทรทัศน์ และส่งคลื่นเสียง ได้ในสายเดียวกัน (ถ้าใช้สายชนิดนี้ คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ม)
isdn(ไอเอสดีเอ็น) ย่อมาจากคำว่า integrated services digital network (แปลว่า โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล) สายโทรศัพท์ ISDN ก็คือสายที่สามารถใช้ส่งข้อมูล ส่งคลื่นโทรทัศน์ และส่งคลื่นเสียง ได้ในสายเดียวกัน (ถ้าใช้สายชนิดนี้ คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้โมเด็ม)
low-level formatจัดรูปแบบอย่างต่ำหมายถึง การจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ของจานบันทึกว่าจะต้องจัดรูปแบบ การบันทึกแบบนี้เมื่อเราใช้จานแข็งเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ต้องใช้คำสั่งFORMAT ในระบบดอสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับจานอ่อน (floppy disk) นั้น เราไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการนี้
macintosh(แมค' คินทอช) n. ชื่อคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่ง ออกแบบสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ นำออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ.1984 คอมพิวเตอร์ตระกูลนี้ประกอบด้วยตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocesssor) ขนาด 32 บิต เป็นเครื่องแรก อีกทั้งได้สร้างตัวประสานกับผู้ใช้ (user interface) ทำให้ผู้ใช้เครื่องรู้สึก สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากใช้ภาพเป็นสื่อทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อมาเครื่องพีซีก็สร้างระบบวินโดว์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องยี่ห้อนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงรองจากเครื่องของบริษัทไอบีเอ็มเท่านั้น
mandatory(แมน'ดะโทรี, -ทอรี) adj. (เกี่ยวกับ) คำสั่ง, อาณัติ, ข้อบังคับ, จำเป็น, ซึ่งได้รับคำสั่ง. n. ผู้ได้รับมอบอาณัติการปกครอง., See also: manditorily adv., Syn. obligatory
memory mapแผนที่แสดงการใช้หน่วยความจำหมายถึงแผนที่หรือแผนผังที่แสดงถึงการใช้หน่วยความจำส่วนที่เรียกว่า แรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละประเทศนั้นเอง สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้เลยก็ได้

Nontri Dictionary
behoove(vi, vt) จำเป็น, เหมาะสม
behove(vi, vt) จำเป็น, เหมาะสม
binding(adj) ผูกพัน, จำเป็น
bounden(adj) มีภาระ, มีพันธะ, จำเป็น, จำต้อง
essence(n) สิ่งจำเป็น, ส่วนสำคัญ, ปัจจัย, หัวใจ, แก่นแท้
essential(adj) จำเป็น, สำคัญ, เป็นหัวใจ, เป็นปัจจัย, เป็นเนื้อแท้, เป็นธรรมชาติ
exigency(n) เหตุด่วน, เหตุฉุกเฉิน, เรื่องด่วน, ความจำเป็น
imperative(adj) เชิงบังคับ, จำเป็น, ซึ่งเลี่ยงไม่ได้
imperative(n) คำสั่ง, ข้อบังคับ, กฎเกณฑ์, ความจำเป็น
imperious(adj) หยิ่ง, เผด็จการ, จำเป็น, เชิงบังคับ, เผด็จการ, ด่วน
indispensable(adj) ขาดไม่ได้, จำเป็น, สำคัญ
inevitable(adj) หนีไม่พ้น, เลี่ยงไม่ได้, จำเป็น
lavish(adj) ฟุ่มเฟือย, สุรุ่ยสุร่าย, เกินจำเป็น, มากเกินไป
lavish(vt) ใช้ฟุ่มเฟือย, ใช้สุรุ่ยสุร่าย, ทุ่มเท, ใช้มากเกินจำเป็น
lifeblood(n) สิ่งจำเป็น, สิ่งจรรโลงชีวิต
mandatory(adj) เกี่ยวกับอาณัติ, เกี่ยวกับคำสั่ง, จำเป็น, เกี่ยวกับข้อบังคับ
must(va) จำต้อง, จำเป็น, ต้อง, น่าจะ
necessarily(adv) โดยความจำเป็น, อย่างเลี่ยงไม่ได้, แน่แท้
necessary(adj) จำเป็น, ไม่มีทางเลี่ยง, สำคัญ, แน่แท้
necessitate(vt) ทำให้จำเป็น, บังคับ, ทำให้เลี่ยงไม่ได้
necessity(n) ความจำเป็น, สิ่งจำเป็น, ความแน่แท้, เครื่องบังคับ
need(n) ความต้องการ, ความจำเป็น, ของจำเป็น, ความขัดสน
need(vt) ต้องการ, จำเป็น, ประสงค์, ขาด
needful(adj) จำเป็น, ซึ่งต้องการ, จำต้อง
needless(adj) ไม่ต้องการ, ไม่มีความจำเป็น
needs(n) ความจำเป็น, ความต้องการ
needy(adj) ยากจน, ขาดแคลน, จำเป็น, ซึ่งต้องการมาก
nonessential(adj) ไม่สำคัญ, ไม่จำเป็น
perforce(adv) ด้วยความจำเป็น, ด้วยกำลัง, อย่างเลี่ยงไม่พ้น
prerequisite(adj) ที่จำเป็นต้องมี, ที่จำเป็นต้องทำก่อน
requirement(n) ข้อกำหนด, ความต้องการ, ความจำเป็น, ข้อบังคับ, การเรียกร้อง
requisite(adj) เป็นที่ต้องการ, จำเป็น
requisite(n) ความจำเป็น, สิ่งจำเป็น, สิ่งต้องการ
requisition(n) การเรียกร้อง, ปัจจัยที่จำเป็น
superfluity(n) ความฟุ่มเฟือย, ความไม่จำเป็น, ส่วนเกิน
superfluous(adj) ฟุ่มเฟือย, มากเกินต้องการ, ไม่จำเป็น
unnecessary(adj) ไม่จำเป็น
vital(adj) เกี่ยวกับชีวิต, สำคัญยิ่ง, จำเป็น

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
calzera[คัล-ซี-ร่า] (name, uniq) ชื่อนามแฝงของ เด็กไทย ที่ในยุคปัจจุบัน การใช้นามแฝงในลักษณะ คำที่สั้นๆไม่จำเป็นต้องมีความหมาย แต่พิมพ์ง่ายจำง่ายและดูดี เพราะในการสมัครไม่ต้องพิมพ์ _(underscore)หรือใช้ตัวเลขแปลกๆมาต่อท้ายเพื่อให้ unique ถิ่นฐาน:codename นี้มีถิ่นฐานอยู่ใน cp32 บริเวณที่พบบ่อย: เว็ปบอร์ดการ์ตูน และในเกมออนไลน์ รวมถึงบอร์ดรุ่น cp32
Facultative parasitism(n) เป็นปรสิตที่สามาถเจริญอยู่ได้โดยได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในพืชเพื่อให้ครบวงจรชีวิต สามารถเจริญหรือเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อได้
ineluctably { adv }[อิิน อะ ลัค เต บลี] (adv) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้, โดยความจำเป็น, , See also: inevitably, unavoidably, Syn. inescapably
Lap choldเกี่ยวข้องกับการกำจัดของถุงน้ำดีผ่านวิธีการผ่านกล้อง. ถุงน้ำดีมักจะเก็บน้ำดีที่ผลิตในตับจนกว่าจะจำเป็นสำหรับการย่อยอาหาร แต่น่าเสียดายที่ถุงน้ำดีมักจะเป็นโรคนิ่ว
lean(n, jargon) ศัพท์ธุรกิจ หมายถึง การปรับลดหรือตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลืองออก เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขัน หรือสร้างความสามารถทางธุรกิจ เป็นแนวคิดของโตโยต้าที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตของตนเองที่เรียกว่า TPS: Toyota Production System, See also: A. -, Syn. -
Turnkey(n) ลักษณะสัญญาซื้อทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขว่า มูลค่าทรัพย์สินเป็นมูลค่ารวมเบ็ดเสร็จจนกระทั่งทรัพย์สินสามารถใช้งานได้ โดยผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มอีก เนื่องจากการส่งมอบทรัพย์สินประเภทนี้ จำเป็นต้องมีขั้นตอนการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ อบรมวิธีการใช้ ตรวจรับ ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้จึงจะสามารถใช้งานได้ สัญญาซื้อทรัพย์สินเหล่านี้จึงมี 2 ลักษณะคือ Time and Material และ Turnkey โดย Time and Material จะเป็นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ซื้อตามระยะเวลา (เช่น จำนวนวัน-คน หรือ Man-Day) ที่ใช้ไปจริง ตามอัตราที่ตกลงกันตามสัญญา

Longdo Approved JP-TH
不要[ふよう, fuyou] (n, adj) ไม่จำเป็น, ไร้ประโยชน์, ไม่ต้องการ, Ant. 必要
取り敢えず[とりあえず, toriaezu] มีสิ่งที่ต้องทำหรือจัดการหลายอย่าง แต่อย่างน้อยก็เลือกทำสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน
必要[ひつよう, hitsuyou] (n, adj) ความจำเป็น, สิ่งที่ต้องการ, Syn. 必要性, Ant. 不要
必須[ひっす, hissu] (adj) จำเป็น, ขาดไม่ได้
節約[せつやく, setsuyaku] (n) การประหยัด ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
自由席[じゆうせき, jiyuuseki] (n) ที่นั่งที่ไม่จอง (ไม่จำเป็นต้องจอง)

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
余計[よけい, yokei] เกินความจำเป็น
気を回す[きをまわす, kiwomawasu] (exp) การคิดวกวน, การย้ำคิด, การคิดอะไรเกินจำเป็น

Saikam JP-TH-EN Dictionary
行事[ぎょうじ, gyouji] TH: งานหรือพิธีการที่จัดขึ้นเป็นประจำเป็นประเพณีหรือธรรมเนียมของสังคม
必要[ひつよう, hitsuyou] TH: ความจำเป็น  EN: necessity (an)
必要[ひつよう, hitsuyou] TH: จำเป็น  EN: need

Longdo Approved DE-TH
durchausทั้งนี้และทั้งนั้น, ทุกวิถีทาง, จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น Er möchte durchaus in diese Schule gehen. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเขาต้องการจะเข้าโรงเรียนนี้, Syn. unbedingt
sieเขาผู้หญิง หรือ เขาหลายๆ คน (ไม่จำเป็นต้องผู้หญิงอย่างเดียว)
erforderlich(adj) ที่จำเป็น, สำคัญ เช่น erforderliche Qualifikation คุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี, See also: nötig, Syn. notwendig
brauchen(vt) |brauchte, hat gebraucht| ต้องการ, จำเป็นต้องมี เช่น Brauchst du meine Hilfe beim Umziehen? เธอต้องการความช่วยเหลือจากฉันตอนย้ายบ้านไหม
brauchen zu inf.(vi) จำเป็นต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น Ihr braucht nicht auf mich zu warten. พวกเธอไม่จำเป็นต้องรอฉันนะ
Kleidung(n) |die, nur Sg.| เสื้อผ้า (ใช้เรียกโดยรวม) เช่น Man braucht unbedingt warme Kleidung für den Winter. ผู้คนจำเป็นต้องมีเสื้อผ้าที่อบอุ่นสำหรับฤดูหนาว
Tätigkeit(n) |die, pl. Tätigkeiten| งานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่(ไม่จำเป็นต้องเป็นงานประจำเสมอ) เช่น Zu seinem einzigartigem Lebenswerk gehöre neben seiner Schauspielerkarriere auch seine erfolgreiche Tätigkeit als Maler, Regisseur, und Autor. นอกเหนือจากอาชีพนักแสดงแล้ว ผลงานชิ้นเอกของเขายังมี งานที่ประสบความสำเร็จในฐานะจิตรกร ผู้กำกับการแสดง และนักประพันธ์อีกด้วย, Syn. Beschäftigung
müssen|muß, mußte, hat gemußt| ต้อง (เป็นกริยาช่วย บ่งความจำเป็น, การบังคับ) เช่น Du muß dich erst mal ausruhen!, Alle Menschen müssen sterben.
Terrasse(n) |die, pl. Terrassen| ลานหน้าบ้าน, ลานหลังบ้าน, เฉลียงหรือระเบียงบ้านที่อยู่ติดกับพื้นดิน(ไม่จำเป็นต้องมีรั้วกั้นเป็นขอบ) เช่น Im Urlaub haben wir uns auf der Terrasse im Hotel getroffen und zusammen gefrühstückt. เราเจอกันช่วงหยุดพักร้อนที่เฉลียงของโรงแรม และทานอาหารเช้าด้วยกัน, See also: Related: Balkon
Mangel(n) |der, pl. Mängel, an + D| การขาดแคลน(สิ่งที่จำเป็น) เช่น Der Patient leidet unter Mangel an weissen Blutkörperchen. คนไข้ป่วยเนื่องจากขาดเม็ดเลือดขาว
Philharmonie(n) |die, pl. Philharmonien| วงดนตรีคลาสสิคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยนักดนตรีอาชีพมากกว่า 80 คน จนถึงขนาด 100 กว่าคน ซึ่งสามารถบรรเลงเพลงคลาสสิคขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องดนตรีครบทุกชนิดได้ (ในสมัยก่อนหมายถึงวงดนตรีที่นักดนตรีอาสาเข้ามาเล่นดนตรีโดยไม่จำเป็นต้องได้รับค่าตอบแทน แต่ในปัจจุบันความหมายได้กลายเป็นความหมายเดียวกับ symphony orchestra โดยนักดนตรีในวง philharmonic orchestra ได้กลายเป็นนักดนตรีอาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนประจำจากวง)
bedeutend(adj, adv) มีความสำคัญต่อ, มีความหมายต่อ, ที่มีความจำเป็น เช่น Mit Rücksicht auf meinen Hals musste ich den Vortrag leider bedeutend verkürzen.; Sicher aber ist, dass die Burg im Mittelalter bedeutend größer war als die heutige Anlage. Im Jahr 1525 wurde sie während der Bauernkriege nahezu zerstört.
Notwendigkeit(n) |die, pl. Notwendigkeiten| ความจำเป็น เช่น Es ist keine Notwendigkeit die Waffe bei sich zu führen.

Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
notwendig(adv) จำเป็น มีความจำเป็น
philharmonic orchestra(n) วงดนตรีคลาสสิคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยนักดนตรีอาชีพมากกว่า 80 คน จนถึงขนาด 100 กว่าคน ซึ่งสามารถบรรเลงเพลงคลาสสิคขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องดนตรีครบทุกชนิดได้ (ในสมัยก่อนหมายถึงวงดนตรีที่นักดนตรีอาสาเข้ามาเล่นดนตรีโดยไม่จำเป็นต้องได้รับค่าตอบแทน แต่ในปัจจุบันความหมายได้กลายเป็นความหมายเดียวกับ symphony orchestra โดยนักดนตรีในวง philharmonic orchestra ได้กลายเป็นนักดนตรีอาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนประจำจากวง), See also: chamber orchestra, Syn. symphony orchestra

Longdo Approved FR-TH
madameเป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงที่สุภาพ ไม่จำเป็นต้องแต่งงานแล้ว คล้ายกับ นางและนางสาว ที่ฝรั่งเศสใช้ทั้งในภาษาเขียนและพูด โดยเฉพาะตามร้านค้าและสถานที่ราชการ และส่วนใหญ่ตามด้วยนามสกุล เช่น Madame Chantel ในภาษาเขียน ย่อเป็น Mme. Chantel, See also: mademoiselle, Ant. monsieur, Related: mademoiselle

Time: 0.0545 seconds, cache age: 24.379 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/