กวางตุ้ง ๑ | (กฺวาง-) น. ชื่อมณฑลหนึ่งในประเทศจีน, ชาวจีนในมณฑลนี้, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. |
กะดี | คำที่ใช้เรียกศาสนสถานของศาสนาอื่น เช่น กะดีเจ้าเซ็นและกะดีขาวเป็นมัสยิดของชาวมุสลิม กะดีจีนเป็นศาลเจ้าของชาวจีน, ปัจจุบันคือมัสยิดหรือสุเหร่า. (เลือนมาจาก กุฎี). |
กุฎี | คำที่ใช้เรียกศาสนสถานของศาสนาอื่น เช่น กุฎีเจ้าเซ็นและกุฎีขาวเป็นมัสยิดของชาวมุสลิม กุฎีจีนเป็นศาลเจ้าของชาวจีน, โบราณเรียกว่า กะดี, ปัจจุบันคือมัสยิดหรือสุเหร่า. |
แคะ ๑ | น. ชาวจีนพวกหนึ่งในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เรียกว่า จีนแคะ, เรียกภาษาของชาวจีนพวกนี้ ว่า ภาษาแคะ. |
จีนเต็ง | น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทำการร่วมกันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). |
ชาว | น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรืออยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง หรือนับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์ หรืออยู่ในแวดวงเดียวกัน เช่น ชาวอักษร ชาวค่าย. |
ตี๋ | น. เด็กผู้ชายชาวจีน. |
ปลาจีน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae มีประวัติว่าชาวจีนได้นำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศจีนเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น เฉาฮื้อหรือปลาเฉา [ Ctenopharyngodon idellus (Cuvier) ] เล่งฮื้อหรือปลาเล่ง [ Hypophthalmichthys molitrix (Cuvier) ] ซ่งฮื้อหรือปลาซ่ง ( H. nobilisRichardson) ทั้งยังอาจหมายถึงปลาหลีฮื้อหรือปลาไน [ Cyprinus carpio (Linn.) ] ด้วย. |
โพ้นทะเล | ว. ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยมีทะเลกั้น, เรียกชาวจีน ที่อยู่นอกประเทศออกไปโดยมีทะเลกั้น ว่า จีนโพ้นทะเล. |
เล่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys molitrix (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวป้อม ท้องเป็นสันแหลม ตาอยู่ค่อนไปทางจะงอยปากแต่ต่ำกว่าแนวแกนลำตัว เกล็ดเล็กในแนวเส้นข้างตัวมี ๑๐๗-๑๑๕ เกล็ด เป็นปลาที่ชาวจีนนำมาเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ในบ่อเดียวกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร. |
หมวย | น. เด็กผู้หญิงชาวจีน. |
ฮกเกี้ยน | น. ชาวจีนในมณฑลฮกเกี้ยนของประเทศจีน, ชาวจีนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน. |
ฮวงซุ้ย | น. ที่ฝังศพของชาวจีน, ฮวงจุ้ย ก็ว่า. |