Chronic intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์] |
Mass number, A | เลขมวล, ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดกับน้ำหนักเชิงอะตอมของแต่ละไอโซโทป เช่น ยูเรเนียม-235 มีโปรตอน 92 อนุภาค และนิวตรอน 143 อนุภาค ดังนั้นเลขมวลคือ 235 <br>(ดู atomic mass และ atomic number ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Diplomatic Language | ภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Reciprocity of Rank of Envoys | หมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
specific gravity | ความถ่วงจำเพาะ, เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักของเหลวเมื่อเทียบน้ำหนักที่ปริมาตรเดียวกัน แต่ปริมาณของเหลวมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังนั้นการบอกค่าความถ่วงจำเพาะจึงต้องระบุอุณหภูมิ เช่นน้ำมัน ในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันนิยมใช้ค่าอนุพันธ์ความถ่วงจำเพาะในรูปของ API gravity [ปิโตรเลี่ยม] |
dropping point | จุดหยด, จุดหยด อุณหภูมิที่ทำให้จาระบีเปลี่ยนแปลงจากสถานะกึ่งของแข็งเป็นของเหลว จาระบีที่มีส่วนผสมของ Thickeners ที่แตกต่างกัน จะมีอุณหภูมิการเปลี่ยนแปลงสถานะที่แตกต่างกัน ดังนั้นจุดหยดของจาระบีสามารถใช้จำแนกประเภทของจาระบีได้ มีประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของจาระบี [ปิโตรเลี่ยม] |
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIR | ยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Halobutyl rubber | ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubber | ยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Vulcanisation or Vulcanization | วัลคาไนเซชัน คือ กระบวนการทางเคมีที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ทำให้ยางคงรูปและมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถผันกลับได้ (irreversible process) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ยางไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ [เทคโนโลยียาง] |
network structure | โครงผลึกร่างตาข่าย, โครงผลึกของธาตุหรือสารประกอบที่มีการจัดอะตอมในผลึกคล้ายตาข่าย คือทุกอะตอมจะสร้างพันธะกันในทุกทิศทางแบบสามมิติ ดังนั้นทุกอะตอมจึงถูกยึดไว้แน่น เคลื่อนที่ไม่ได้ สารที่มีโครงผลึกแบบนี้จึงมีความแข็งเป็นพิเศษ เช่น ผลึกของเพชร ผลึกซิลิคอนคาร์ไบด์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
atomic radius | รัศมีอะตอม, ความยาวครึ่งหนึ่งของระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งไปยังนิวเคลียสของอีกอะตอมหนึ่ง โดยการวัดแบบรัศมีโคเวเลนต์ รัศมีวันเดอวาลส์หรือรัศมีโลหะ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพันธะระหว่างอะตอมนั้น ๆ ดังนั้นรัศมีอะตอมของธาตุหนึ่งอาจมีค่าต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
laser | เลเซอร์, แสงที่เกิดจากการกระตุ้นอะตอมหรือโมเลกุลของสารประกอบหรือสารละลายบางชนิด เช่น ทับทิม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สผสมฮีเลียม-นีออน เป็นต้น เลเซอร์ซึ่งเกิดจากต้นกำเนิดชนิดหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยแสงซึ่งมีความถี่เดียวกันและเฟสตรงกัน ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะรวมลำแ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hub | ฮับ, อุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Hypertext Markup Language( HTML) | เอชทีเอ็มแอล, ภาษาที่ใช้จัดรูปแบบการแสดงผลของข้อความและรูปภาพ รวมถึงสื่อประสมบนหน้าเว็บ ดังนั้นเอชทีเอ็มแอลจึงไม่ได้ถูกจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างแท้จริง แต่เป็นการกำหนดวิธีการในการแสดงผล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
router | อุปกรณ์จัดเส้นทาง, อุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
accordingly | (อะคอร์' ดิงลี่) adj., adv. ตาม, สอดคล้อง, ดังนั้น., Syn. consequently, therefore |
adrenal gland | ต่อมหมวกไต มีส่วนประกอบ 2 ส่วน 1. ส่วนเปลือก (adrenal cortex) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 1.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได้แก่ cortisone , hydrocortisone ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้จำนวนกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น และไกลโคเจนจะถูกสะสมในตับมากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ในขณะที่ร่างกายเครียดจะหลั่ง ACTH และ cortisoneออกมาโดยผ่านทาง higher center ของระบบประสาทส่วนกลาง เราจึงมักพบ cortisone ในสภาวะที่ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ถูกของร้อน มีคม ไข้สูง ฯลฯ 1.2 ไมเนอราลคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได่แก่ aldosterone deoxycorticosterone ซึ่งมีจำนวนน้อย ทั้งสองฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมน้ำและเกลือแร่ 1.3 sex hormone แยกย่อยได้เป็น Estrogen Progesterone Androgen 2. ส่วนแกน (adrenal medulla) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญคือ 2.1 adrenaline หรือ epinephrine ทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังและอวัยวะภายในบีบตัว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เร่งการสลาย glycogen ในตับเพื่อเปลี่ยนเป็น glucose ทำให้นเตาลในเลือดสูงขึ้น 2.2 noradrenaline ไม่มีผลต่อการเผาผลายอาหารในร่างกาย แต่มีผลทำให้เลือดหดตัว หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดสุงขึ้น ขยายหลอดลม แต่ไม่มีผลต่อระดับ้ำตาลในเลือด |
hence | (เฮนซฺ) adv. เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, ตั้งแต่นี้ต่อไป, ขณะนี้. interj. จากไป |
inasmuch as | (อินอั?มัชฺ' แอส) เมื่อเป็นเช่นนั้น, ดังนั้น, Syn. since, insofar as |
insomuch | (อินโซมัชฺ') adv. ดังนั้น, ตราบเท่าที่, ถึงขั้นนี้, Syn. inasmuch |
interphase | เป็นระยะแรกในการแบ่งตัวของเซลล์แบบ mitosis เป็นระยะที่เตรียมพร้อมดังนั้นในระยะนี้นิวเคลียสจะสะสมทุกอย่างและมี metabolism มากที่สุด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า metabolivc stage ในระยะนี้โครโมโซมจะมีการจำลองตัวเอง โดยการสร้างโครโมโซมขึ้นมาใหใภายในตัวมีลักษรัเหมือนเดิมทุกอย่างแต่สลับข้างกัน |
so | (โซ) adv. ดังนั้น, เช่นนั้น, เช่นนี้, ฉันนั้น, อย่างนั้น, อย่างยิ่ง, จริง ๆ , มากยิ่ง, โดยแน่แท้, เหตุฉะนั้น, เหตุฉะนี้, แล้วทำไม. conj. ดังนั้น, ถ้า, ถ้าเช่นนั้น, โดยมีเงื่อนไขว่า, เพียงแต่, ขอให้ pron. ดังนั้น, เช่นนั้น, จนกระทั่ง, จนถึงกับ, ในราว, ราว ๆ นั้น, ประมาณ interj. คำอุทาน, เมินเฉย |
such | (ซัชฺ) adj. เช่นนั้น, เช่นนี้, ดังนั้น, ดังนี้, นั้น, นั้น ๆ , นั่น, แท้, จริง ๆ , แน่นอน. pron. คนเช่นนี้, คนเช่นนั้น, สิ่งนี้, สิ่งนั้น, -Phr. (as such ดังนั้น, ดังนี้, เช่นนั้น เช่นนี้) -Phr. (such as เช่น ตัวอย่างเช่น) -Phr. (such and such เป็นต้น เป็นอาทิ) |
then | (เธน) adv. ดังนั้น, ในเวลานั้น, ถ้าเป็นเช่นนั้น, อีกประการหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, นอกจากนั้น, ในกรณีนั้น, เพราะฉะนั้น, then and there ในขณะนั้นทันที. adj. เช่นนั้น, ดังนั้น. n. เวลานั้น |
thence | (เธนซฺ) adv. จากที่นั้น, จากนั้น, ตั้งแต่นั้นต่อมา, เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, Syn. thenceforth |
thenceforce | (เธนซฺ'ฟอร์สฺ) adv. ตั้งแต่นั้นต่อมา, ดังนั้น., Syn. thenceforward s |
thereby | (แธร์'ใบ') adv. ดังนั้น, ดังนั้น, ด้วยเหตุนั้น, ด้วยวิธีนั้น |
thereupon | adv. หลังจากนั้นทันที, ทันทีทันใดที่, เกี่ยวกับสิ่งนั้น, พอเช่นนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, เหตุฉะนั้น., Syn. promptly |
therewith | (แธร์'วิธ) adv. กับสิ่งนั้น, นอกจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, Syn. thereupon |
accordingly | (adv) ตาม, สอดคล้อง, ดังนั้น, เพราะฉะนั้น |
consequently | (adv) เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, ผลที่สุดก็คือ |
inasmuch | (adv) เท่าที่, ดังนั้น, เช่นนั้น, เนื่องจาก |
insomuch | (adv) จนกระทั่งว่า, ดังนั้น, ตราบเท่าที่, ถึงขั้นนี้ |
so | (adv) มาก, ดังนั้น, เช่นนั้น, เช่นเดียวกัน, อย่างนั้น, เพราะฉะนั้น |
such | (adj) เช่นกัน, เช่นนั้น, เช่นนี้, ดังนั้น, จริงๆ, แท้ๆ |
then | (adj) ในครั้งนั้น, เช่นนั้น, ดังนั้น |
then | (con) นอกจากนั้น, ดังนั้น, ต่อมา |
thenceforth | (adv) นับตั้งแต่นั้นมา, ดังนั้น |
thenceforward | (adv) นับตั้งแต่นั้นมา, ดังนั้น |
thereat | (adv ณ) ที่นั้น, ดังนั้น, ในเวลานั้น, เพราะเหตุนั้น |
thereby | (adv) โดยทางนั้น, ด้วยเหตุนั้น, ด้วยวิธีนั้น, ดังนั้น |
therefore | (adv) เพราะฉะนั้น, ดังนั้น, เช่นนั้น, เนื่องจากนั้น, โดยเหตุนั้น |
therewith | (adv) กับสิ่งนั้น, ถัดจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น, นอกจากนั้น |
therewithal | (adv) กับสิ่งนั้น, นอกจากนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น |
thus | (adv) เช่นนี้, ดังนั้น, ดังนี้, ด้วยเหตุนี้, ด้วยประการฉะนี้ |
whence | (adv) จากที่นั้น, ดังนั้น, จากไหน, ด้วยเหตุอะไร |
whence | (con) จากที่นั้น, ดังนั้น, จากที่ซึ่ง, ด้วยเหตุฉะนั้น, ดังนั้น |
whereupon | (adv) ต่อจากนั้นมา, ดังนั้น, ด้วยเหตุนั้น, หลังจากนั้น |
whereupon | (con) ต่อจากนั้นมา, ดังนั้น, ด้วยเหตุนั้น |
dadurch | ดังนั้น, ด้วยวิธีนั้น |
darum | ดังนั้น เช่น Er möchte reich werden. Darum muß er viel arbeiten. เขาอยากรวย เขาจึงขยันทำงาน, See also: deshalb, Syn. daher |
deshalb | (adv) ดังนั้น เช่น Er ist sehr nett zu allen Leuten, und ist deshalb sehr beliebt. เขาดีต่อทุกคน ดังนั้นเขาจึงเป็นที่ชื่นชอบ, See also: darum, deswegen, Syn. daher |
schweigen | (vi) |schwieg, hat geschwiegen| นิ่งเงียบ และ ไม่แสดงความคิดเห็น หรือ ไม่เปิดเผยในสิ่งที่รู้ หรือ ไม่ตอบ ก็เป็นได้ นะเนี่ย ตัวอย่างการใช้ คำ 1° Du solltest auf all seine Fragen schweigen! = เธออย่าได้ตอบคำถามของเขาเชียวนะ แม้จะคำถามเดียวก็เหอะ (นั่น เป็นงั้นไปได้, ยังกะในละคร แนะ ) 2° Darüber sollten wir lieber schweigen. = ผมเห็นว่า พวกเราน่าจะนิ่งเฉยกับเรื่องนี้เอาไว้ดีกว่านะ ( เพิ่มเติม, ผู้พูดแนะนำให้ทำ ดังนั้นเขาจึง ใช้กริยาเป็น sollten เช่น solltest ในตัวอย่างที่ 1 ด้วยเหมือนกัน ) 3° Sebastian, er steht schweigend vor seinen Eltern. = เซบาสเทียน, เขายืนนิ่ง ไม่พูดอะไรสักคำต่อหน้าพ่อแม่ของเขา ( กริยา Infinitiv เติมด้วย d จะทำหน้าที่เป็น Adjektiv หรือ Adverb เช่นคำว่า schweigend ในประโยค ตัวอย่าง ), See also: verheimlichen, A. verraten, antworten, sagen, Syn. still sein |
deswegen | (konj) |กริยาอยู่เป็นอันดับสอง| ดังนั้น, จึง เช่น Es ist stürmisch, deswegen bleiben wir zu Hause. ลมพายุพัดแรง ดังนั้นเราเลยอยู่บ้านกัน, See also: daher, deshalb, A. weil, da, denn, Syn. darum |
Mängel | (n) |nur pl.| ความผิดปกติ เช่น Das Gebrauchauto hat zuviel Mängel, deshalb möchte ich es nicht kaufen. รถมือสองคันนี้มีอะไรแปลกๆเยอะ ดังนั้นฉันจึงไม่อยากซื้อมัน |
absehen | (vi) |sieht ab, sah ab, hat abgesehen, von etw.| มองข้าม, ไม่ให้ความสำคัญ (ใช้ในรูปของ Partizip Perfekt คือ abgesehen von) เช่น Abgesehen von innerer Ruhe und Entspanntheit, bringt die Meditation uns dazu, die Dinge die uns umgeben zu betrachten. ถ้ามองข้ามความสงบภายในและการผ่อนคลายแล้ว การทำสมาธิทำให้เราพิจารณาสิ่งที่อยู่รอบกาย, Deshalb habe ich vom Kauf bei dieser Firma abgesehen. ดังนั้นฉันจึงไม่เคยคิดจะซื้อของจากบริษัทนี้เลย |
Ich habe den Sprung ins kalte Wasser gewagt. | กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรบางอย่าง (แปลตามตรง ฉันกล้าที่จะกระโดดลงไปในน้ำเย็น ในที่นี้ไม่ใช้น้ำร้อนเพราะว่าถ้าโดดลงไปในน้ำร้อน เราก็จะพอเดาผลได้ คือตัวเราเองจะโดนต้มสุก แต่การกระโดดลงไปในน้ำเย็นนั้น เราไม่รู้ว่าเราจะหนาวจนตาย แข็งจนตาย หรือรอดชีวิตได้ เพราะในน้ำเย็นอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่เราจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นในที่นี้จึงหมายความว่าเป็นการเสี่ยงในการทำอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่รู้ผลลัพธ์ที่ตามมา) |