จุลอุปรากร | น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบทสนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. |
เบิกโรง | ก. แสดงก่อนดำเนินเรื่อง เช่น รำเบิกโรง. |
มหาอุปรากร, อุปรากร | น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจังหนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. |
ร่าย ๑ | ทำนองร้องสำหรับดำเนินเรื่องของโขนละคร มี ๒ อย่าง คือ ร่ายในและร่ายนอก ร่ายในสำหรับโขนและละครใน ร่ายนอกสำหรับละครนอกและละครทั่วไป. |
ละครดึกดำบรรพ์ | น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เรื่องที่แสดง เช่น อิเหนา คาวี สังข์ศิลป์ชัย, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร). |
ละครพูด | น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา. |
ละครเพลง | น. ละครเวทีแบบหนึ่ง ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากล ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกายแบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง ต้องการเน้นเพลง เช่น จุฬาตรีคูณ บางครั้งนำบทละครเวที เช่น เรื่องราชินีบอด เรื่องเปลวสุริยา มาดัดแปลงเป็นละครเพลง. |
ละครร้อง | น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องและมีลูกคู่ช่วยร้องเป็นตอน ๆ มีบทเจรจาแทรก มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า. |
ละครเวที | น. ละครแบบหนึ่ง แสดงบนเวที มีฉากสมจริงและมีการปิดเปิดม่าน ผู้แสดงดำเนินเรื่องด้วยบทเจรจา เช่น เรื่องผกาวลี ดำเนินเรื่องโดยการแสดงบทและเจรจาอาจมีเพลงแทรกบ้าง เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ดรรชนีนาง ขุนศึก ศรอนงค์ พันท้ายนรสิงห์. |
วิจาร, วิจารณ-, วิจารณ์ | (วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน) ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ. |
วิพากษ์วิจารณ์ | ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ. |
อุปรากร | (อุปะรากอน, อุบปะรากอน) น. ละครเพลงประเภทหนึ่ง ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมผสานการบรรเลงจากวงดุริยางค์. |