ขัตติย- | (-ยะ-) น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
ขัตติยมานะ | น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์. |
ตติย- | (ตะติยะ-) ว. ที่ ๓, คำรบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ตติยวาร คือ วาระที่ ๓. |
ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม. |
นิสภ- | (-สะพะ-) ว. ผู้ประเสริฐ เช่น นิสภขัตติยวราเรืองพระยศ (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
พระยาโต๊ะทอง | น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง. |
รัตนโกสินทร์ | น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์. |
รูปฌาน | (รูบปะชาน) น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ขั้น คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน. |
รูปพรหม | (รูบปะพรฺม) น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกมีรูป มี ๑๖ ชั้น ได้แก่ ผู้ได้บรรลุปฐมฌาน มี ๓ ชั้น คือ ปาริสัชชาพรหม ปโรหิตาพรหม และมหาพรหมา ผู้ได้บรรลุทุติยฌาน มี ๓ ชั้น คือ ปริตตาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหม และอาภัสสราพรหม ผู้ได้บรรลุตติยฌานมี ๓ ชั้น คือ ปริตตสุภาพพรหม อัปปมาณสุภาพรหม และสุภกิณหาพรหม ผู้ได้บรรลุจตุตถฌาน มี ๗ ชั้น คือ เวหัปผลาพรหม อสัญญีสัตตาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม และ อกนิฏฐาพรหม, คู่กับ อรูปพรหม. |
Tertiary source | เอกสารตติยภูมิ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Tertiary source | เอกสารตติยภูมิ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
พระอิสริยยศ | ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้าพระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมจึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระ นามเดิม เช่น พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ [ศัพท์พระราชพิธี] |
Tertiary Recovery | การผลิตขั้นตติยภูมิ, Example: เมื่อมีการผลิตขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิแล้ว เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ก็ยังไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบชนิดหนักและชนิดปานกลาง ดังนั้นจึงมีน้ำมันดิบเหลือพอที่จะ กระตุ้นให้เกิดการใช้การผลิตขั้นตติยภูมิขึ้น การผลิตขั้นตติยภูมินี้อาจแบ่งเป็น 3 ชนิด คือชนิดที่ใช้กระบวนการความร้อน (thermal process) ชนิดที่ใช้กระบวนการผสมตัว (miscible process) และชนิดที่ใช้กระบวนการทางเคมี (chemical process) โดยชนิดแรกส่วนมากใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดหนัก และสองชนิดหลังใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดเบา และชนิดปานกลางแต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และผลการทดลองใช้จริงไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การใช้การผลิตขั้นตติยภูมิจึงไม่แพร่หลาย [ปิโตรเลี่ยม] |
Enhanced Oil Recovery | วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติ, วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว ได้แก่ การผลิตขั้นทุติยภูมิ และ การผลิตขั้นตติยภูมิ (ดูคำ Secondary Recovery และ Tertiary Recovery) [ปิโตรเลี่ยม] |
Codes, Triplet | รหัสตติยะ [การแพทย์] |
recycle | แปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่, นำผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่ใช้งานแล้ว เข้าสู่กระบวนการผลิตให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งแบ่งได้เป็น การรีไซเคิลปฐมภูมิ การรีไซเคิลทุติยภูมิ และการรีไซเคิลตติยภูมิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tertiary recycling | การรีไซเคิลตติยภูมิ, การรีไซเคิลขยะที่ใช้แล้วโดยการสกัดสารเคมีหรือพลังงานจากขยะ เช่น การสกัดตะกั่วจากแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |