กัมมันตรังสี | (กำมันตะ-) ว. ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุหรือสาร). |
ฉิ่งตรัง | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงฉิ่ง อัตราชั้นเดียว. |
ตรัง | (ตฺรัง) ก. ติดอยู่ เช่น ปู่จะใช้ชาวคลงง สิ่งสินตรังตรา ส่งแล (ม. คำหลวง มหาราช). |
ตรังค-, ตรังค์ | (ตะรังคะ-, ตะรัง) น. ลูกคลื่น. |
ตรังคนที, ตรังควชิราวดี | น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง, คู่กับ มหาตรังคนที. |
ศรีตรัง | น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Jacaranda วงศ์ Bignoniaceae ต้นอาจสูงได้ถึง ๑๐ เมตร ใบเป็นฝอยเล็ก คือ ชนิด J. filicifolia (G. Anderson) D. Don ดอกสีม่วงปนน้ำเงิน และชนิด J. mimosifolia D. Don ดอกสีม่วง. |
กระชง | ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น (นิ. ตรัง). |
กระหง่อง, กระหน่อง ๑ | ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
คูเรียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
แคลิฟอร์เนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
จังเก | น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว (โคลงพระยาตรัง). |
ดิน ๒ | น. ชื่องูขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Typhlops วงศ์ Typhlopidae ขนาดประมาณไส้ดินสอดำ ตาเล็กมีเกล็ดใสครอบ หัวและลำตัวมีขนาดไล่เลี่ยกัน ตัวสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม เกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช ( T. khoratensis Taylor) งูดินตรัง ( T. trangensis Taylor) . |
ทอเรียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐ ° ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
เทคนีเชียม | น. ธาตุลำดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
เนปทูเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. |
โนเบเลียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
เบอร์คีเลียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๗ สัญลักษณ์ Bk เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
ปฏิกรณ์ | น. เครื่องที่ใช้สำหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทางนิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สารกัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู. |
พลูโทเนียม | (พฺลู-) น. ธาตุลำดับที่ ๙๔ สัญลักษณ์ Pu เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
พอโลเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔ ºซ. |
โพรโทแอกทิเนียม | (โพฺร-) น. ธาตุลำดับที่ ๙๑ สัญลักษณ์ Pa เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาอ่อน หลอมละลายที่ ๑๒๓๐ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี, โพรแทกทิเนียม ก็เรียก. |
โพรมีเทียม | (โพฺร-) น. ธาตุลำดับที่ ๖๑ สัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๒๗ °ซ. |
เฟอร์เมียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๐ สัญลักษณ์ Fm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
แฟรนเซียม | (แฟฺรน-) น. ธาตุลำดับที่ ๘๗ สัญลักษณ์ Fr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๗ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี. |
เมนเดลีเวียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๑ สัญลักษณ์ Md เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
ยูเรเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๒ สัญลักษณ์ U เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว เนื้อแข็ง หลอมละลายที่ ๑๑๓๒ °ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์. |
รัทเทอร์ฟอร์เดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหพันธรัฐรัสเซียเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. |
เรดอน | น. ธาตุลำดับที่ ๘๖ สัญลักษณ์ Rn เป็นแก๊สกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นแก๊สเฉื่อย. |
เรเดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๘๘ สัญลักษณ์ Ra เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะที่หายากมาก หลอมละลายที่ ๗๐๐ ºซ. ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็ง. |
ลอว์เรนเซียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
อะเมริเซียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๕ สัญลักษณ์ Am เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
แอกทิเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๘๙ สัญลักษณ์ Ac เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๐๕๐ ํซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
แอลฟา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. |
แอสทาทีน | น. ธาตุลำดับที่ ๘๕ สัญลักษณ์ At เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
ไอน์สไตเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๙๙ สัญลักษณ์ Es เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
ฮาห์เนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๐๕ สัญลักษณ์ Ha เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Radioactive element | ธาตุกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Radioactive substance | สารกัมมันตรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Radioactive contamination of milk | การปนเปื้อนกัมมันตรังสีในน้ำนม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Actinide series | อนุกรมแอกทิไนด์, กลุ่มธาตุในตารางพีริออดิก ตั้งแต่ลำดับที่ 89 แอกทิเนียม (actinium, Ac) จนถึงลำดับที่ 103 ลอว์เรนเซียม (lawrencium, Lr) รวม 15 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น [นิวเคลียร์] |
Activation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Activation analysis | การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี, การจำแนกชนิดและตรวจหาปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาลักษณะเฉพาะที่ปลดปล่อยจาก <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดขึ้นจากการนำสารตัวอย่างนั้นไปก่อกัมมันตภาพรังสี (ดู Activation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Activation products | ผลผลิตจากการก่อกัมมันตภาพรังสี, <em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ที่เกิดจาก<em>การก่อกัมมันตภาพรังสี</em> (ดู Fission products ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Activity | กัมมันตภาพ, <em>การสลาย</em>ของ<em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ต่อหน่วยเวลา ปัจจุบันหน่วยที่ใช้ คือ <em>เบ็กเคอเรล</em> คำนี้ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurement: ICRU No. 33) ให้ความหมายว่า เป็นจำนวนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่งที่สลายเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที (ดู Becquerel, Bq และ Curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Activity concentration | ความเข้มข้นกัมมันตภาพ, <em>กัมมันตภาพ</em>ของ<em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ต่อหน่วยปริมาตร เช่น เบ็กเคอเรลต่อมิลลิลิตร (Bq/ml) มิลลิคูรีต่อมิลลิลิตร (mCi/ml) [นิวเคลียร์] |
Acute intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว [นิวเคลียร์] |
Annual Limit on Intake | เอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์] |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Annual dose | ปริมาณรังสีรอบปี, ปริมาณรังสีรวมในรอบปีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย และจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย, Example: [นิวเคลียร์] |
Area monitoring | การเฝ้าสังเกตพื้นที่, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัดพื้นที่ในสถานปฏิบัติการทางรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Atomic energy | พลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์] |
Autoradiograph | ภาพรังสีในตัว, ภาพบันทึกการกระจายของรังสีจากสารกัมมันตรังสีในวัตถุหรือสิ่งมีชีวิต โดยวางวัตถุนั้นไว้ใกล้แผ่นฟิล์มถ่ายภาพหรือเยื่อไวแสง (emulsion) รังสีที่แผ่ออกมาจะทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์มหรือเยื่อไวแสง (ดู radiography ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Background radiation | รังสีพื้นหลัง, รังสีจากสิ่งแวดล้อมซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง เช่น รังสีคอสมิกจากอวกาศ รังสีจากสารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติที่มีอยู่ในดิน น้ำ อากาศ อาหาร รวมทั้งที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ (ดู natural exposure ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Becquerel | เบ็กเคอเรล, หน่วยเอสไอที่ใช้วัดกัมมันตภาพ ปัจจุบันใช้แทนหน่วยคูรี 1 เบ็กเคอเรล หมายถึง การสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที (ดู curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Biological half-life | ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ, ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีในเนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง อันเนื่องมาจากกระบวนการทางชีวภาพ [นิวเคลียร์] |
Boron Neutron Capture Therapy | บีเอ็นซีที, รังสีรักษาโดยการจับยึดนิวตรอน, การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด โดยการฉีดสารประกอบโบรอนเสถียรให้ไปสะสมในเซลล์มะเร็ง แล้วฉายรังสีนิวตรอนไปที่บริเวณนั้น อะตอมโบรอนจะจับยึดนิวตรอนไว้กลายเป็นโบรอนกัมมันตรังสี ซึ่งจะสลายพร้อมกับปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้น (ดู neutron capture ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Body burden | ปริมาณสะสมในร่างกาย, ปริมาณสารกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ (ดู Background radiation และ Wholebody counter ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Brachytherapy | รังสีรักษาระยะใกล้, การรักษาโดยใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นของแข็ง ฝังไว้ในร่างกายใกล้ๆ กับบริเวณที่ต้องการรักษา, Example: [นิวเคลียร์] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Chronic exposure | การรับรังสีต่อเนื่อง, การรับรังสีเป็นเวลานาน เช่น การรับรังสีจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอายุยาวในธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี [นิวเคลียร์] |
Chronic intake | การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์] |
Clean bomb | คลีนบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย (ดู dirty bomb ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Clearance | การปล่อยผ่าน, 1. การให้สารกัมมันตรังสีหรือวัสดุกัมมันตรังสีพ้นจากการดำเนินการภายใต้การควบคุมทางด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย 2. กระบวนการทางชีววิทยาในการขจัดสารกัมมันตรังสีออกจากอวัยวะหรือร่างกาย [นิวเคลียร์] |
Clearance level | ระดับปล่อยผ่าน, ค่าที่เท่ากับหรือน้อยกว่า ค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพรังสี หรือค่ากัมมันตภาพรังสีรวมของวัสดุกัมมันตรังสี หรือสารกัมมันตรังสี ที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดไว้ ให้พ้นจากการควบคุม [นิวเคลียร์] |
Coincidence counting | การนับรังสีบรรจวบ, การนับรังสีที่เกิดจากเหตุการณ์การแผ่รังสีลักษณะเฉพาะตั้งแต่สองเหตุการณ์ขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกิดในช่วงเวลาที่สัมพันธ์กัน การนับรังสีนี้เป็นวิธีหนึ่งเพื่อตรวจหาหรือจำแนกวัสดุกัมมันตรังสี และใช้เทียบมาตรฐานอัตราการสลายของวัสดุกัมมันตรังสีนั้น ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสี การถ่ายภาพทางการแพทย์ การศึกษารังสีคอสมิก และการวัดรังสีระดับต่ำ (ดู counter ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Committed dose | ปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์] |
Conditioning waste | การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี, กระบวนการปรับสภาพกากกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในภาชนะบรรจุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการต่อไป เช่น การขนส่ง การเก็บพัก และ/หรือ การขจัดกากกัมมันตรังสี การปรับสภาพกากกัมมันตรังสี ได้แก่ การทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง การหีบห่อ และการบรรจุในภาชนะหลายชั้น [นิวเคลียร์] |
Confinement | สิ่งกักกั้น, สิ่งที่สร้างขึ้นล้อมอุปกรณ์หลักของโรงงานนิวเคลียร์ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาการปล่อยวัสดุกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานปกติหรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น บ่อน้ำแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู containment ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Containment | อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อาคารหรือสิ่งก่อสร้างชั้นนอกที่ออกแบบให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อป้องกันเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จากอุบัติภัยภายนอก และเพื่อไม่ให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมกรณีเกิดอุบัติเหตุภายในอาคารหรือสิ่งกักกั้นชำรุดหรือเสียหาย [นิวเคลียร์] |
Contamination | การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ [นิวเคลียร์] |
Controlled area | พื้นที่ควบคุม, พื้นที่ที่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะในการควบคุมการรับรังสีจากการทำงาน หรือจำกัดการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกไปในระหว่างการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง หรือจำกัดโอกาสการได้รับรังสี, Example: [นิวเคลียร์] |
Cosmogenic radionuclides | นิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดจากรังสีคอสมิก, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกชนกับโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศของโลก เช่น ทริเทียม (<sup>3</sup>H) คาร์บอน-14 (C-14) โซเดียม-22 (Na-22) และ เบริลเลียม-7 (Be-7) [นิวเคลียร์] |
curie, Ci | คูรี, หน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7 x 10<sup>10</sup> ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีตั้งขึ้นตามชื่อของแมรี และปีแอร์ คูรี ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ พ.ศ. 2441 ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น เบ็กเคอเรล แทน โดย 1 คูรี เท่ากับ 3.7 x 10<sup>10</sup> เบ็กเคอเรล [นิวเคลียร์] |
Derived Air Concentration | ค่ากำหนดความเข้มข้นนิวไคลด์กัมมันตรังสีในอากาศ, ดีเอซี, ขีดจำกัดความเข้มข้นของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิดในอากาศ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณนั้นตลอดระยะเวลาทำงานใน 1 ปี ได้รับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายเท่ากับขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี โดยคำนวณจากแบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) (ดู annual limit on intake (ALI) ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Daughter nuclide | นิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Daughter nuclide | นิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Daughter product | นิวไคลด์ลูก, นิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ใดๆ ซึ่งเรียกว่า นิวไคลด์แม่ (ดู decay, radioactive ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Decay chain | ลูกโซ่การสลายกัมมันตรังสี , อนุกรมของนิวไคลด์ที่เริ่มต้นจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เรียกว่านิวไคลด์แม่ สลายตัวเป็นนิวไคลด์ลำดับต่อ ๆ กันไป ที่เรียกว่านิวไคลด์ลูก จนถึงผลผลิตสุดท้ายที่เป็นนิวไคลด์เสถียร [นิวเคลียร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Decommissioning | การเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ หลังจากเลิกดำเนินงาน วัสดุบางส่วนสามารถนำกลับมาแปรใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือจัดเก็บเป็นกากกัมมันตรังสี ส่วนสถานที่ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ (ดู commissioning ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Decontamination | การขจัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสี, การใช้กระบวนการทางเคมี ฟิสิกส์ หรือชีวภาพ เพื่อให้สารกัมมันตรังสีทั้งหมดหรือบางส่วน หลุดออกจากสิ่งที่เปื้อน [นิวเคลียร์] |
Dirty bomb | เดอร์ตีบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันคำนี้หมายรวมถึง ระเบิดที่มีสารกัมมันตรังสีรวมอยู่ด้วยเพื่อให้มีการกระจายของกัมมันตภาพรังสี [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disposal, waste | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Effective half-life | ครึ่งชีวิตยังผล, ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เพื่อลดกัมมันตภาพเหลือครึ่งหนึ่งของกัมมันตภาพตั้งต้น ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการการสลายกัมมันตรังสี และ กระบวนการทางชีวภาพ [นิวเคลียร์] |