40 ผลลัพธ์ สำหรับ *ตะเพียน*
หรือค้นหา: ตะเพียน, -ตะเพียน-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ตะเพียน(n) carp, See also: carp of the genus Puntius, Puntius javanicus, Syn. ปลาตะเพียน, Example: เขาชอบสีสันของปลาตะเพียนที่สุด, Count Unit: ตัว, Thai Definition: ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ
ปลาตะเพียน(n) fishshaped ornaments made of palm leaf, Example: เฉลียวสานปลาตะเพียนจากใบมะพร้าวอย่างสุดฝีมือเพื่อลูกชายคนแรกของเขา, Count Unit: พะวง, Thai Definition: เครื่องแขวนเหนือเปลให้เด็กดู ทำด้วยใบตาลเป็นต้น
ปลาตะเพียน(n) carp, Example: เพื่อนเกษตรกรในหมู่บ้านเขาขุดบ่อเลี้ยงปลาตะเพียน ปลานิลแล้วขายได้ราคาดี ผมเคยคิดทำตาม, Count Unit: ตัว, Thai Definition: ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มีลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ตะเพียนน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวแบนข้าง มีทั้งลำตัวสั้นกว้าง และลำตัวเรียวยาว เกล็ดมีสีขาวเงินหรือเหลืองทอง ขอบเรียบ มักมีหนวดสั้น ๒-๔ เส้น ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร ชนิดที่มีลำตัวสั้นกว้าง เช่น ตะเพียนขาว [ Barbonymus gonionotus (Bleeker) ] ตะเพียนทอง [ B. altus (Günther) ] ตะเพียนหางแดงหรือกระแห [ B. schwanenfeldi (Bleeker) ] ส่วนชนิดที่มีลำตัวเรียวยาว เช่น ตะเพียนทราย [ Puntius leiacanthus (Bleeker) ].
ตะเพียนเงินตะเพียนทองน. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะเป็นรูปปลาตะเพียนสีเงินตัวหนึ่ง สีทองตัวหนึ่ง เชื่อว่าเป็นสิริมงคลให้ทำมาค้าขึ้น.
ตะเพียนทองน. ชื่อปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus altus (Günther) หรือ Puntius altus (Günther) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้าง สีเงินหรือเหลืองทอง ครีบอกและครีบท้องสีเหลืองส้มสลับแดง ครีบหางสีเหลือง ขอบครีบหางสีแดงส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
ตะเพียนทองดู ฉลามเสือ ใน ฉลาม.
ตะเพียนน้ำเค็มดู โคก ๒.
ตะเพียนหางแดงดู กระแห, กระแหทอง.
ปลาตะเพียนน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ ดาวคางหมู ก็เรียก
ปลาตะเพียนชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวนาง ก็เรียก
ปลาตะเพียนเครื่องแขวนเหนือเปลให้เด็กดูทำด้วยใบตาลเป็นต้น.
กระมัง ๒น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก.
กระสูบน. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
กระแห, กระแหทองน. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ.
กระโห้น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
แก้มช้ำน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
ขี้ยอกน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Mystacoleucusวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด Mystacoleucus marginatus (Valenciennes), M. atridorsalis Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
คางหมูชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวพราหมี หรือ ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
โคก ๒น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
ฉลาม(ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith).
ฉลามเสือน. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก.
ตะพากน. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก.
ตุ่ม ๓น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius bulu (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ไม่มีหนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีลายพาดสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร เคยพบชุกชุมมากในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย.
นักษัตร ๑, นักษัตร-(นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง.
นาง ๑ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง เห็นเป็นรูปผู้หญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
ไน ๒น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
พราหมีชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี มี ๗ ดวง, ดาวคางหมู หรือ ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
เรวดีน. ดาวฤกษ์ที่ ๒๗ มี ๑๖ ดวง เห็นเป็นรูปหญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง ก็เรียก.
โรหิณีน. ดาวฤกษ์ที่ ๔ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปจมูกม้าหรือไม้คํ้าเกวียน, ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู ก็เรียก
เสือสุมาตราน. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Puntius gonionotusปลาตะเพียน [TU Subject Heading]
Carpปลาตะเพียน [การแพทย์]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ปลาตะเพียน[plā taphīen] (n, exp) EN: carp  FR: carpe [ f ]
ปลาตะเพียน[plā taphīen] (n, exp) EN: fishshaped ornaments made of palm leaf ; fishshaped ornaments tied around the waist of a child
ตะเพียน[taphīen] (n) EN: carp  FR: carpe [ f ]
วงศ์ปลาตะเพียน[wong plā taphīen] (n, exp) EN: Cyprinidae   FR: cyprinidés [ mpl ]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
bass(n) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายปลาตะเพียน, See also: ปลาที่ถูกจับมาเป็นอาหาร

Hope Dictionary
bream(บรีม) n. ปลาน้ำจืด ซึ่งคล้ายปลาตะเพียน

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
sea bream(n) ปลาตะเพียนทะเล

Time: 0.0427 seconds, cache age: 12.48 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/