ขี้ตะไคร่ | น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ ตามพื้นดิน หรือกำแพงที่ชุ่มชื้น เช่น ทางเดินมีขี้ตะไคร่ ระวังจะลื่น |
ขี้ตะไคร่ | คราบที่เกิดจากโคลนในน้ำ เช่น เด็ก ๆ เล่นน้ำนานจนขี้ตะไคร่จับหน้า. |
ตะไคร่ | (-ไคฺร่) น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ บางทีก็เกิดในนํ้าและตามพื้นดินหรือกำแพงที่ชุ่มชื้น. |
ตะไคร้ | (-ไคฺร้) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหาร. |
ตะไคร้แดง, ตะไคร้หอม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon nardus (L.) Rendle ในวงศ์ Gramineae ต้นใหญ่กว่าตะไคร้ กาบและขอบใบสีแดง กลิ่นหอม. |
ตะไคร้น้ำ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Homonoia riparia Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเรียวเล็ก มักขึ้นตามซอกหินในลำธารและริมนํ้า. |
ตะไคร้บก | ดู สนุ่น ๑. |
ตะไคร้หางนาค | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rotula aquatica Lour. ในวงศ์ Boraginaceae ขึ้นเป็นกอตามซอกหินริมลำธาร กิ่งเรียวกลมเหนียวมาก. |
น้ำตะไคร้ | น. นํ้าหอมชนิดหนึ่งมีลักษณะใส สีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาลแกมแดง สกัดจากต้นและใบตะไคร้. |
กอ ๑ | น. กลุ่มของต้นไม้ที่เกิดจากต้นหรือเหง้าเดียวกัน เช่น กอไผ่ กอตะไคร้ กอบัว, พืชที่ขึ้นหรือปลูกเป็นกลุ่ม เช่น กอหญ้า กอกุหลาบ. |
ไก่สามอย่าง | น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนู เข้าด้วยก็ได้. |
ข้าวยำ | น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว. |
ขี้แดด | น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ. |
ไคล ๑ | ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล. |
ต้มยำ | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือในกะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็ม อาจใส่นํ้าพริกเผา. |
ตรีผลธาตุ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณแก่ธาตุทั้ง ๔ จำนวน ๓ อย่าง คือ เหง้ากะทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้. |
น้ำเงี้ยว | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับผัดกับเครื่องแกงมีหอม กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง ถั่วเน่า เป็นต้น ต้มกับน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ เลือดหมู น้ำแกงมีรสเค็ม เผ็ดน้อย กินกับขนมจีน. |
น้ำนอง ๑ | น. ชื่อปลวกหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Isoptera ลำตัวสีดำหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินเป็นขบวนเพื่อมากินตะไคร่และคาบไปเลี้ยงตัวอ่อน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes medioflavusHolmgren, H. asahinaiMorimoto, H. birmanicus Snyder ในวงศ์ Termitidae. |
บวน | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้ม เครื่องแกงมีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น โขลกแล้วต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม ใบย่านาง เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ ปรุงให้มีรสหวาน เค็ม. |
ปก ๑ | ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. |
โป๊ะแตก | น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา. |
เรือดไม้ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ลำตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ชนิดมีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางใส ขณะหุบปีกคลุมตัวเป็นรูปคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตามตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือเรียก เหาหนังสือ เช่น ชนิด Psocatropos microps (Enderlein) ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก. |
ไรน้ำเค็ม | น. ชื่อสัตว์น้ำเค็มขาปล้องหลายชนิด ในสกุล Artemiaวงศ์ Artemiidae ขนาดยาว ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รยางค์อกมี ๑๑ คู่ แต่ละคู่มีเหงือก เพศผู้มีอวัยวะเพศที่ปล้องท้องปล้องที่ ๑ และ ๒ เพศเมียมีรังไข่ ๑ คู่ที่ปล้องอกปล้องท้าย ๆ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ กินตะไคร่น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ได้ในทุกระดับความเค็ม พบทั่วโลก นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ชนิด A. franciscanaKellogg, ไรสีน้ำตาล หรือ อาร์ทีเมีย ก็เรียก. |
สนุ่น ๑ | (สะหฺนุ่น) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix tetrasperma Roxb. ในวงศ์ Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้าหรือตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือกและรากใช้ทำยา, ตะไคร้บก ก็เรียก. |
สวนครัว | น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา. |