ตุ๊กตุ๋ย | (ตุ๊กกะ-) ว. ไม่สลักสำคัญอะไร. |
ตุ่ย | ว. ลักษณะนูนโป่งออกมา เช่น แก้มตุ่ย บวมตุ่ย. |
ตุ่ย ๆ | ว. กลิ่นเหม็นน้อย ๆ. |
ตุ้ย, ตุ้ย ๆ | ว. อาการที่เคี้ยวอาหารเต็มปากจนแก้มโป่งออกมา เช่น เคี้ยวตุ้ย ๆ กินตุ้ย ๆ. |
ตุ๊ย | ก. เอาหมัดกระแทกพุงเป็นต้น. (จ. ตุ๊ย ว่า ทุบ, ตี). |
ตุ๊ย | น. เรียกตัวตลกที่ออกมาขัดจังหวะในการสวดคฤหัสถ์ว่า ตัวตุ๊ย. |
ตุ๊ยตุ่ย, ตุ๋ยตุ่ย | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงดังตุ๊ยตุ่ยคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน. |
ฐกัด | (ถะกัด) ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู (ม. คำหลวง ชูชก). |
ทุ้ง ๑ | ว. ตุง, ตุ่ยออกมา |
ปุ้ย | น. ลักษณะแก้มที่ตุ่ยออกมาเช่นในเวลากินอาหาร |