คู่ลำดับ | น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคำนึงถึงการเรียงลำดับก่อนหลังเป็นหลักสำคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a). |
เครื่องหมายการค้า | น. เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น. |
จอกหูหนู | น. ชื่อผักกูดหรือเฟินนํ้า ชนิด Salvinia cucullata Roxb. ex Bory ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้าเล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู. |
ต่อ ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ อันดับ Hymenoptera มีความยาว ๑.๕ เซนติเมตรขึ้นไป มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ช่วงต่อระหว่างปล้องอกกับปล้องท้องคอดกิ่ว เพศเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทำให้เจ็บปวดอาจถึงตายได้ และสามารถต่อยได้หลายครั้งต่างกับผึ้ง บางชนิดอยู่อย่างลำพัง แต่บางชนิดรวมกลุ่มทำรังอยู่เป็นฝูง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหัวเสือ [ Vespa affinis (Linn.) ] ต่อหลุม ( V. mandarinia Smith) นอกจากนี้ยังมีต่อในวงศ์อื่น ๆ เช่น ต่อกาเหว่า หมาร่า ต่อแมงมุม. |
ถือผิว | ก. รังเกียจผู้ที่มีสีผิวต่างกับตน (มักใช้แก่พวกผิวขาวที่มีความรู้สึกรังเกียจพวกที่มีผิวสีอื่น). |
นิตินัย | น. แง่มุมและผลในทางกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย คือ แง่มุมในทางความเป็นจริง (ล. de facto). |
พฤตินัย | น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure). |
แพ | เรือนที่ตั้งอยู่บนแพในนํ้า มีลักษณะต่างกับเรือนไทยทั่วไปตรงที่มีเสาแต่ไม่ลงดิน ไม่มีระเบียงและชาน หันด้านข้างออกแม่น้ำ หรือเรือนลักษณะเช่นนั้นที่ยกเอามาปลูกบนบกเรียกว่า เรือนแพ |
ภาษาธรรม | น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น. |
ภูมิภาค | อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ. |
ร่องตีนช้าง | น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน. |
เรือนแพ | น. เรือนที่ตั้งอยู่บนแพในน้ำ มีลักษณะต่างกับเรือนไทยทั่วไปตรงมีเสาแต่ไม่ลงดิน ไม่มีระเบียงและชาน หันด้านข้างออกแม่น้ำ หรือเรือนลักษณะเช่นนั้นที่เคยตั้งอยู่บนแพในน้ำแล้วยกขึ้นมาปลูกบนบก. |
ลักขณะ | (-ขะหฺนะ) น. ลักษณะ, เครื่องแสดงสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าต่างกับอีกสิ่งหนึ่ง, คุณภาพ |
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น | น. ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก. |
เววัณณิยะ | น. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิตต่างกับเพศคฤหัสถ์. |
เหยียดผิว | ก. ดูถูกคนชาติอื่นที่มีสีผิวต่างกับเชื้อชาติตน (มักใช้แก่พวกผิวขาวเหยียดพวกผิวดำ). |
อารัณยกะ ๒ | (-รันยะกะ) น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหาไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก. |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
Legation | คือสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสอง ต่างกับคำว่า Embassy ซึ่งถือว่าเป็นที่ทำงานของทูตชั้นหนึ่ง หัวหน้า Legation (สถานอัครราชทูต) มีตำแหน่งเป็นทางการเรียกว่า Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดตั้งสถานที่ทำงานทางการทูตชั้นสองกันแล้ว [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
phosphorescence | การเรืองแสง, การปล่อยแสงจากสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น เมื่อหยุดการให้พลังงาน สารก็ยังคงเปล่งแสงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับการวาวแสง เมื่อหยุดให้พลังงานสารก็จะหยุดเปล่งแสงทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
trademark | เครื่องหมายการค้า, เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น โดยสัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alien | (แอล' เยิน, เอ' เลียน) n., adj. คนต่างด้าว, ความแตกต่างกับตน, คนแปลกหน้า, ต่างด้าว, ต่างประเทศ, แตกต่างกับตัวเอง, Syn. outlander |
alienage | (เอ' เลียนเนจ, แอล' เยินเนจ) n. ภาวะที่เป็นคำต่างด้าว, ภาวะที่แตกต่างกับตน, ความแปลกหน้า (state of being an alien) |
card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ |
classwork | n. งานในห้องเรียน (ต่างกับการบ้าน) |
computer vendor group | กลุ่มผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัว กันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู computer user group เปรียบเทียบ |
floppy disk | จานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette |
foreground | (ฟอร์'เกราดฺ) n. ตอนหน้า, ส่วนหน้า, ทัศนียภาพที่อยู่ใกล้ (ต่างกับ background) |
freeware | ฟรีแวร์ของฟรีหมายถึง ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่แม้จะจดทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้ แต่ก็ยินยอมให้มีการคัดลอกเอาไปใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่คิด เงิน (ต่างกับ public domain ซึ่งไม่มีการจด ทะเบียนใด ๆ เลย ใครจะคัดลอกหรือนำไปใช้ ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น) |
general practitioner | n. แพทย์ผู้ชำนาญทั่วไป (แตกต่างกับแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง) |
hard disk | (ฮาร์ดดิสก์) จานบันทึกแบบแข็งหมายถึง จานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ใช้เก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยปกติจะบรรจุไว้ในกล่องมิดชิด บางที เรียก fixed disk เพื่อให้เห็นแตกต่างกับจานบันทึกขนาดเล็กที่นำไปไหนมาไหนได้ ที่เรียกว่า floppy disk ในปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์เป็นของจำเป็นมาก และมีอยู่ภายในไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ความจุขนาดปกติจะ มีตั้งแต่ 40 - 1, 000 เมกะไบต์ ยิ่งจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
program card | บัตรชุดคำสั่งหมายถึง บัตรที่เจาะรูไว้เป็นรหัสของคำสั่งหรือชุดคำสั่ง ใช้เมื่อต้องการแยกความแตกต่างกับ "บัตรข้อมูล" (data card) เมื่อส่งเข้าเครื่องเพื่อประมวลผล ต้องให้เครื่องอ่านบัตรชุดคำสั่งก่อนบัตรข้อมูล บัตรชุดคำสั่งนี้ ใช้เจาะได้ตั้งแต่คอลัมน์ 7 ถึง 72 เท่านั้น แต่บัตรข้อมูลเจาะได้ทั้ง 80คอลัมน์ของบัตร |
random access | การเข้าถึงโดยสุ่มการเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้โดยสุ่มหมายความว่าเข้าถึงได้ทุก ๆ จุดได้โดยทันทีทันใด เป็นต้นว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เก็บในจานบันทึก ซึ่งจะใช้เวลาเท่ากันหมดไม่ว่าเก็บไว้ที่จุดไหน ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบบันทึกหรือเทป ถ้าข้อมูลที่ต้องการอยู่ตอนปลาย ก็จะต้องรอให้เทปเดินหน้าไปจนถึงจุดนั้นเสียก่อน การเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีนี้ จะมีหัวอ่าน/บันทึก (read head) ต่อกับก้านโลหะที่เคลื่อนเข้า/ออกได้ เหนือจานที่หมุนรอบแกนอีกทีหนึ่ง เปรียบเทียบ) ถ้าเปรียบกับการฟังเพลงจากจานเสียงและเทป จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นเทปหรือแถบบันทึก หากจะฟังเพลงที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ ก็จะต้องรอให้เทปหมุนผ่านเพลงในลำดับแรก ๆ ไปก่อน แต่ถ้าเป็นจานเสียง เราต้องการฟังเพลงใด ก็สั่งได้ทันทีดู sequential access เปรียบเทียบ |
real variable | ตัวแปรทศนิยมหมายถึงตัวแปรที่กำหนดให้เก็บค่าทศนิยม (real constant) บางภาษากำหนดให้มีลักษณะพิเศษต่างกับตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าจำนวนเต็ม (integer) |
soft copy | สำเนาชั่วคราวหมายถึง ผลลัพธ์จากการประมวลผลที่แสดงผลของการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎบนจอภาพ ผลลัพธ์นี้ยังสามารถแก้ไขได้ง่าย ต่างกับ hard copy ซึ่งหมายถึงสำเนาถาวร หรือผลลัพธ์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษพิมพ์แล้วที่เรียกว่าสำเนาถาวรดู hard copy เปรียบเทียบ |
vendor group | กลุ่มผู้ขายหมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู user group เปรียบเทียบ |
xylem | (ไซ'เลิม) n. ส่วนเนื้อไม้เป็นมัดท่อของเนื้อเยื่อพืช (ต่างกับ phloem) |