ทวีป | (n) continent, Example: ผมเคยไปทุกหนทุกแห่งที่อยากไป ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือจดขั้วโลกใต้ ครบทุกทวีป, Count Unit: ทวีป, Thai Definition: เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี 7 ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา, Notes: (บาลี/สันสกฤต) |
ชมพูทวีป | (n) India, Syn. ประเทศอินเดีย |
ไหล่ทวีป | (n) continental shelf, Example: ทีมงานขุดเจาะสำรวจหาปริมาณน้ำมันในพื้นที่ทะเลในส่วนที่เป็นไหล่ทวีป, Count Unit: แห่ง, Thai Definition: บริเวณใต้น้ำทะเลรอบๆ ทวีป ซึ่งมีความลาดเอียงน้อยๆ แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล นับจากแนวน้ำลงต่ำสุดลงไป |
ทวีปยุโรป | (n) Europe, Example: ภาษาละตินเป็นต้นตระกูลของภาษาต่างๆ ในทวีปยุโรป |
ทวีปเอเชีย | (n) Asia, Example: ลักษณะภูมิประเทศประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตโซนร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย |
ทวีปเอเซีย | (n) Asia, Example: ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีขอทานมากที่สุดในทวีปเอเซีย, Thai Definition: พื้นโลกส่วนที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรปและมหาสมุทรแปซิฟิก |
ทวีปอเมริกา | (n) America, Example: ประเทศแคนาดาอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ |
ทวีปแอฟริกา | (n) Africa, Syn. ทวีปมืด, กาฬทวีป, Example: ยีราฟมีถิ่นอาศัยในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าซาวันน่า ทะเลทรายซาฮาร่า, Thai Definition: ทวีปซึ่งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย |
ทะเลไหล่ทวีป | (n) epicontinental sea, Example: พืชชนิดนี้พบมากในบริเวณทะเลไหล่ทวีป, Count Unit: แห่ง, Thai Definition: บริเวณทะเลตื้นที่อยู่เหนือไหล่ทวีป |
ทวีปออสเตรเลีย | (n) Australia, Example: ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปออสเตรเลีย, Thai Definition: แผ่นดินทางซีกโลกใต้ ที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก |
ทวีปอเมริกาใต้ | (n) South America, Example: ผีเสื้อหนอนหนามมีชุกชุมมากในทวีปอเมริกาใต้ |
ทวีปอเมริกาเหนือ | (n) North America, Example: การบินไทยมีศักยภาพที่จะขยายเส้นทางบินสู่ทวีปอเมริกาเหนือ โดยการบินเข้ามหาสมุทรแปซิฟิกสู่นครลอสแองเจลิส |
ชมพูทวีป | น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน |
ชมพูทวีป | ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
ทวีป | (ทะวีบ) น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป |
ทวีป | เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป |
ทวีป | ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าแผ่นดินมี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. |
ทวีปี | (ทะวี-) น. เสือ, เสือดาว. |
ทะเลไหล่ทวีป | น. บริเวณทะเลตื้นที่อยู่เหนือไหล่ทวีป. |
บุพวิเทหทวีป | น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
ปริตทวีป | น. ทวีปน้อย, คู่กับ มหาทวีป. |
มหาทวีป | น. ทวีปใหญ่, คู่กับ ปริตทวีป. |
ลาดทวีป | น. ที่ลาดสูงชันต่อจากขอบไหล่ทวีปลงไปสู่ทะเลลึก. |
ไหล่ทวีป | น. บริเวณใต้นํ้าทะเลรอบ ๆ ทวีป ซึ่งมีความลาดเอียงน้อย ๆ แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล นับจากแนวนํ้าลงตํ่าสุดลงไป. |
อมรโคยานทวีป, อปรโคยานทวีป | น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป | (อุดตะระ-) น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป. |
กระจอกเทศ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus Linn. ในวงศ์ Struthiornidae เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีน้ำตาล ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเพื่อเป็นอาหาร. |
กระตั้ว | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Psittacidae ลักษณะคล้ายนกแก้วแต่ตัวโตกว่า พบในทวีปออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง เช่น กระตั้วหงอนเหลือง [ Cacatua galerita (Latham) ] กระตั้วดำ [ Probosciger aterrimus (Gmelin) ] . |
กอริลลา | น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla Savage & Wyman ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ลํ่าสันและแข็งแรงกว่ามาก ขนลำตัวสีดำหรือสีเทา มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. |
กาแฟ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex A. Froehner และ C. libericaBull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน. |
เกาหลี | (-หฺลี) น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่ง อยู่ในคาบสมุทรทางตะวันออกของทวีปเอเชีย. |
ขีปนาวุธ | (ขีปะ-) น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหารหรือทำลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. |
คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ]. |
งวง ๒ | น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo Linn. ในวงศ์ Meleagrididae ปากสั้นเรียวบาง หัวสีฟ้า หัวและคอเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ ตัวผู้บริเวณหน้าผากเหนือจะงอยปากบนมีหนังสีแดงอมส้มห้อยยาวคล้ายงวงช้าง ยืดหดได้ ขนลำตัวสีเขียวอมน้ำเงินแซมด้วยสีเหลืองทอง ตัวเมียหนังที่ห้อยอยู่บริเวณหน้าผากเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ ขนลำตัวสีน้ำตาลเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา กินเมล็ดพืช ใบไม้ และสัตว์เล็ก ๆ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. |
จิงโจ้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรงใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัว ไม่มีรก มีถุงที่หน้าท้องสำหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus (Desmarest) มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย. |
ชมพูนท, ชมพูนุท | น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชัมพูนท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. |
ชัมพูนท | (ชำพูนด) น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. |
ชามพูนท | น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชัมพูนท ก็ว่า. |
ชิมแปนซี | น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดำหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ก้นมีขนสีขาว หน้า ใบ หู ก้น ฝ่ามือ และฝ่าตีนไม่มีขน แขนและขายาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes (Blumenbach) และชิมแปนซีแคระ [ P. paniscus (Schwarz) ] ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถนำมาฝึกหัดให้เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้. |
ดาวเทียม | น. วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก, วัตถุลักษณะดังกล่าวที่โคจรรอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป. |
เดนมาร์ก | (เด็นหฺมาก) น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป. |
ต๊อก ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Numida meleagris (Linn.) ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา, ไก่ต๊อก ก็เรียก. |
ตะวันตก | เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดยเฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. |
ตะวันออก | เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. |
ตะวันออกกลาง | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. |
ตะวันออกใกล้ | น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซูดานด้วย. |
ตะวันออกไกล | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซียด้วย. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
นอก | ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน. |
บวง | ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย (นิ. นรินทร์), มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บำบวง. |
มหาวงศ์ | น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนานพระพุทธ-ศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัยพระเจ้าคชพาหุ. |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
เมืองนอก | น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา. |
แมลงวันสเปน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Lytta vesicatoria (Linn.) ในวงศ์ Meloidae ลำตัวแคบ ยาวเรียว ยาว ๑.๕-๒.๐ เซนติเมตร สีเขียวหรือน้ำเงินเหลือบทั้งตัว พบในทวีปยุโรปเฉพาะยุโรปทางตอนใต้ เช่น ประเทศสเปน ไม่พบตามธรรมชาติในประเทศไทย สามารถนำปีกคู่หน้ามาสกัดสารแคนทาริดิน ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์. |
ยีราฟ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิด Giraffa camelopardalis (Linn.) ในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ซึ่งมีหนังและขนคลุม ลำตัวลายมีสีต่าง ๆ กัน โดยมากเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง ปลายหางเป็นพู่ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. |
รัสเซีย | น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย. |
เรือรูปสัตว์ | น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง. |
ลมมรสุม | น. ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก. |
ลา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาลำตัวสีเทา เช่น ชนิด Equus asinus (Linn.) และทวีปเอเชียลำตัวสีเหลืองเข้มจนถึงสีน้ำตาลอมแดง เช่น ชนิด E. hemionus (Pallas) ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิดย่อย E.a. asinus (Linn.) |
สิงโต ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Panthera leo (Linn.) ในวงศ์ Felidae รูปร่างคล้ายแมวแต่มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ตัวเมียไม่มี อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกาเล็กน้อย. |
สิงหล | (-หน) น. ชื่อเรียกประเทศศรีลังกาในสมัยโบราณ, สิงหลทวีป ก็เรียก, เรียกชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของศรีลังกาว่า ชาวสิงหล, เรียกภาษาของชาวสิงหล ว่า ภาษาสิงหล. |
สินธุ | ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในชมพูทวีป ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียและปากีสถาน. |
European Patent Convention | สนธิสัญญาของ 19 ประเทศ ในกลุ่มทวีปยุโรป, Example: สามารถยื่นขอรับสิทธิบัตรครั้งเดียวในระบบนี้ได้ เมื่อได้รับอนุมัติจะได้รับสิทธิแบบอัตโนมัติจากแต่ละประเทศที่ระบุในการยื่นทันที [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
European Patent Applications | ระบบการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของสำนักงานสิทธิบัตรของทวีปยุโรปแห่งเดียว ที่สามารถให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศที่ระบุต่อไป [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
European Patent Office | องค์การระหว่างประเทศในกลุ่มทวีปยุโรปที่เกี่ยวข้องกับระบบสิทธิบัตร, องค์การระหว่างประเทศในกลุ่มทวีปยุโรปที่เกี่ยวข้องกับระบบสิทธิบัตร, Example: จัดตั้งขึ้นโดย EPC [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Continental drift | ทวีปเลื่อน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Continental shelf | ไหล่ทวีป [TU Subject Heading] |
Continents | ทวีป [TU Subject Heading] |
Lost continents | ทวีปที่สาบสูญ [TU Subject Heading] |
Continental Island | เกาะริมทวีป, Example: เกาะที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเล หรือไม่ไกลจากแผ่นดินมากนัก เกาะริมทวีป ส่วนใหญ่จะมีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องจากเดิมเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน ต่อมาภายหลังจึงถูกตัดขาดแยกออกไป เพราะการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกหรือการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ำ [สิ่งแวดล้อม] |
Neritic Zone | เขตน้ำตื้นเหนือบริเวณไหล่ทวีป, Example: ส่วนที่เป็นน้ำในระบบนิเวศทะเล ซึ่งเป็นเขตน้ำตื้นเหนือบริเวณไหล่ทวีป (continental shelf) เป็นบริเวณส่วนที่ตื้นจากริมชายฝั่งจนถึงบริเวณ ที่มีความลึก 200 เมตร (650 ฟุต) บริเวณนี้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่จะเป็น พวกที่ว่ายไปมาได้ (Nekton) เช่น ปลาฉลาม ปลาทูน่า สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปะการัง ดาวหนาม นอกจากนี้ยังมีแพลงก์ตอนพืชอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังแบ่งออกเป็น Supratidal, Intertidal และ Subtidal [สิ่งแวดล้อม] |
Oceanic Zone | น้ำในระบบนิเวศทะเลนับแต่เขตไหล่ทวีปออกไป, Example: บริเวณที่มีความลึกมากกว่า 200 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทร และพื้นที่ประมาณร้อยละ 88 มีความลึกมากกว่า 1.5 กิโลเมตร สามารถ แบ่งเป็น Bathyal zone, Euphotic zone, Abyssal zone และ Hadal zone ดู Bathyal zone, Euphotic zone, Abyssal zone และ Hadal zone เพิ่มเติม [สิ่งแวดล้อม] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] |
Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements | ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย [การทูต] |
continental shelf | ไหล่ทวีป ไหล่ทวีปของรัฐชายฝั่งประกอบด้วย พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐตลอดส่วนต่อออกไปตามธรรมชาติของดินแดนทางบกของ ตนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตในกรณีที่ริมนอกของ ขอบทวีปขยายไปไม่ถึงระยะนั้น [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Free Trade Area of the Americas | เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา " ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก) " [การทูต] |
Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] |
Joint Development Area | พื้นที่พัฒนาร่วม " หมายถึง พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแปรปัญหาเขตทับซ้อนในไหล่ทวีป ซึ่งมีพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม โดยการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมาใช้และแบ่งปันผล ประโยชน์ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในลักษณะ 50 : 50 ซึ่งนับว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลสำหรับประเทศ อื่น ๆ " [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Organization of American States | องค์กรรัฐอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นองค์กรความร่วมมือในทวีปอเมริกาและ แคริบเบียน ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านการเมืองในทวีปอเมริกา และในปัจจุบันได้ขยายบทบาทเน้นหนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและคอรัปชั่น ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประเทศผู้สังเกตการณ์ 45 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรของ OAS เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 (ประเทศสมาชิกดูที่ FTAA) [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Western European Union | องค์การความร่วมมือทางด้านการทหารของประเทศในทวีปยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส กรีซ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 [การทูต] |
Joint Development Area | แหล่งก๊าซ JDA, แหล่งก๊าซ JDA เป็นแหล่งก๊าซฯ ในพื้นที่เหลื่อมล้ำบริเวณไหล่ทวีปของสองประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันแหล่งก๊าซฯ JDA ซึ่งครอบคลุมประเทศไทยและได้มีการตกลงที่จะพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้ว คือพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thai Joint Development Area) [ปิโตรเลี่ยม] |
El Nino | เอลนีโญ, ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ที่ทำให้ พื้นทวีปบริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีฝนตกหนักกว่าปกติ ในขณะที่พื้นทวีปบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้งกว่าปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
La Nina | ลานีญา, ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ที่ทำให้ พื้นทวีปบริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก แห้งแล้งกว่าปกติ ในขณะที่พื้นทวีปบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดฝนตกหนักกว่าปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Aborigine | (n) ชนพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย, See also: ชนเผ่าอะบอริจิน |
Africa | (n) ทวีปแอฟริกา |
Algeria | (n) ประเทศแอลจีเรียอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา |
America | (n) ทวีปอเมริกา, Syn. the Americas |
Asia | (n) ทวีปเอเชีย, Syn. the Orient, the East |
Asian | (adj) เกี่ยวกับทวีปเอเชีย, See also: แห่งเอเชีย, Syn. Oriental |
continent | (n) ทวีป |
continental | (adj) เกี่ยวกับทวีปยุโรป |
continental shelf | (n) ไหล่ทวีป |
coyote | (n) สุนัขป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกา |
darter | (n) ปลาน้ำจืดตัวเล็กสีสันสดใส พบในทวีปอเมริกาเหนือ |
esparto | (n) ต้นหญ้าที่ใบยาวหยาบ ของทวีปยุโรปและทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ซึ่งสามารถนำมาใช้ทำกระดาษ เชือกหรือเสื่อได้ |
Eurasia | (n) พื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการรวมทวีปยุโรปและเอเชีย |
Europe | (n) ทวีปยุโรป |
fer-de-lance | (n) งูพิษยักษ์จำพวก Bothrops atrox พบในเขตร้อนทวีปอเมริกา |
heather | (n) ต้นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ตามภูเขาในทวีปยุโรปและเอเชีย มีชื่อในภาษาละตินว่า Calluna Vulgaris, Syn. ling |
hickory | (n) ต้นไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลวอลนัท พบในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นพันธุ์ไม้จำพวก carya |
Industrial Revolution | (n) การปฏิวัติอุตสาหกรรม, See also: เริ่มในประเทศอังกฤษช่วงตอนกลางของศตวรรษที่ 18 ก่อนแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมร |
intercontinental | (adj) ซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างสองทวีป |
interior | (adj) ตอนกลาง (ประเทศ, ทวีป), See also: ส่วนกลาง ประเทศ, ทวีป, Syn. central |
jack rabbit | (n) กระต่ายขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีหูและขาหลังยาวมาก, Syn. large hare |
jaguar | (n) เสือจากัวร์, See also: สัตว์ตระกูลเสืออยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา, Syn. Panthera onca |
kinkajou | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง, See also: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยในทวีปอเมริกากลางและใต้, Syn. honey bear |
landmass | (n) ทวีป, See also: ผืนดินขนาดใหญ่, Syn. continent |
Lapland | (n) บริเวณตอนเหนือของทวีปยุโรป (ได้แก่ ตอนเหนือของนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์และแหลมโคลา ของรัสเซีย) |
Latin America | (n) ทวีปละตินอเมริกา, See also: ทวีปอเมริกากลาง |
marmoset | (n) ลิงขนาดเล็กในทวีปอเมริกา มีหางยาวหนาตระกูล Callithricidae, Syn. lemur |
Mongolia | (n) แคว้นมองโกเลียในทวีปเอเชีย |
neotropical | (adj) ซึ่งอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา |
New World | (n) ทวีปอเมริการเหนือและใต้ |
North America | (n) ทวีปอเมริกาเหนือ, Syn. America |
Orient | (n) ประเทศทางตะวันออกของทวีปเอเซีย |
oriental | (adj) ของประเทศทางตะวันออกในทวีปเอเซีย (โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น), See also: ซึ่งเกี่ยวกับประเทศทางตะวันออกของทวีปเอเซีย |
Philodendron | (n) ไม้เลื้อยจำพวก Philodendron ในทวีปอเมริกากลาง |
Pygmy | (n) ชนเผ่าปิ๊กมี่ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ |
safari | (n) การเดินทางไกลเพื่อล่าสัตว์ ท่องเที่ยว ค้นหาทางวิทยาศาสตร์, See also: โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา, Syn. caravan, expedition, journey |
subcontinent | (n) ทวีปย่อย |
Uganda | (n) ประเทศอูกันดา (อยู่ในทวีปแอฟริกา) |
veld | (n) ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, Syn. veldt |
walleye | (n) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ในแถบทวีปอเมริกาเหนือ, See also: ชื่อละตินคือ Stizostedion vitreum, Syn. pikeperch, walleyed pike |
weaverbird | (n) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่งในทวีปเอเชียและแอฟริกา, See also: อยู่ในตระกูล Ploceidae |
west | (n) ประเทศทางทวีปยุโรปและอเมริกา, See also: ประเทศทางตะวันตก |
west | (n) ประเทศทางทวีปยุโรปและอเมริกาที่ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ในระหว่างสงครามเย็น |
Western | (adj) ซึ่งเป็นของประเทศทางทวีปยุโรปและอเมริกา |
Western Hemishere | (n) ภาคตะวันตกของผืนโลก, See also: ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ยุโรปตะวันตกและอเมริกากลาง |
whitebeam | (n) ต้นไม้พื้นเมืองของทวีปยุโรปและเอเชีย, See also: ชื่อละตินคือ Sorbus aria |
whooping crane | (n) นกกระสาสีขาวขนาดใหญ่, See also: แถบทวีปอเมริกาเหนือใกล้จะสูญพันธุ์ ชื่อละตินคือ Grus americana, Syn. whooper |
afghanistan | (แอฟแกน' นิสแทน) n. ประเทศอัฟกานิสถาน อยู่ในทวีปเอเซียตะวันออกกลาง |
africa | (แอฟ' ริกา) n. ทวีปแอฟริกา |
america | (อะเม' ริกา) n. สหรัฐอเมริกา, ทวีปอเมริกา (อาจเรียกว่า the Americas) |
american | (อะเม' ริกัน) adj. เกี่ยวกับสหรัฐ-อเมริกาหรือทวีปอเมริกา. -n. ชาวอเมริกา, ชาวทวีปอเมริกา, อินเดียแดง -Americanism n. |
andean | (แอนดี' อัน) adj. เกี่ยวกับหรือคล้ายเทือกเขา Andes ในทวีปอเมริกาใต้ |
antarctica | (แอนทาร์ค' ทิคะ) n. ทวีปที่ล้อมรอบขั้วโลกใต้ (Antarctic Continent) |
capuchi | (แคพ'พูชิน) n. ลิงในทวีปอเมริกาจำพวกหนึ่ง |
continent | (คอน'ทะเนินทฺ) n. ทวีป, ผืนแผ่นดินใหญ่ (ซึ่งต่างจากเกาะหรือคาบสมุทร) , ส่วนที่ต่อเนื่องกัน, สิ่งที่เป็นที่บรรจุหรือพรมแดน -Phr. (the Continent ผืนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป (ซึ่งต่างจากเกาะอังกฤษ) , adj. ซึ่งควบคุมตัวเอง, Syn. abstinent, Ant. le |
continental | (คอนทิเนน'เทิล) adj. เกี่ยวกับทวีป n. ผู้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ |
continental shelf n. | ส่วนของทวีปที่จมอยู่ในทะเลที่ค่อนข้างตื้น |
coyote | (ไค'โอท) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหมาป่า พบในทวีปอเมริกาเหนือ., Syn. prairie wolf |
europe | (ยัว'โรพ) n. ทวีปยุโรป |
ibm | abbr. Intercontinental Ballistic Missile จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป, International Business Machines Corporation, บริษัทไอบีเอ็ม เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าวคือ ใช้โปรแกรมระบบ (operating system) อย่างเดียวกัน |
intercontinental | (อินเทอคอนทิเนน'เทิล) adj. ระหว่างทวีป |
latin america | n. ทวีปอเมริกากลางหรือลาตินอเมริกาเป็นบริเวณที่ใช้ภาษาRomance (ดู) ., See also: Latin-American n., adj Latin American n. |
mongolia | (มองโก'เลีย) n. ชื่อบริเวณหนึ่งในทวีปเอเชียที่ได้แก่มองโกเลียในหรือInner Mongolia (ดู) มองโกเลียนอกหรือ Outer Mongolia (ดู) |
new world | n. ด้านซีกโลกตะวันตกที่ได้แก่ทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมทั้งเกาะต่าง ๆ และน่านน้ำที่ล้อมรอบ |
old world | n. ทวีปยุโรปเอเชียและแอฟริกา |
paca | (พา'คะ, แพค'คะ) n. สัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ที่ลำตัวมีแต้มขาวเป็นจุด ๆ พบในทวีปอเมริกา |
pygmy | (พิก'มี) n. ชนผิวดำตัวเล็กในทวีปแอฟริกาแถบเส้นศูนย์สูตร, See also: pygmy n. คนแคระ คนร่างเล็กสิ่งที่มีความสำคัญเล็กน้อย adj. เกี่ยวกับคนแคระดังกล่าว, เล็กมาก, แทบไม่สำคัญ pygmoid adj. pygmyish adj. pygmyism n. |
southeast asia | n. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian |
transcontinental | (แทรนซฺคอน'ทิเนนเทิล) adj. ข้ามทวีป, อยู่อีกด้านของทวีป. |
uruguay | (ยัวระเกว) n. ชื่อสาธารณรัฐในทวีปอเมริกาใต้ (ประเทสอุรุกวัย) , ชื่อแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้, See also: Uruguayan adj., n. |
veld | (เวลทฺ) n. ทุ่งหญ้าในตอนใต้ของทวีปแอฟริกา -S .manner |
veldt | (เวลทฺ) n. ทุ่งหญ้าในตอนใต้ของทวีปแอฟริกา -S .manner |
venezuela | (เวนนิชซูเว'ละ, -ซวี'ละ) n. ชื่อสาธารณรัฐในตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้เมืองหลวงชื่อCaracas., See also: Venezuelan adj., n. |
west indies | n. ชื่อหมู่เกาะในตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ |