คำนำหน้าชื่อ | น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก. |
คำนำหน้านาม | น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก. |
ทฤษฎี | (ทฺริดสะดี) น. หลักการทางวิชาการที่ได้ข้อสรุปมาจากการค้นคว้าทดลองเป็นต้น เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ เช่น ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก ทฤษฎีแสง. (ส.; ป. ทิฏฺ ิ). |
ธนาคารโลก | น. คำสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา ซึ่งทำหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน. |
มหาวิทยาลัย | (มะหาวิดทะยาไล) น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ. |
ระบบ | น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ. |
วารสาร | น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา พิมพ์เรื่องที่เป็นงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ มีผู้ตรวจรับรองคุณภาพทางวิชาการ เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์. |
ศาสตราจารย์ | (สาดตฺรา-, สาดสะตฺรา-) น. ตำแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา. |
Conference paper | เอกสารการประชุมทางวิชาการ, Example: <p>เอกสารการประชุมทางวิชาการ คือ เอกสารหรือบทความที่นำเสนอต่อที่ประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม โดยต้องส่งเอกสารหรือบทความ หรือสาระสังเขป (บทคัดย่อ) ของเรื่องที่จะนำเสนอในที่ประชุมล่วงหน้า ในช่วงที่ประกาศรับการเสนอบทความ (Call for papers) และงานต้องมีคุณภาพมากเพียงพอที่กรรมการพิจารณาบทความจะยอมรับให้ได้ตีพิมพ์และนำเสนอบทความในการประชุมครั้งนั้น <p>ตัวอย่างการประชุมทางวิชาการ เช่น IFLA Conference (International Federation of Library Associations and Institutions : สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด) ในกลุ่มวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Monograph | หนังสือ, เอกสารทางวิชาการ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Transactions | รายงานของสมาคมหรือสถาบันทางวิชาการ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
clinical professor | ศาสตราจารย์คลินิก, ตำแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคลากรฝ่ายเวชกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านการสอน การวิจัย การค้นคว้าทดลอง และวิธีบำบัดรักษาในภาคเวชปฏิบัติ ซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Academic freedom | เสรีภาพทางวิชาการ [TU Subject Heading] |
Academic writing | การเขียนทางวิชาการ [TU Subject Heading] |
Learned institutions and societies | บัณฑิตยสถานและสมาคมทางวิชาการ [TU Subject Heading] |
ASEAN Free Trade Area - Australia-New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement (ANZCERTA or CER) | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านศุลกากร การขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและการรับรองระหว่างกัน [การทูต] |
Asia-Europe Foundation | เป็นกลไกหนึ่งภายใต้อาเซม เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ วัฒนธรรม และประชาชนกับประชาชน ระหว่างประเทศสมาชิก [การทูต] |
Asia-Africa Cooperation | ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับแอฟริกา " เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับ ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว (Tokyo International Conference on African Development - TICAD) " [การทูต] |
International Maritime Organization | องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิก 155 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร " [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Trade Centre | ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้อังค์ถัดและองค์การการค้าโลก เป็นศูนย์กลางของสหประชาชาติ สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านการส่งเสริม การค้าและการพัฒนาการส่งออก [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
Official Development Assistance | ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ " เป็นความช่วยเหลือของภาครัฐบาลที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มาตรฐานความ เป็นอยู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบันต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประกอบด้วยความช่วยเหลือ 3 ด้านหลัก คือ ความช่วยเหลือให้เปล่า ความร่วมมือทางวิชาการ และเงินกู้ " [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
Technical Cooperation among Developing Countries | ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบขององค์การสหประชา ชาติ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการดูงาน/ฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยประเทศที่ขอหรือส่งเจ้าหน้าที่จะรับผิดชอบ ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ในขณะที่ประเทศเจ้าภาพจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายภายในประเทศ อาทิ ค่ากินอยู่ ค่าฝึกอบรม/ดูงาน " [การทูต] |
Third Country Training Program | โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม " เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การ ระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน " [การทูต] |
United Nations Conference on Trade and Development | การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) " เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องการค้า การเงิน การ ลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีหน้าที่เป็นเวทีประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล ศึกษาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลกและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ กำลังพัฒนา ปัจจุบันมีรัฐสมาชิก 190 ประเทศ ประชุมระดับรัฐมนตรีปีละ 4 ครั้ง ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 10) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
Technical Competency | สมรรถนะทางวิชาการ, ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมที่พนักงานต้องมีเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์ (Product Knowledge) คุณภาพงานบริการ (Service Quality) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) เป็นต้น [การจัดการความรู้] |
Cognitive Map | โครงสร้างทางวิชาการ [การแพทย์] |
Freedom, Academic | เสรีภาพทางวิชาการ [การแพทย์] |
Preprint | บทความหรือเอกสารทางวิชาการก่อนตีพิมพ์หรือเผยแพร่โดยผ่านกระบวนการประเมิน, Example: ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ Preprint ถือว่าเป็นฉบับร่างหรือเป็นฉบับก่อนที่ตีพิมพ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่อย่างสมบูรณ์โดยผ่านกระบวนการประเมินโดยคณะกรรมการ (peer review) เนื่องจากในกระบวนการพิมพ์วารสารทางวิชาการต้องผ่านกระบวนการประเมินจากคณะกรรมการ ซึ่งใช้เวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือบางทีอาจจะเป็นปี นับตั้งแต่การส่งผลงานนั้นเข้ามา ความต้องการในการเผยแพร่เอกสารออกไปโดยเร็วจึงรู้จักกันว่าเป็นฉบับ preprint โดยต้นฉบับก็ยังดำเนินการประเมินต่อไป บางสำนักพิมพ์อนุญาตให้นำเอกสารหรือบทความฉบับ Preprint เผยแพร่อย่างเสรีได้ในระบบ Open Access <p> <p> <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20120824-Preprint.jpg" width="540" higth="100" alt="Preprint"> <p> จากรูปเป็นกระบวนการพิมพ์ ซึ่งจะเห็นว่า preprint อยู่ในส่วนต้นก่อนจะได้รับการเผยแพร่ <p> <p>รายการอ้างอิง <p>Waaijiers, Ieo and Wesseling, Michel. 2009. "Publish and Publish and Cherish With Non-proprietary Peer Review Systems" Ariadne 59. http://www.ariadne.ac.uk/issue59/waaijers <p>Preprint. 2012. http://www.openaccess.be/default.aspx?PageId=589. Accessed. 24-12-2012 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Postprint | บทความหรือเอกสารทางวิชาการที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่หลังจากผ่านกระบวนการประเมิน, Example: ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ Postprint ถือว่าเป็นเอกสารหรือบทความที่ได้รับการประเมินแล้ว แต่อาจจะยังมิได้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการพิมพ์ แต่ในแง่ของเนื้อหานั้น psorprint ถือว่าเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการพิมพ์ สำนักพิมพ์มักจะคงการพิมพ์และรูปแบบตามที่สำนักพิมพ์กำหนด บางสำนักพิมพ์อนุญาตให้เผยแพร่ Postprint อย่างเสรีได้ในระบบ Open Access <p> <p> <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20120824-Preprint_0.jpg" width="540" higth="100" alt="Postprint"> <p>จากรูปเป็นกระบวนการพิมพ์ ซึ่งจะเห็นว่า postprint อยู่ในส่วนท้ายก่อนจะได้รับการเผยแพร่ <p>รายการอ้างอิง <p>Waaijiers, Ieo and Wesseling, Michel. 2009. "Publish and Publish and Cherish With Non-proprietary Peer Review Systems" Ariadne 59. http://www.ariadne.ac.uk/issue59/waaijers <p>Postprint. 2012. http://www.openaccess.be/default.aspx?PageId=588. Accessed. 24-12-2012 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |