กัมมันตภาพรังสี | (กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
curie, Ci | คูรี, หน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7 x 10<sup>10</sup> ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีตั้งขึ้นตามชื่อของแมรี และปีแอร์ คูรี ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ พ.ศ. 2441 ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น เบ็กเคอเรล แทน โดย 1 คูรี เท่ากับ 3.7 x 10<sup>10</sup> เบ็กเคอเรล [นิวเคลียร์] |
curie | คือ หน่วยเดิมที่วัดอัตราการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 คูรีหมายถึงการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี3.7x1010 ครั้งต่อวินาที หน่วยคูรีนี้มาจากการสลายตัวโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม ปัจจุบันใช้หน่วยเป็นเบ็กเคอเรล โดย 1 คูรี = 3.7x1010เบเคอเรล หน่วยคูรีนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่มารีคูรี ซึ่งเป็นผู้ค้นพบธาตุเรเดียมในปี พ.ศ. 2441 [พลังงาน] |
radium | (n) ธาตุกัมมันตภาพรังสีชนิดหนึ่ง, See also: ธาตุเรเดียม |