นกยูง | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวประจำฉัตร ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก. |
แววหางนกยูง | น. ตอนปลายของหางนกยูงที่เป็นวงกลม ๆ มีลักษณะเป็นแสงสีสันเลื่อมเป็นมัน. |
หางนกยูง ๑ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นและกิ่งมีหนาม ดอกสีแดง เหลือง หรือชมพู, หางนกยูงไทย ก็เรียก. |
หางนกยูงไทย | ดู หางนกยูง ๑. |
หางนกยูงฝรั่ง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นและกิ่งไม่มีหนาม ดอกสีแดงหรือแสด ออกดอกปีละครั้ง ขณะออกดอกผลัดใบ. |
หางนกยูง ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัว ชนิด Poecilia reticulata Peters ในวงศ์ Poeciliidae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นปลาสวยงาม ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต ตัวผู้มีขนาดโตได้ยาวเพียง ๓ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียยาวได้ถึง ๖ เซนติเมตร, กินยุง ก็เรียก. |
กระโงก | น. นกยูง, กุโงก ก็ว่า. |
กะโต้งโห่ง | ว. เสียงนกยูงร้อง. |
กินยุง | ดู หางนกยูง. |
กุงาน | น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง (ลิลิตพยุหยาตรา). |
กุโงก | น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. |
ขอช้าง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง ปากยาวรูปร่างคล้ายขอช้าง ตัวขนาดนกยูงแต่คอสั้นกว่า สีน้ำตาลไหม้ หากินตามที่โล่งเตียน เช่น ตามชายทุ่งนา. |
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวาของประธานในงาน และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้ายของประธานในงาน และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา. |
นักษัตร ๑, นักษัตร- | (นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. |
ประจำฉัตร | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก. |
ปะเลง | น. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าประกอบดนตรี. |
แพน ๑ | ก. แผ่ออก, กระจายออกไป, เช่น นกยูงแพนหาง นกพิราบแพนหาง. |
แพน ๑ | น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพนหางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แพนสำหรับคัดท้ายแพซุง. |
มยุร-, มยุระ | (มะยุระ-) น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. |
มยุรคติ | น. ท่าทางของนกยูง. |
มยุรฉัตร | น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทำด้วยหางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์. |
มยุรอาสน์ | น. “พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ” หมายถึง พระขันทกุมารหรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ. |
มยุรา, มยุเรศ | น. นกยูง. |
มยุรี | น. นกยูงตัวเมีย. |
มยูร | (มะยูน) น. นกยูง. |
เมารี | น. นกยูงตัวเมีย. |
โมร- | (-ระ-) น. นกยูง. |
โมรกลาป | (-กะหฺลาบ) น. แพนหางนกยูง. |
โมรี ๑ | น. นกยูงตัวเมีย. |
โมเรส | น. นกยูง. |
ยูงอินเดีย | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Pavo cristatus Linn. ในวงศ์ Phasianidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกยูงไทย แต่หงอนขนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีน้ำเงิน กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย. |
รำแพน | ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่นกยูง นกหว้า และนกแว่น). |
รำแพน | น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการพระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้ง สวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด. |
สิขี | นกยูง |
อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา | (อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก. |