Habit survey | การสำรวจลักษณะนิสัย, การสำรวจลักษณะนิสัยของกลุ่มประชากรในแต่ละพื้นที่ ที่อาจนำไปสู่การได้รับรังสี เช่น พฤติกรรมการบริโภคและอาชีพ เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มประชากรที่คาดว่าจะได้รับรังสีสูงสุด, Example: [นิวเคลียร์] |
integration | บูรณาการ, การรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, บูรณาการ มี ๒ ความหมาย <p>ความหมายที่ ๑ คือ ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรวมทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ไว้ในวิชาเดียวกัน, หลักสูตรแบบบูรณาการสำหรับภิกษุสามเณร เป็นหลักสูตรที่รวมหลักสูตรธรรมศึกษา บาลีศึกษา และสามัญศึกษา ให้เป็นหลักสูตรเดียว <p>ความหมายที่ ๒ หมายถึงเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนหลายแห่งบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากความเป็นไทยและนำไปสู่การ พัฒนาประเทศที่ยั่งยืน [การจัดการความรู้] |
ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] |
Unfriendly Act | การกระทำที่ไม่เป็นมิตร กล่าวคือ เมื่อรัฐหนึ่งประกาศว่า จะถือว่าการปฏิบัติบางอย่างของอีกประเทศหนึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร นั่นหมายความว่า เป็นการเตือนว่าการกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Cognitive Triad | การรู้สามแบบที่นำไปสู่อาการซึมเศร้า [การแพทย์] |
deductive reasoning | การให้เหตุผลแบบนิรนัย, การให้เหตุผลโดยการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริงมาประกอบเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
exploration | การสำรวจ, กระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
design [ technological design ] | การออกแบบ(ทางเทคโนโลยี), การลำดับความคิดหรือจินตนาการเป็นขั้นตอน นำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
creativity | ความคิดสร้างสรรค์, ความสามารถทางสมองของมนุษย์ที่คิดได้กว้างไกล หลายแง่มุม หลายทิศทาง นำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งของ และแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ โดยอาศัยข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ มี 4 ลักษณะ ประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอีย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
afferent | (adj) ที่นำไปสู่อวัยวะในร่างกาย |
anteroom | (n) ห้องเล็กที่อยู่ด้านหน้าห้องใหญ่, See also: ห้องที่นำไปสู่ห้องที่ใหญ่กว่า มักใช้สำหรับนั่งรอ |
bring | (vt) นำไปสู่, See also: พาไปสู่, Syn. cause, result in |
conduce | (vi) นำไปสู่, Syn. lead, tend, contribute |
conducive | (adj) ที่นำไปสู่, See also: ที่ทำให้เกิดขึ้น, Syn. accessory, contributory |
conduce to | (phrv) นำไปสู่, See also: ทำให้เกิด, Syn. contribute to |
conduce towards | (phrv) นำไปสู่, See also: ทำให้เกิด, Syn. contribute to |
drag into | (phrv) ชักนำไปสู่, See also: นำไปสู่ |
draw down | (phrv) ชักนำไปสู่ (สิ่งไม่ดี) |
give on | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give onto, give upon |
give onto | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give on, give upon |
give upon | (phrv) ทำให้มองเห็น, See also: นำไปสู่, Syn. give on, give onto |
hallway | (n) ห้องที่อยู่ด้านหน้าบ้านหรือตึกซึ่งมีประตูนำไปสู่ห้องอื่น, Syn. foyer, hall, lobby |
rift in the lute | (idm) ความผิดเล็กน้อยที่จะนำไปสู่ความผิดที่ใหญ่ได้ |
thin end of the wedge | (idm) สิ่งเล็กๆ น้อยที่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ขึ้นได้ |
lead to | (phrv) ทำให้เกิด, See also: เป็นสาเหตุของ, ชักนำไปสู่ |
level at | (phrv) นำไปสู่ |
lead | (vi) นำทางไป, See also: นำ, พาไป, นำทาง, ทางนำไปสู่, Syn. guide |
make for | (phrv) ทำให้เกิด, See also: นำไปสู่, มีผลให้เกิด, ส่งผลให้เกิด |
play over | (phrv) ทำให้ปรากฏ, See also: นำไปสู่, Syn. play along, play on |
redound | (vi) นำไปสู่ |
redound to | (phrv) มีผลต่อ, See also: นำไปสู่ |
subject | (vt) นำไปสู่, Syn. expose, put through |
vehicle | (n) สื่อกลาง, See also: สื่อนำ, สิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ ความเชื่อหรืออื่นๆ, Syn. channel, means, medium |
warpath | (n) เส้นทางที่นำไปสู่การรบของอินเดียนแดง |
willpower | (n) ความตั้งใจจริงและความมีวินัยในตัวเองที่นำไปสู่ความสำเร็จ, Syn. determination, resolution |
carry | (แค'รี) { carries, carrying, carries } vt. ขนส่ง, แบก, ลำเลียง, หอบ, หาบ, อุ้ม, ยก, ถือติดตัว, นำติดตัว, นำไปสู่, สะพาย, บรรทุก, ส่ง, แพร่กระจาย, ออกข่าว, ประกอบด้วย, สนับสนุน, ค้ำจุน, ผลักดัน, ยืดได้, รับภาระ, วางตัว, ปฏิบัติ, ยกยอด, โอน, มีไว้ในร้าน. vi. ถือติดตัว, มีกำลังดัน, ดัน, ถู เลขทดตัวทดหมายถึง ค่าที่เกิดจากการบวกตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในหลักเดียวกัน แล้วได้ผลมากกว่าหรือเท่ากับเลขฐาน ซึ่งจะนำไปบวกกับเลขในหลักถัดไป |
conduce | (คันดิวซฺ') { conduced, conducing, conduces } vi. นำไปสู่, ทำให้เกิด, See also: conducible adj. ดูconduce conducibleness n. ดูconduce conducibility n.ดูconduce, Syn. lead to |
descend | (ดิเซนดฺ') vi. ตก, ตกลงมา, สืบสายโลหิต, ตกเป็นสมบัติของ, โจมตี, ถ่อมตัว, ลดเกียรติ. vi. เคลื่อนลง, นำไปสู่ |
hale | (เฮล) adj. ไร้โรค, แข็งแรง, มีกำลังวังชา, ไร้ข้อบกพร่อง., See also: haleness n. vt. ดึง, ลาก, ถอน, ถอนกำลัง, นำไปสู่, haler, Syn. haul, pull, drag |
land | (แลนดฺ) { landed, landing, lands } n. ที่ดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, เขต, ดินแดนของประเทศ vt. ตั้งรกราก, นำไปสู่, ยึด, จับ, จับจอง, นำขึ้นบก. vi. ขึ้นบก, ขึ้นฝั่ง, สู่ -Phr. (the land ที่ดินเกษตรชนบทอาชีพการเกษตรและการปศุสัตว์), Syn. soil, g |
lead | (ลีด) { led, led, leading, leads } vt. นำ, พา, จูง, ชักจูง, จูงให้, ทำให้เกิดขึ้น, ล่อให้เกิดขึ้น, นำหน้า, พูดนำ, สั่ง, บัญชา, เป็นหัวหน้า, เล็ง vi. เป็นตัวนำ, นำไปสู่, นำหน้า, นำทาง, โจมตี, เล่นก่อน n. ตำแหน่งนำ, การนำ, ผู้นำ, สิ่งนำ, สำคัญที่สุด, ชั้นนำ, ตะกั่ว:Pb; -S...conduct, guide |
Clostridium difficile | [คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล] แบคทีเรียหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อของลำไส้ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกามีผลต่อผู้คนนับล้านต่อปี ผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในความเสี่ยงของการกลายเป็นติดเชื้อกับการรักษาได้ยาก. ยาปฏิชีวนะจะรบกวนแบคทีเรียปกติของลำไส้, ช่วยให้ดื้อยาแบคทีเรียที่จะกลายเป็นตัวต้านที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่. หลายคนติดเชื้อแบคทีเรียรักษาลำบากเพราะไม่มีอาการ. คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ให้บริการของเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อผู้อื่น ในคนอื่นๆ, สารพิษที่มีผลก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง, อาการปวดท้อง, การอักเสบอย่างรุนแรงของลำไส้ใหญ่ (ไส้ใหญ่), ไข้, การตรวจนับเม็ดเลือดขาว, อาเจียนและการคายน้ำ. ในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง, เยื่อบุภายในของลำไส้ใหญ่จะกลายเป็นที่รุนแรงอักเสบ (สภาพที่เรียกว่าเยื่อแผ่นบาง ๆ รอบเซลล์ผิดปกติ). ไม่ค่อยมีผนังและหลุมพัฒนา (ลำไส้ใหญ่จะไม่ค่อยมีผนังกั้นแต่จะเป็นรูพรุน) ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่คุกคามชีวิตของช่องท้อง |
Duct Ectasia | เป็นสภาพเต้านมที่ไม่เป็นอันตราย (ไม่ใช่มะเร็ง) ที่เกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำนมในขยายเต้านมและผนังข้น ซึ่งอาจทำให้ท่อที่จะกลายเป็นที่ถูกบล็อกและนำไปสู่การสร้างของเหลว |
exhortation | (n) ชักชวน นำไปสู่, Syn. persuade |
financial distress | (n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression |
Papanicolaou (Pap) | ขั้นตอนที่แปรงขนาดเล็กหรือไม้พายที่ใช้ในการกำจัดเซลล์จากปากมดลูกอย่างเบาๆเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์สำหรับมะเร็งปากมดลูกหรือการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่อาจนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก |
Rhabdomyolysis | ความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อม, อาจนำไปสู่สภาวะร้ายแรง การสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโครงร่างเป็นผลมาจากการเกิดไฟฟ้าหรือการสัมผัสเป็นเวลานานกับสารพิษ (ลักษณะการขับถ่ายของ ปัสสาวะออกมาสีดำเหมือนน้ำโคคาโคล่า ในปัสสาวะ) |
Trabeculation | ของกระเพาะปัสสาวะเกิดจากสิ่งกีดขวางซ้ำในท่อปัสสาวะ เมื่อเกิดการอุดตัน, ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะจะต้องทำงานยากเกินไปที่จะย้ายปัสสาวะที่ผ่านการกีดขวาง. นี้นำไปสู่ความหนาของผนังกล้ามเนื้อและการสูญเสียความยืดหยุ่น. |