นิวเคลียส | น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สำคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. |
กัมมันตภาพรังสี | (กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. |
โครโมโซม | น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับโปรตีน ทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทั้งควบคุมการทำงานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. |
ธาตุ ๓ | (ทาด) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส เช่น ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอน. |
นิวเคลียร์ | ว. ที่ใช้พลังงานอะตอม, เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม. |
นิวตรอน | น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิด ยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
แบคทีเรีย | น. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส มีรูปร่างกลม เป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว. |
โปรตอน | (โปฺร-) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าบวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
ระเบิดปรมาณู | น. ลูกระเบิดที่ให้อำนาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดที่ทำให้นิวเคลียสของอะตอมของธาตุยูเรเนียมหรือธาตุพลูโทเนียมแตกสลาย ระเบิดชนิดนี้มีอำนาจทำลายมากยิ่งกว่าระเบิดธรรมดาที่ใช้ดินระเบิด. |
ระเบิดไฮโดรเจน | น. ลูกระเบิดที่ให้อำนาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดที่ทำให้นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจนหลอมรวมตัวเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมซึ่งหนักกว่า ระเบิดชนิดนี้มีอำนาจทำลายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูมาก. |
อะตอม | น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. |
แอลฟา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. |
ไอโซโทป | น. อะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนที่นิวเคลียสต่างกัน. |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Antimatter | ปฏิสสาร, สสารที่มีอะตอมประกอบด้วยปฏิยานุภาค เช่น อะตอมของแอนติไฮโดรเจนประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีแอนติโปรตอนจำนวน 1 อนุภาค และมีโพซิตรอน 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบๆ (ดู antiparticle ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Atomic bomb | ลูกระเบิดอะตอม, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดู Fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic energy | พลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์] |
Atomic number, Z | เลขเชิงอะตอม, จำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมใดๆ และเป็นสิ่งชี้บอกตำแหน่งของธาตุในตารางพีริออดิก [นิวเคลียร์] |
Atomic weapon | อาวุธอะตอม, อาวุธระเบิดซึ่งพลังงานเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส (ดู nuclear weapon ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic weight, A | น้ำหนักเชิงอะตอม, น้ำหนักทั้งหมดของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุรวมกัน (ดู atomic mass ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Barn, b | บาร์น, หน่วยพื้นที่ภาคตัดขวางของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1 บาร์น มีค่าเท่ากับ 10–24 ตารางเซนติเมตร (ดู cross section ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Burnup | เบิร์นอัป, การวัดการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาจคิดเป็นร้อยละของอะตอมเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียส หรือพลังงานที่ผลิตได้ต่อหน่วยน้ำหนักของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Burnable poison | สารพอยซันเสื่อมสภาพได้, สารดูดกลืนนิวตรอน เช่น โบรอน ที่ผสมไว้ในแท่งเชื้อเพลิงหรือเปลือกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในระยะแรก ซึ่งมีปริมาณเชื้อเพลิงมาก หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสารที่ไม่ดูดกลืนนิวตรอน เป็นการชดเชยผลจากเชื้อเพลิงที่ถูกใช้ไป และการสะสมตัวของผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสที่ดูดกลืนนิวตรอนที่เกิดขึ้นในเชื้อเพลิง ทำให้อายุการใช้งานของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยาวนานขึ้น [นิวเคลียร์] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Chain reaction, Fission | ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส, ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้เอง โดยนิวเคลียสจะดูดกลืนนิวตรอนแล้วเกิดการแบ่งแยกของนิวเคลียสขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอนใหม่เพิ่มขึ้นออกมา ซึ่งจะถูกนิวเคลียสอื่นๆ ดูดกลืนต่อไปอีก และทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (ดู nuclear fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Chemical shim | สารเคมีเสริมการควบคุม, สารเคมี เช่น กรดบอริก ที่เติมเข้าไปในตัวทำให้เย็นของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อเสริมการทำงานของแท่งควบคุมปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส โดยการดูดกลืนนิวตรอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Cladding | เปลือกหุ้มเชื้อเพลิง, โลหะที่ใช้ห่อหุ้มแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื้อเชื้อเพลิงจากตัวทำให้เย็น และป้องกันผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสไม่ให้ออกมาปนในตัวทำให้เย็น วัสดุที่ใช้ เช่น อะลูมิเนียม โลหะผสมของอะลูมิเนียม เหล็กกล้าไร้สนิม และโลหะผสมของเซอร์โคเนียม [นิวเคลียร์] |
Critical mass | มวลวิกฤต, มวลน้อยที่สุดของวัสดุที่เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสได้ ซึ่งเพียงพอต่อการเกิดและสืบเนื่องของปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู fissionable material ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Criticality | ภาวะวิกฤต, ภาวะที่ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสสามารถสืบเนื่องอยู่ได้ โดยอัตราการเกิดนิวตรอนจากปฏิกิริยาเท่ากับอัตราการสูญเสียนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Delayed neutrons | ดีเลย์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสในช่วงเวลาหลายวินาทีหรือหลายนาทีภายหลังการเกิดปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส ดีเลย์นิวตรอนที่เกิดขึ้นนี้มีไม่เกินร้อยละ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู prompt neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Deuteron | ดิวเทอรอน, นิวเคลียสของดิวเทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Electron | อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม [นิวเคลียร์] |
Electron Capture | การจับยึดอิเล็กตรอน, การสลายกัมมันตรังสีแบบหนึ่งของนิวไคลด์ โดยอิเล็กตรอนจากวงโคจรในสุด 1 ตัว ถูกจับยึดและรวมเข้ากับนิวเคลียส เกิดเป็นนิวไคลด์ชนิดใหม่ที่มีเลขมวลคงเดิม แต่มีเลขเชิงอะตอมลดลง 1 (ดู K-capture ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Excited state | สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Triton | ไทรทอน, นิวเคลียสของอะตอมทริเทียม ประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค [นิวเคลียร์] |
Transmutation | การแปรธาตุ, การเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งเป็นอีกธาตุหนึ่ง โดยการเปลี่ยนจำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุโคบอลต์-60 เป็นนิกเกิล-60 [นิวเคลียร์] |
Thermonuclear reaction | ปฎิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์, ปฏิกิริยาการหลอมตัวของนิวเคลียสเบาภายใต้อุณหภูมิสูงมาก ไปเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Supercritical mass | มวลเหนือวิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ทำให้ตัวประกอบพหุคูณยังผลมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (ดู critical mass และ effective multiplication factor ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Subcritical mass | มวลใต้วิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือการจัดเรียงอยู่ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมต่อการคงไว้ซึ่งปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส (ดู critical mass ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Spontaneous fission | ฟิชชันเกิดเอง, การแบ่งแยกนิวเคลียสที่เกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกระตุ้นจากภายนอก ไอโซโทปของธาตุหนักหลายชนิดสลายตัวในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ เช่น แคลิฟอร์เนียม-252 เฟอร์เมียม-257 และ ไอน์สไตน์เนียม-255 วัสดุเกิดฟิชชันได้ทุกชนิดสามารถเกิดกระบวนการนี้ได้เช่นกันเป็นบางครั้ง [นิวเคลียร์] |
Source | ต้นกำเนิดรังสี, แหล่งกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Radiation source | ต้นกำเนิดรังสี, แหล่งกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ, Example: [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Reflector | ตัวสะท้อน(นิวตรอน), ชั้นวัสดุที่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่สะท้อนนิวตรอนกลับเข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสมากขึ้นและใช้นิวตรอนอย่างคุ้มค่า วัสดุที่ใช้เป็นตัวสะท้อนนิวตรอน เช่น แกรไฟต์ เบริลเลียม และยูเรเนียมธรรมชาติ, Example: [นิวเคลียร์] |
Radioactive source | ต้นกำเนิดรังสี, วัสดุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สามารถแผ่รังสีชนิดก่อไอออนออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแผ่รังสีด้วยการแปลงนิวเคลียสของตัวเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สารกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Radiative capture | การจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา [นิวเคลียร์] |
Radiation, nuclear | รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น [นิวเคลียร์] |
Prompt radiation | รังสีพรอมต์, รังสีที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในตอนเริ่มต้นของกระบวนการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือหลอมนิวเคลียส โดยไม่รวมรังสีที่เกิดจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส และจากปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง [นิวเคลียร์] |
Prompt neutrons | พรอมต์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาทันทีเมื่อเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียส นิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยานี้มากกว่าร้อยละ 99 เป็นพรอมต์นิวตรอน (ดู delayed neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Prompt criticality | ภาวะวิกฤตพรอมต์, สถานะของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแบ่งแยกนิวเคลียสสามารถคงอยู่ต่อไปโดยพรอมต์นิวตรอนเท่านั้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Primary fission products | ผลผลิตปฐมภูมิการแบ่งแยกนิวเคลียส, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดจากการแบ่งแยกนิวเคลียสโดยตรง (ดู fission fragments ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง [นิวเคลียร์] |
Plutonium | พลูโทเนียม, ธาตุหนักที่เป็นโลหะและเป็นธาตุกัมมันตรังสี มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 94 ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไอโซโทปสำคัญ คือ พลูโทเนียม-239 มีครึ่งชีวิต 24, 000 ปีสามารถแบ่งแยกนิวเคลียสได้ จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือทำอาวุธนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Nucleus | นิวเคลียส, แกนกลางของอะตอม มีประจุเป็นบวก และขนาดเล็กประมาณ 10-15 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10, 000 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอม เป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม ทุกนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนธรรมดาที่มีเพียงโปรตอนหนึ่งอนุภาค [นิวเคลียร์] |
Nucleon | นิวคลีออน, องค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึง โปรตอน หรือนิวตรอน, Example: [นิวเคลียร์] |
acromatin | (แอคโคร' มาทิน) n. l่วนของนิวเคลียสของเซลล์ที่ไม่ติดสีย้อมได้ง่าย |
alpha decay | ขบวนการแผ่กัมมันตภาพรังสีที่อนุภาคแอลฟ่าถูกขับออกจากนิวเคลียสของอะตอม ทำให้ atomic number ลดลงไปสอง |
alpha particle | อนุภาคที่มีประจุบวกที่ประกอบด้วยสองโปรตอนและสองนิวตรอน, นิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม (nucleus of a helium atom) |
amitosis | (แอมมิโท' ซิส) n. วิธีการแบ่งเซลล์โดยตรง มีลักษณะที่มีการแบ่งตัวนิวเคลียส์ โดยไม่เกิดโครโมโซม. -amitotic adj. |
atom bomb | ระเบิดปรมาณูซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุยูเรเนียม U -235 ทำให้ส่วนของมวลของมันเปลี่ยนเป็นพลังงานที่มหาศาล. |
atomic energy | พลังงานปรมาณูที่เกิดจากการจัดตัวใหม่ของนิวเคลียสของอะตอม. |
atomic number | จำนวนประจุบวกหรือโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม หรือเท่ากับจำนวนอีเล็กตรอนที่ล้อมรอบอะตอมอย่างปกติ |
cary- | Pref. นิวเคลียส |
caryo- | Pref. นิวเคลียส |
cytoplasm | (ไซ'ทะพลาสซึม) n. โปรโตปลาสซึมของเซลล์ (ไม่นับนิวเคลียส), See also: cytoplasmic adj. |
disintegrate | (ดิสอิน'ทะเกรท) vi. ทำให้แตกสลาย, ทำให้เน่าเปื่อย, สึกกร่อนเปลี่ยนเป็นนิวเคลียสที่ต่างชนิด vt. สลายตัวเป็นอนุภาคหรือเศษเล็กเศษน้อย., See also: disintegrable adj. disintegrative adj. disintegration n., Syn. fall apart |
endoplasmic reticulum | เป็นท่อขนาดเล็ก แทรกอยู่ทั้วไปในไซโตปลาสซึม และเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างผนังเซลล์กับผนังนิวเคลียส ของเหลวภายในนี้จึงเหมือนกับของเหลวภายนอกเซลล์ทำหน้าที่เป็นระบบสังเคราะห์และลำเลียงสารไปยังที่ต่างภายในและภายนอกเซลล์ แบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ Granular พวกนี้มี ribosome มาเกาะจึงเห็นเปืนผิวขรุขระ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและลำเลียงเพื่อปล่อยออกนอกเซลล์ ส่วนชนิดที่ 2 เรียกว่า Agranular หรือชนิดผิวเรียบเพราะไม่มี ribosome มาเกาะ ทำหน้าที่ผลิตสารพวกไขมันและลำเลียงโปรตีนต่าง ๆ ภายในเซลล์ |
fission | (ฟิส'เชิน) n. การแยกออก, การแบ่งเซลล์, การแตกแยกออก, การแบ่งตัว, การแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมออกเป็นอะตอมที่มีน้ำหนักน้อยกว่า และเกิดพลังงานขึ้นอย่างมหาศาล |
fusion | (ฟิว'เชิน) n. การหลอมละลาย, การหลอมเหลว, สิ่งที่หลอมละลาย, การผสมของพรรคการเมือง, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของอะตอมที่เบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสที่หนักขึ้น (nuclear, See also: fusion, Syn. coalescence, combine, Ant. separate |
interphase | เป็นระยะแรกในการแบ่งตัวของเซลล์แบบ mitosis เป็นระยะที่เตรียมพร้อมดังนั้นในระยะนี้นิวเคลียสจะสะสมทุกอย่างและมี metabolism มากที่สุด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า metabolivc stage ในระยะนี้โครโมโซมจะมีการจำลองตัวเอง โดยการสร้างโครโมโซมขึ้นมาใหใภายในตัวมีลักษรัเหมือนเดิมทุกอย่างแต่สลับข้างกัน |
mass number | n. จำนวนnucleonsในนิวเคลียสของอะตอมมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักอะตอม |
mitosis | (ไมโท'ซิส) n. การแบ่งนิวเคลียสของเซลล์อย่างอ้อม |
nuclear fission | n. การแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่เบากว่า และมีการปล่อยพลังงานออก |
nuclear fusion | n. ปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของอะตอมที่เบากว่ารวมกันเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าเช่นอะตอมของdeuteriumรวมกับอะตอมของฮีเลียม |
nucleoli | เป็นจุดเล็ก ๆ ในนิวเคลียส ซึ่งเป็นก้อนของ RNA มี chromaitin granule เป็นเม็ดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปใน nucleoplasm ประกอบด้วย deoxyribonucleic acid (DNA) ซึ้งเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ |
nucleus | (นิว'เคลียส) n. นิวเคลียส ใจกลาง, แก่นกลาง pl. nuclei |
prophase | เป็นระยะที่สองของการแบ่งตัวแบบ miotosis โดยโครโมโซมเริ่มหดสั้นเข้าโดยบิดเป็นเกลียวคล้ายเกลียวเชือกเยื่อหุ้มนิวเคลียสและ nucleolus เริ่มสลายตัวพอถึงระยะปลาย prophase จะเห็นโครโมโซมเป็นสองเส้นคู่กัน และแต่ละเส้นเรียกว่า chromatid และ chromatid จะเรียงตัวเข้ามากลางเซลล์ ส่วนในไซโตปลาสซึมโครโมโซมจะทำการแบ่งตัวเป็น 2 อัน แล้วเคลื่อนออกไป 2 ด้านแต่ยังติดด้วยเส้นใยขาว ๆ (spindle fiber) |