กนิษฐา | นิ้วก้อย |
กวางเดินดง | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยนิ้วชี้กับนิ้วกลางตั้งขึ้น หักข้อมือขึ้น ส่วนนิ้วหัวแม่มือกดทับปลายนิ้วนางกับนิ้วก้อย |
ก้อย ๑ | น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย |
ก้อย ๑ | โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
คืบ ๑ | น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์) |
ท้องมือ | น. ส่วนข้างของฝ่ามือด้านนิ้วก้อย ตั้งแต่โคนนิ้วก้อยถึงข้อมือ. |
นิ้ว | น. ส่วนสุดของมือหรือเท้าแต่ละข้าง แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ |
สันมือ | น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ. |