นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร | (นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน) น. พระราชา, พระมหากษัตริย์. |
นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร | ดู นร-. |
นเรศวร์ชนช้าง | (นะเรด-) น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
นเรศวร์ชนช้าง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
พานรินทร์, พานเรศ | (พานะริน, พานะเรด) น. พญาลิง, ลิง. |
พานรินทร์, พานเรศ | ดู พานร. |
กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ชุบ | ทำให้มีชีวิต เช่น จึ่งหน่อนเรศร์ เรืองเวทชุบชาญ อื้นอาคมขาน ชูชีพย์ชายา (สรรพสิทธิ์) |
พระ | อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา |
ยุทธหัตถี | น. การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่างกษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา, การชนช้าง ก็ว่า. |
อิศวร | ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช (เพชรมงกุฎ). |