บังสุกุล | น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐาน ว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้น ว่า ชักบังสุกุล. |
เครื่องสังเค็ด | น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ. |
ชัก ๑ | ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล |
ทอดผ้า | ก. วางผ้าไตร สบง หรือจีวรไว้บนด้ายสายสิญจน์หรือภูษาโยง เพื่อให้พระภิกษุชักบังสุกุล. |
บงสุกุล | น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพ ว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). |
บงสุกูลิก | น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. |
ปังสุกุล | น. บังสุกุล. |
ปังสุกูลิก- | (ปังสุกูลิกะ-) ว. เรียกภิกษุผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นปรกติ ว่า ปังสุกูลิกภิกษุ, เรียกชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่ชักมาจากซากศพหรือเก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม ว่า ปังสุกูลิกังคธุดงค์. |
ผ้าป่า | น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า. |
ผ้าโยง | น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพของสามัญชน ใช้สำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทอดผ้าบังสุกุล. |
สดับปกรณ์ | (สะดับปะกอน) ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). |
สดับปกรณ์ | (สะดับปะกอน) น. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. |
สังเค็ด | น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด. |