บำเพ็ญ | (v) fulfill, Example: ท่านได้บำเพ็ญบุญญาบารมีไว้มาก จนนักการเมืองจำนวนหนึ่งต้องสยบแก่ท่าน, Thai Definition: ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน |
บำเพ็ญ | (v) practice, See also: conduct, behave, perform, Syn. ปฏิบัติ, ทำ, ประพฤติ, กระทำ, Example: เขาตั้งใจบำเพ็ญความดีเพื่อทดแทนสิ่งเลวร้ายที่ผ่านมา |
บำเพ็ญตน | (v) conduct, See also: behave, Example: เขาบำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างน่ายกย่อง, Thai Definition: กระทำหรือประพฤติตัว |
บำเพ็ญทาน | (v) give alms, Syn. ให้ทาน, ทำทาน, Example: เธอบำเพ็ญทานเพื่อล้างบาปทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ |
บำเพ็ญบุญ | (v) make merit, Syn. ทำบุญ, ทำบุญทำกุศล |
บำเพ็ญพรต | (v) practise Buddhist teaching, Example: ขณะที่นั่งบำเพ็ญพรตอยู่ เขาก็แลเห็นแสงส่องสว่างวาบไปทั่วพื้นปฐพี, Thai Definition: ประพฤติตามข้อกำหนดทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ |
บำเพ็ญกุศล | (v) make merits, See also: perform religious practices, be charitable, Syn. ทำบุญ, ทำบุญทำกุศล, Example: ถ้าคนเราฝึกบำเพ็ญกุศลอยู่บ่อยๆ ก็จะติดตัวเป็นนิสัยที่ประเสริฐ, Thai Definition: ประกอบกรรมดี |
บำเพ็ญบารมี | (v) perform meritorious acts, Example: พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งสิ้นมาแล้วในชาติต่างๆ สิบชาติ, Thai Definition: ทำบารมีให้เต็มที่หรือให้เพิ่มพูนขึ้น |
บำเพ็ญ | ก. ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี |
บำเพ็ญ | ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญพรต. |
กาลานุกาล | น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใดกาลหนึ่ง. |
กำไร | ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบำเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกำไรแสนมหากัป. |
ค่ายอาสาพัฒนา | น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน. |
จริยาปิฎก | น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก. |
เจริญสมณ-ธรรม | ก. บำเพ็ญสมณธรรม. |
เฉลิมพระชนมพรรษา | (ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา) น. เรียกวันบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา. |
เซียน | น. ผู้บำเพ็ญพรตจนมีอิทธิฤทธิ์, ผู้วิเศษ |
ดาบส | (-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย). |
ดาบสินี | (-บดสินี) น. หญิงผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส. |
ตบะ | น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว เช่น ฤๅษีบำเพ็ญตบะ |
ตบะ | การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบางหรือการข่มกิเลส, ธรรมข้อที่ ๖ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). |
ตบะแตก | ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมดความอดกลั้น, สิ้นความอดทน. |
ทักษิณานุปทาน, ทักษิณานุประทาน | น. การที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศถวายเจ้านายที่มีศักดิ์สูงซึ่งเสด็จล่วงลับไปแล้ว. |
ทักษิโณทก | น. นํ้าที่หลั่งการบำเพ็ญพระราชกุศล, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ น้ำที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือสิ่งไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ อย่างวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น เช่น พระเวสสันดรหลั่งทักษิโณทกยกสองกุมารให้ชูชก, ชื่อของพระเต้าที่พระมหากษัตริย์ทรงหลั่งน้ำเพื่ออุทิศพระราชกุศล เรียกว่า พระเต้าทักษิโณทก. |
ทานบารมี | (ทานนะ-) น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญ คือ ทาน. |
บ่มบารมี | ก. บำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์, สั่งสมอบรมบารมีให้สมบูรณ์. |
บรรณศาลา | น. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. |
บัง ๒ | คำเติมหน้าในภาษาเขมร หมายความว่า ทำให้ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ วรรค ก เช่น บังเกิด บังควร บังคม หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค จ หรือ วรรค ด แปลงเป็น บัน เช่น บันจวบ บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะวรรค บ แปลงเป็น บำ เช่น บำบัด บำเพ็ญ. |
บารมี | (-ระมี) น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี |
บารมี | คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. |
ผู้สำเร็จ | น. ผู้บำเพ็ญพรตจนมีอิทธิฤทธิ์, ผู้วิเศษ. |
พรต | ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรต ว่า นักพรต. |
มารผจญ | (มาน-) ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า |
โยค-, โยคะ | วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี |
ฤษี | (รึ-) น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ฤๅษี | น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
วต-, วตะ | การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ |
วันเฉลิมพระชนมพรรษา | น. วันบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี. |
ศรมณะ | (สะระมะ-) น. ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญพรต, พระสงฆ์. |
โศลก | (สะโหฺลก) น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺม-นามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง |
สมถยานิก | น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา. |
ส่วนร่วม | น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุนบริษัท. |